BIG STORY : การพิสูจน์สิทธิในที่ดิน

กทม. 15 พ.ย. – จากกรณีการตรวจสอบที่ดินของ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี ในที่ดินที่ ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี กว่า 1,700 ไร่ ที่ส่วนหนึ่งมีการอ้างว่าเป็นพื้นที่ ส.ป.ก. และมีเอกสาร ภ.ท.บ.5 มีความเห็นจากนักกฎหมายในเรื่องสิทธิของที่ดินจากกรณีนี้ ที่บอกว่าต้องตรวจสอบกันหลายขั้นตอนและมีข้อกฎหมายที่จะต้องใช้พิสูจน์การแบ่งเขตแนวที่ดิน 


แผนที่ประกอบการพิจารณาของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ในการตรวจสอบที่ดินของ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี หลังพบที่ดินกว่า 1700 ไร่ ในพื้นที่หมู่ 6 ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี จำนวน 58 แปลง ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินบางส่วนเป็นฟาร์มเลี้ยงไก่ จากแผนที่ปรากฏพบอยู่ในแนวเขตเดิมของป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายแม่น้ำภาชี พ.ศ.2527 ที่ต่อมามีการประกาศเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึ่งจะต้องตรวจสอบจากหน่วยงานเกี่ยวข้องทั้ง ส.ป.ก. กรมป่าไม้ และกรมที่ดิน ให้ชัดเจนเกี่ยวกับแนวเขตที่ดิน 


อาจารย์คณะนิติศาสต์ จุฬา อธิบายว่า กรณีนี้เป็นหนึ่งในอีกหลายๆ กรณีที่เคยพบจากปัญหาการถือครองที่ดินจำนวนมากของนักการเมืองหรือนายทุน ในเขตพื้นที่ที่อาจจะยังทับซ้อน และมีหลายข้อกฎหมายที่จะต้องนำมาเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง เช่น ที่มีการชี้แจงว่าพื้นที่เป็น ส.ป.ก. ที่ได้รับการจัดสรรมาอย่างถูกต้องนั้นต้องดูว่า ขณะที่ได้รับมีคุณสมบัติตรงตามเจตนารมณ์กฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นที่บางแปลงมี ภ.บ.ท.5 หรือเอกสารแบบยื่นเสียภาษีบำรุงท้องที่ หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่าแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถใช้เป็นเอกสารยืนยันในการซื้อขายได้ตามกฎหมาย แต่ในหลายกรณีมักถูกใช้เป็นข้ออ้างแสดงกรรมสิทธิ์ครอบครองและขายต่อกันเป็นทอดๆ


อาจารย์ยังอธิบายว่า เอกสารสิทธิของไทยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม หลักๆ คือที่เอกชนหรือประชาชนทั่วไปถือสิทธิเป็นเจ้าของได้ เช่น โฉนดที่ดิน และกลุ่มเอกสารสิทธิที่รัฐออกให้ โดยเป็นที่ของรัฐที่มีการจัดสรรให้ที่ทำกิน เช่น การปฎิฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและที่รกร้างว่างเปล่า 

หลักเกณฑ์ของผู้จะได้รับสิทธิ ต้องเป็นเกษตรกร และมีฐานะยากจน รัฐจะจัดสรรให้คนละไม่เกิน 50 ไร่ ให้เข้าไปใช้ประโยชน์ได้แต่จะซื้อขายไม่ได้ แต่จะเป็นมรดกตกทอดให้กับทายาทได้ ที่ดินที่มักมีปัญหาในการครอบครองสิทธิมักอยู่ตามแนวขอบของป่าที่มีการบุกรุกเข้าใช้พื้นที่ในช่วงก่อนและหลังการแบ่งเขตพื้นที่ป่าตามกฎหมาย และเอกสารที่ดินประเภท ส.ค.1 หรือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ที่ผ่านมามักพบปัญหาการซื้อขายโดยแอบอ้างด้วยแบบ ส.ค.1 อยู่หลายกรณี

