fbpx

สพฐ.เผยผลปฏิรูปแก้เหลื่อมล้ำ ช่วยนักเรียนได้กว่า 5 แสนคน

ศธ.30 พ.ค..–สพฐ.เผยผลปฏิรูปแก้เหลื่อมล้ำ ช่วยนักเรียนได้กว่า 5 แสนคน วอนครูค้นหา คัดกรอง เด็กยากจนพิเศษไม่ตกหล่น พร้อมจับมือ กสศ. ขยายผลระดับอนุบาล นำร่อง 10 จว. ปีการศึกษา 62


สำนักงานการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดการประชุมชี้แจงการดำเนินงานจัดทำข้อมูลระบบการคัดกรองนักเรียนยากจน ประจำภาคเรียนที่ 1/2562 ผ่านระบบ Teleconference โดยมีผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 225 เขตทั่วประเทศร่วมรับฟัง   ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนช่วยเหลือนักเรียนยากจนพิเศษอย่างมีเงื่อนไข (conditional cash transfer – CCT) ของโรงเรียนสังกัด สพฐ. ในปีการศึกษา 2561 ที่ได้ดำเนินการร่วมกับ กสศ. สามารถช่วยนักเรียนยากจนพิเศษได้รับเงินอุดหนุนเพื่อบรรเทาอุปสรรคในการมาเรียน จำนวน 510,040 คนทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังมีเด็กขาดโอกาสและยังไม่ได้รับการคัดกรองอีกจำนวนมาก จึงขอความร่วมมือถึงผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด และผู้เกี่ยวข้องให้ความสำคัญ กำกับติดตาม รายงานเรื่องนี้ให้ทันตามกำหนดระยะเวลา เพราะทาง กสศ. มุ่งหวังตั้งใจจะดูแลนักเรียนทุกคนให้มีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นในทางการศึกษา ซึ่งเงินจำนวน 1,600 บาทต่อคน ถือว่ามีคุณค่าและประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งหมดจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กนักเรียนทุกคนอย่างเสมอภาค


ด้านนพ.สุภกร บัวสาย ผจก. กสศ. กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดต้องขอขอบคุณครูทั่วประเทศในการทำงานร่วมกัน ภาพรวมที่ สพฐ. กสศ. ยังคงเป็นการปฏิรูปการศึกษา  โดยในปีการศึกษา 2561 กสศ.ได้รับความร่วมมือจากสถานศึกษาในสังกัด สพฐ. ที่มีนักเรียนทุนเสมอภาคทางการศึกษาจำนวน 28,921 แห่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขต คุณครูกว่า 400,000 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา 150,000 คน ช่วยกันผลักดันส่งผลทำให้มีนักเรียนทุนเสมอภาคทางการศึกษาของ สพฐ.จำนวน 510,040 คนทั่วประเทศ ได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มเติมจาก กสศ. จำนวน 1,600 บาทต่อคนต่อปี เพื่อเป็นค่าเดินทาง ค่าอาหาร และกิจกรรมพัฒนานักเรียนทุนเสมอภาคทางการศึกษา และถือเป็นการเพิ่มงบประมาณให้กับ สพฐ. ประมาณ 800 ล้านบาท ในลักษณะเป็นทุนการศึกษาให้แบบต่อเนื่อง และขยายไปยังสังกัดอื่นต่อไป     นอกจากนี้ปีการศึกษา 2562 ได้มีการขยายกลุ่มเป้าหมายการให้ทุนอุดหนุนช่วยเหลือเพิ่มเติม จากเดิมให้ทุนเฉพาะกลุ่มนักเรียนชั้น ป.1-ม.3 แต่ปีนี้จะขยายผลลงไปตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2-3 จนถึง ม.3 ผ่านการทดลองนำร่องก่อนในโรงเรียนสังกัด สพฐ.10 จังหวัด ได้แก่ 1.เชียงใหม่ 2.เชียงราย 3.ขอนแก่น 4.ร้อยเอ็ด 5.กาญจนบุรี 6.นนทบุรี 7.สระแก้ว 8.สุราษฎร์ธานี 9.ภูเก็ต และ10.ยะลา เพื่อทดลองให้ระบบการทำงาน การบันทึกข้อมูลเกิดความลงตัวมากที่สุด นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนในสังกัด สพฐ.บางส่วน ที่จะเป็นพี่เลี้ยงขยายไปยังโรงเรียนสังกัดตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ทั่วประเทศ 200 โรงเรียน มีนักเรียน 20,000 คน เพื่อช่วยเหลือเรื่องระบบคัดกรองต่างๆ ให้เด็กได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนต่อไป

โดยภายหลังรับฟังข้อเสนอแนะจากครูทั่วประเทศ ในปีการศึกษา 2562 กสศ.ได้ปรับปรุงระบบการทำงานให้ดีขึ้น เพื่อลดเวลา และภาระการทำงานของคุณครู โดยได้ลดภาระการบันทึกข้อมูลของคุณครูจาก 4 แบบฟอร์ม เหลือ 1 แบบฟอร์ม ส่วนการลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน 1 ครั้ง ข้อมูลดังกล่าวจะใช้ได้ 3 ปี ที่สำคัญคุณครูที่ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลนักเรียนทุนเสมอภาคทางการศึกษาจะได้ค่าเดินทางในการลงพื้นที่ นอกจากนี้ปีการศึกษา 1/2562 จะคัดกรองเฉพาะนักเรียนใหม่ชั้น ป.1 ป.4 ม.1 เท่านั้น และขอเชิญชวนคุณครูทั่วประเทศสามารถดาวน์โหลดจดหมายข่าว ได้จาก www.eef.or.th. เพื่อติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้ หรือ สายด่วน 02-079-5475 กด .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้