รมว.พาณิชย์นำประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้า หวังเพิ่มตลาดการค้าครอบคลุมทั่วโลก

กรุงเทพฯ 5 ก.ย. – จุรินทร์ Non-Stop ลุยนำประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าทั้งอาเซียน อาร์เซ็ป และประเทศคู่เจรจา 6 วันซ้อน


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสำคัญในประเทศไทย 3 กลุ่มสำคัญระหว่างวันที่ 5-10 กันยายน 2562 คือ การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers : AEM) ครั้งที่ 51 การประชุมรัฐมนตรีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป (RCEP) ครั้งที่ 7 และการประชุมระหว่างรัฐมนตรีการค้าอาเซียน 10 ประเทศ กับรัฐมนตรีการค้าของประเทศคู่เจรจา 10 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ แคนาดา และรัสเซีย (แบบแยกรายประเทศ) รวมทั้งการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่กรุงเทพฯ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นประธานการประชุมระดับรัฐมนตรีทั้งอาเซียนและอาร์เซ็ป

โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า ในวันที่ 5 กันยายน 2562 ในช่วงค่ำที่โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ จะมีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนตั้งแต่เวลา 19.00-21.00 น.ก่อนจะเข้าสู่พิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ในเวลา 9.00 น.วันที่ 6 กันยายน 2562 ซึ่งนายกรัฐมนตรีประเทศไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเดินทางไปเป็นประธานพิธีเปิด จากนั้นตนจะนั่งเป็นประธานการประชุมตลอดทั้ง 5 วัน สาระที่สำคัญ คือ กำหนดการของวันที่ 7-8 กันยายน 2562 เป็นประธานการประชุมอาร์เซ็ป ที่เราพยายามที่จะให้การเจรจาหุ้นส่วนเศรษฐกิจกลุ่มนี้หาข้อสรุปให้ได้มากที่สุดเพื่อจะนำไปสู่การประชุมครั้งสุดท้ายในเดือนพฤศจิกายน 2562 และตั้งเป้าหมายว่าจะให้การเจรจานี้เป็นที่ยุตินำไปสู่การลงนามในปีหน้า ซึ่งถ้าเป็นไปตามเป้าหมายและมีผลบังคับใช้ จะทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์มากคือมีตลาดการค้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศที่ประชากรรวมกันร้อยละ 50 ของโลกคือ 3,500 ล้านคน 


ทั้งนี้ รายงานข่าวกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้ความใส่ใจการประชุมทั้ง 3 กลุ่มนี้เป็นอย่างมากโดยทำการประชุมเตรียมการร่วมกับข้าราชการระดับสูงและผู้เกี่ยวข้องอย่างละเอียดเพื่อการควบคุมการประชุมในฐานะเจ้าภาพและประธานการประชุม 5 วันอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการประชุม AEM หรือรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ ถือเป็นการประชุมที่สำคัญมาก โดยการประชุมที่สำคัญคือ  1. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (Senior Economic Official Meeting :SEOM) ระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2562 เพื่อเตรียมการก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรี ซึ่งอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม 2. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน 2562 ซึ่งรัฐมนตรีอาเซียน 10 ประเทศ โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย เป็นประธานการประชุม จะร่วมกันหารือสรุปความก้าวหน้าและความสำเร็จการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของอาเซียนนับตั้งแต่ไทยรับหน้าที่ประธานอาเซียน เพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้นำอาเซียนต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่กรุงเทพฯ

3. การประชุมรัฐมนตรีอาร์เซ็ป 16 ประเทศ ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2562 โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย เป็นประธานการประชุม เพื่อติดตามความคืบหน้าการเจรจา RCEP และปลดล็อคประเด็นติดขัดที่ยังเหลืออยู่ เพื่อกรุยทางให้ผู้นำประกาศสรุปผลการเจรจาในช่วงการประชุมสุดยอดอาร์เซ็ปในเดือนพฤศจิกายนนี้ 