การแก้ปัญหาสิทธิในที่ดินนั้น นักวิชาการย้ำว่า ต้องมีการปรับปรุงการออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศให้มีมาตรฐานเดียวกัน แก้ไขปัญหาที่ถือครองเอกสารสิทธิที่ยังไม่มีความชัดเจนอีกหลายพื้นที่ ขณะที่กรมที่ดินมีความพยายามแก้ปัญหาแนวเขตที่ดินทับซ้อนและแนวเขตพื้นที่ป่าที่ไม่ชัดเจน ที่ทำให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐ โดยล่าสุดนำเทคโนโลยีการรังวัดระบบดาวเทียมแบบจลน์ ใช้สำรวจรังวัดในทุกพื้นที่ที่มีสถานีรับสัญญาณดาวเทียมให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งจะมีความแม่นยำ เพื่อให้มีความชัดเจนเรื่องแนวเขตที่ดิน หวังลดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ ลดข้อโต้แย้งพิพาทเรื่องแนวเขตที่ดินระหว่างเอกชนกับรัฐ

ปีที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้จัดทำมาตรการป้องกันการทุจริตเพื่อแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิในที่ดินโดยมิชอบ สรุปข้อมูลเบื้องต้น  ระหว่างปี 2543-2560 การร้องเรียนเรื่องเจ้าหน้าที่รัฐทุจริตในการออกเอกสารสิทธิที่ดินโดยมิชอบ  พบพฤติการณ์ทั้งเรียกรับเงินเพื่อออกเอกสารสิทธิ ออกเอกสารสิทธิโดยการสวมสิทธิแทนบุคคลอื่น  ออกเอกสารสิทธิทับพื้นที่ป่าสงวน-ที่สาธารณะ และออกเอกสารสิทธิในพื้นที่ที่ไม่สามารถออกได้ในภูเขาหรือที่ลาดชัน สำหรับพื้นที่ถูกร้องเรียนอยู่ในภาคกลางมากที่สุด 14 จังหวัด.- สำนักข่าวไทย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ภ.บ.ท.5-ภ.บ.ท.6-ส.ป.ก.4-01 ไม่ใช่เอกสารสิทธิที่ดิน

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

เร่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.ถล่ม

เกือบ 200 ชั่วโมง ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายติดใต้ซากตึกถล่ม K9 เห่าส่งสัญญาณพบกลิ่นมนุษย์เพิ่มในโซน B แต่ยังอยู่ในจุดที่เข้าถึงยาก เจ้าหน้าที่เร่งปรับแผนให้เข้าถึงได้เร็วขึ้น

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงจุดตึกถล่ม ช่วยค้นหาผู้สูญหาย

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงอาคารกำลังสร้างของ สตง.ที่ถล่มแล้ว พร้อมช่วยเหลือกู้ภัยไทยในการค้นหาผู้สูญหาย

ค้นหาตึกถล่ม

ฉีดน้ำเครื่องจักรลดความร้อน-ไม่หมดหวังค้นหาผู้รอดชีวิต

ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต หรือ MCATT ลงพื้นที่ดูแลญาติผู้สูญหายจากตึก สตง.ถล่ม ขณะที่เจ้าหน้าที่ทีมค้นหายังคงเดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนจัด

ภาษีสหรัฐ

นายกฯ เรียกประชุม กก.สรุปแก้ปัญหาภาษีสหรัฐ 8 เม.ย.นี้

“จิรายุ” ระบุฝ่ายค้านบางพรรคน่าจะตกข่าว เพิ่งมาเสนอให้นายกฯ ตั้ง คกก.แก้ปัญหาภาษีสหรัฐฯ ทั้งที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ “ทรัมป์” ยังไม่ได้รับตำแหน่ง บอก 8 เม.ย.นี้ นายกฯ เรียกประชุม กก.สรุปทั้งหมด ที่ทำเนียบฯ