กทม. 22 ม.ค.- กทม.เผยสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินมาตรฐาน 24 บริเวณ ใน 10 เขต อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ -มีผลกระทบต่อสุขภาพ
สำนักสิ่งแวดล้อมโดยกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (pm2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครและสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ ประจำวันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 08.00 น ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจวัดได้ 53-102 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 24 บริเวณ คือ
1.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 74 มคก./ลบ.ม.
2.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง: มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.
3.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม.
4.เขตปทุมวัน บริเวณริมถนนจามจุรีสแควร์ เยื้อง MRT สามย่าน : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม.
5.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 68 มคก./ลบ.ม.
6.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 72 มคก./ลบ.ม.
7.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 102 มคก./ลบ.ม.
8.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม.
9.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม.
10.เขตบางกะปิ ข้างป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 70 มคก./ลบ.ม.
11.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 74 มคก./ลบ.ม.
12.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 95 มคก./ลบ.ม.
13.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม.
14.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 91 มคก./ลบ.ม.
15.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) : มีค่าเท่ากับ 101 มคก./ลบ.ม.
16.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 73 มคก./ลบ.ม.
17.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 88 มคก./ลบ.ม.
18.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.
19.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 70 มคก./ลบ.ม.
20.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 74 มคก./ลบ.ม.
21.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 80 มคก./ลบ.ม.
22.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 92 มคก./ลบ.ม.
23.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 96 มคก./ลบ.ม.
24.เขตราชเทวี บริเวณสำนักงานเขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
สำหรับสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า เกินมาตรฐานจำนวน 10 พื้นที่ คือ
1.เขตบางขุนเทียน บริเวณริมถนนทางคู่ขนาน ทางพิเศษกาญจนาภิเษก : มีค่าเท่ากับ 88 มคก./ลบ.ม.
2.เขตบางนา แขวงบางนา มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบางกะปิ บริเวณเคหะชุมชนคลองจั่น มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
4.เขตดินแดง แขวงดินแดง มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
5.เขตปทุมวัน ริมถนนพระราม 4 มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.
6.เขตธนบุรี บริเวณสถานีไฟฟ้าย่อยอินทรพิทักษ์ ริมถนนอินทรพิทักษ์ มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม.
7.เขตวังทองหลาง บริเวณสถานีตำรวจนครบาลโชคชัย ริมถนนลาดพร้าว มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.
8.เขตดินแดง ริมถนนดินแดง มีค่าเท่ากับ 73 มคก./ลบ.ม.
9.เขตพญาไท แขวงพญาไท 53 มคก./ลบ.ม.
10.เขตวังทองหลาง แขวงพลับพลา มีค่าเท่ากับ 68 มคก./ลบ.ม.
ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานครและสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ
อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ-มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมีคำแนะนำในการปฏิบัติตน ให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ-มีผลต่อสุขภาพ ควรหลีกเลี่ยงหรือลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย N95 ขณะอยู่กลางแจ้ง.-สำนักข่าวไทย