4. การประชุมระหว่างรัฐมนตรีการค้าอาเซียน 10 ประเทศ กับรัฐมนตรีการค้าของประเทศคู่เจรจา 10 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ แคนาดา และรัสเซีย (แบบแยกรายประเทศ) ระหว่างวันที่ 9-10 กันยายน 2562 โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นประธานการประชุม ซึ่งจะเป็นโอกาสดีที่อาเซียนจะได้หารือพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศเหล่านี้ และเตรียมการก่อนที่ผู้นำอาเซียนจะพบกับผู้นำของคู่เจรจา 10 ประเทศ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่กรุงเทพฯ

ในการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะร่วมกันลงนามเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ ได้แก่ 1. ข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ผลการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของยานยนต์และชิ้นส่วนของอาเซียน ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนการทำธุรกิจของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะถ้ายานยนต์และชิ้นส่วนผ่านการตรวจสอบรับรองของหน่วยงานทดสอบมาตรฐานในประเทศสมาชิกอาเซียนหนึ่งแล้ว เมื่อส่งออกไปยังสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ก็ไม่ต้องตรวจสอบซ้ำ เพราะถือว่าได้ยอมรับผลการตรวจสอบนั้นแล้ว

และ 2. พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียนฉบับปรับปรุง เพื่อให้กลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียนทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งเป็นไปตามหลักการและกระบวนการระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับอาเซียนหากมีปัญหาหรือข้อพิพาทระหว่างอาเซียน เนื่องจากการใช้มาตรการทางการค้าของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาเซียนก็จะมีกลไกการหารือแก้ไขข้อพิพาทกันเอง โดยไม่ต้องพึ่งการตัดสินขององค์กรนอกอาเซียน ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ถือเป็นความสำเร็จของไทยในฐานะประธานอาเซียนปีนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่อาเซียนใช้เวลาเจรจาหาข้อสรุปกันอยู่นานเกือบสิบปี ซึ่งสำเร็จได้ในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียนปีนี้

สำหรับความสำเร็จการทำงานของเสาเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ซึ่งเจ้าหน้าที่อาวุโสฯ เตรียมรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน มีหลายเรื่อง อาทิ 1. การจัดทำระเบียบปฏิบัติในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน (ASEAN-Wide Self Certification) โดยดำเนินการสำเร็จแล้ว และพร้อมใช้ระบบนี้ในเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ต้องการได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีของอาเซียนด้วยตนเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปขอรับใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) จากหน่วยงานภาครัฐอีกต่อไป ช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย

2. การจัดทำระบบการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเอกสารใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) ทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างอาเซียน 10 ประเทศ (ASEAN Single Window: ASW) ใกล้แล้วเสร็จ โดยขณะนี้มีสมาชิกอาเซียน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน และกัมพูชา ได้เชื่อมต่อระบบและแลกเปลี่ยน Form D ทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ยังเหลือสมาชิกอาเซียนอีก 3 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เมียนมา และ สปป.ลาว ที่อยู่ระหว่างทดสอบระบบ ซึ่งมีความคืบหน้ามากและพร้อมดำเนินการให้สำเร็จ เชื่อมต่อระบบให้ครบ 10 ประเทศ ภายในปีนี้ หากระบบ ASW สมบูรณ์ จะสามารถยื่น Form D ผ่านระบบออนไลน์และหน่วยงานของรัฐที่ด่านพรมแดน สามารถตรวจเช็คเอกสาร และปล่อยสินค้าได้อย่างรวดเร็ว

และ 3. การตัดสินใจทบทวนความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement : ATIGA) ซึ่งบังคับใช้มาแล้ว 8 ปี ให้ทันสมัยสามารถรองรับรูปแบบการค้าในปัจจุบันและลดอุปสรรคทางการค้า เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนแล้ว ยังเป็นผลดีต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยในภาพรวมอีกด้วย

ทั้งนี้ อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 (ม.ค. – มิ.ย.) มีมูลค่าการค้ารวม 53,557.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการส่งออกไปอาเซียน มูลค่า 31,316.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 22,240.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเกินดุล 9,076.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจุบันการส่งออกของไทยไปอาเซียน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.47 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย . – สำนักข่าวไทย                                                                   

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่