ไอเดียบรรเจิด! กางมุ้งเรียน ป้องกันไข้เลือดออก

สกลนคร 4 ก.ค.-ไอเดียบรรเจิด โรงเรียนบ้านหนองกวั่งกรุงศรี กางมุ้งขณะสอนหนังสือให้นักเรียน ป้องกันยุงกัด หลังโรคไข้เลือดออกกำลังระบาดในพื้นที่ 


อาจจะดูแปลกตาไปเล็กน้อย หากใครได้ไปเห็นการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านหนองกวั่งกรุงศรี ต.หนองกวั่ง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร เพราะที่นี่จะสอนนักเรียนกันในมุ้งหลังใหญ่จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันยุงลายที่จะเข้ามากัดเด็กในขณะเรียนหนังสือ เนื่องจากบริเวณด้านหลังอาคารเรียนติดกับป่าชุมชน


นายไมตรี ปัญหาวงศ์ ผอ.โรงเรียนบ้านหนองกวั่งกรุงศรี เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ทางโรงเรียนได้ประชุมร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนองกวั่ง ในการควบคุมดูแลลูกน้ำยุงลายภายหลังพบว่ามีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน ซึ่งโรงเรียนมีความเสี่ยงสูงเพราะติดกับป่า จึงคิดหาวิธีกระทั่งมาลงตัวที่มุ้ง ซึ่งใช้งบประมาณไม่มากนัก โดยจ้างตัดขนาดพิเศษ 4×6 เมตร ในราคาหลังละ 600 บาท ซึ่งเป็นงบส่วนตัวและบริจาครวบรวมของครูในโรงเรียน นำมาใช้กับเด็กอนุบาล 1-2 และ ป.1 ส่วนชั้นเรียนอื่นก็ใช้ระบบไล่ยุงด้วยไฟฟ้า ส่วนการกางมุ้งเรียนอาจจะไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์แต่ก็ช่วยได้เยอะเพื่อความปลอดภัยของนักเรียน


สำหรับโรคไข้เลือดไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) ที่แพร่สู่ร่างกายคนจากการกัดของยุงลายตัวเมีย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีอาการป่วยรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคเป็นยุงที่ออกหากินเฉพาะในตอนกลางวัน ชอบอาศัยอยู่ในแถบอากาศร้อนชื้น 

ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่เขตร้อนชื้น จึงพบการแพร่กระจายของยุงลายได้มาก อาจพบโรคนี้ประปรายตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝนคือเดือนพฤษภาคม-กันยายน มีฝนตกชุกและมีแอ่งน้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นเสมือนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ประจำปี 2562 พบว่า มีแนวโน้มรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.– 8 มิ.ย. 2562 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้วกว่า 26,000 คน เสียชีวิต 30 คน สูงกว่าปี 2561 ในช่วงเวลาเดียวกันเกือบสองเท่า 

ผู้ป่วนส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 5-14 ปี รองลงมาได้แก่ 15 -34 ปี และแรกเกิด ถึง 4 ปี ตามลำดับ โดยภาคกลางเป็นภาคที่พบผู้ป่วยมากที่สุด 8,427 คน อันดับ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอันดับ 3 ภาคใต้ ปัจจัยสำคัญคือฤดูฝน ซึ่งการมีน้ำขังเหมาะแก่การเพาะและแพร่พันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะโรคไข้เลือดออก

อาการของโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยมักมีไข้สูงลอย 2-5 วัน ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อาเจียนไอ แต่ไม่มีน้ำมูก มีจุดเลือดออกตามตัว เลือดออกตามไรฟัน หลังไข้ลดแล้วมีอาการซึม อาจเข้าภาวะช็อก ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ไตวาย ตับวาย และเสียชีวิตได้ 

วิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออก

1.เก็บบ้านให้สะอาด ล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำและเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันดอกไม้ทุกสัปดาห์

2.เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

3.ภาชนะที่ใส่น้ำต้องปิดฝามิดชิดป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง