จ่อปรับโครงสร้างราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นฯ

กรุงเทพฯ 30 ต.ค. – สนพ.เร่งศึกษาแผนเร่งด่วน ปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน โดยเฉพาะราคาหน้าโรงกลั่นฯ เตรียมแผนรับเทคโนโลยีใหม่ ผลักดันโครงข่ายสมาร์ทกริด เพิ่มประสิทธิภาพกำลังผลิตไฟฟ้า 


นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ. เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนพ.เร่งศึกษานโยบายเร่งด่วนของกระทรวงพลังงานทั้งปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน ที่จะเน้นเรื่องปรับราคาหน้าโรงกลั่นน้ำมันให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดมากยิ่งขึ้น ส่วนจะเป็นเรื่องค่าขนส่ง หรือการอ้างอิงที่เหมาะสม คงต้องมาดูรายละเอียก ซึ่งจะสรุปภายในเดือนพฤษศจิกายนนี้ เพราะนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ต้องการทำเรื่องนี้ให้เป็นหนึ่งในของขวัญภาคประชาชน อย่างไรก็ตาม โครงสร้างราคายังเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น เช่น ภาษีสรรพสามิต กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็ต้องทำความเห็นมาประกอบร่วมด้วย 

ส่วนการปรับปรุงแผนพัฒนาไฟฟ้าระยะยาว 20 ปี  (พีดีพี 2018) จะเร่งทำให้เสร็จภายใน 3 เดือน หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563  โดยโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลจะไม่ปรับแต่อย่างใด จะปรับเพียงในส่วนของโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่มีสัดส่วนร้อยละ 20 ของกำลังผลิตไฟฟ้า โดยที่จะปรับให้พลังงานทดแทนเข้าระบบเร็วขึ้น และอาจจะเพิ่มสัดส่วนเชื้อเพลิงชีวมวล ก๊าซชีวภาพให้เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งจะอยู่ในสัดส่วนของโรงไฟฟ้าชุมชน และอาจจะลดสัดส่วนการส่งเสริมโซลาร์รูฟท็อปภาคประชาชนจากเดิมกำหนดไว้ประมาณ 10,000 เมกะวัตต์ 


“โซลาร์ภาคประชาชนคงจะต้องปรับให้เหมาะสม โดยจะเห็นว่าจากที่มีการเปิดรับซื้อปี 2562 ในปริมาณ 100 เมกะวัตต์นั้น ล่าสุดเสนอเข้ามาเพียง 1 เมกะวัตต์เท่านั้น ซึ่งคาดว่าอัตราไม่สนับสนุนอาจจะไม่จูงใจ ขณะที่อาจจะลดสัดส่วนนี้ไปเพิ่มในส่วนของเชื้อเพลิงชีวมวล ชีวภาพ มากขึ้น” นายวัฒนพงษ์ กล่าว

ทั้งนี้ สนพ.ได้จัดสัมมมา “สมาร์ทกริด (Smart Grid) ระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อเมืองอนาคต” เดินหน้าแผนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด  ตอบโจทย์สังคมพลังงานสีเขียวและคาร์บอนต่ำ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบไฟฟ้า โดยใช้ทรัพยากรน้อยลง คาดสิ้นปีการดำเนินการนำร่องปี 2560-2564 คาดจะช่วยลดกำลังผลิต300 เมกะวัตต์ และเกิดไมโครกริดได้อย่างน้อย 3 แห่ง 


สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย พ.ศ. 2558 – 2579 ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 และ 17 มีนาคม 2558  ซึ่งแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย พ.ศ. 2558 – 2579 ได้วางนโยบายและกรอบทิศทางการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยในภาพรวม เพื่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐคือ 3 การไฟฟ้า กฟผ. กฟภ. กฟน. และภาคเอกชน ได้กำหนดทิศทางแผนการพัฒนาและการลงทุนที่สอดคล้องกับกรอบการพัฒนาตามนโยบายของประเทศ ตั้งเป้าสร้างให้เกิด Smart System , Smart Life และ Green Society  โดย Smart System จะช่วยลดความต้องการโรงไฟฟ้าสำรอง จำนวนการเกิดไฟฟ้าดับ และ Loss จากการส่งและจำหน่ายไฟฟ้าได้  Smart Life จะทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนมีความทันสมัย สะดวกสบายมากขึ้นจากเทคโนโลยีการใช้พลังงานในอนาคต และ Green Society จะเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบไฟฟ้ามากกว่าร้อยละ 15  และมีการพัฒนาระบบ Micro Grid เพื่อการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนในชุมชน. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

ไตรภาคีเคาะแล้ว! ค่าจ้างขั้นต่ำ มีผล 1 ม.ค.68

ไตรภาคี เคาะค่าจ้าง 400 บาท ลูกจ้าง 4 จังหวัด 1 อำเภอ “ภูเก็ต-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง-อ.เกาะสมุย” มีผล 1 ม.ค.68 ขึ้นค่าจ้าง 7-55 บาท 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้วันละ 337 บาท

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น