ผลสอบ ก.แรงงาน ไม่พบเจ้าหน้าที่เอี่ยวทุจริตเงินคนพิการ

ดินแดง 5 ต.ค.-รมว.แรงงาน เผยไม่พบเจ้าหน้าที่กระทรวงเอี่ยวทุจริตเงินคนพิการ พบเพียงผู้ประกอบการไม่ทำตามสัญญา วงเงินเสียหายประมาณการ 14 ล้านไม่ไช่ 1,500 ล้านบาท


หลังจากที่เมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา นายปรีดา ลิ้มนนทกุล ตัวแทนเครือข่ายพิทักษ์สิทธิคนพิการ ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อกรมสืบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เพื่อขอให้ดำเนินคดีต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิและปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อเงินส่งเสริมผู้พิการ พร้อมยื่นหลักฐานชี้เจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมที่ชี้แจงละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หลายกรณี มูลค่าความเสียหาย 1,500 ล้านบาททั่วประเทศต่อปี จากนั้นวันที่ 20 กันยายน กระทรวงแรงงาน ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในส่วนของกระทรวงแรงงาน ให้สรุปผลภายใน 15 วัน หรือในวัที่ 5 ตุลาคม 2561 นั้น 


พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน และนายวิวัฒน์ ตังหงส์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงโกงเงินคนพิการ ร่วมแถลงข่าวความคืบหน้าการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้


พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า จากกรณีที่ประธานเครือข่ายพิทักษ์สิทธิคนพิการ ได้ยื่นหนังสือต่อหน่วยงานของรัฐหลายแห่ง ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิและปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมกับคนพิการตามมาตรา 33 และ 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 โดยในวันนี้ครบ 15 วัน ของการตรวจสอบ ซึ่งผู้ร้องขอให้ตรวจสอบจำนวน 9 เรื่อง และจากการตรวจสอบข้อมูลทั่วไปและข้อมูลเฉพาะกรณีจากผู้ร้อง และกลุ่มผู้พิการที่มาให้ข้อเท็จจริงจำนวน 150 คน และการสอบข้อเท็จจริงสถานประกอบการ ผู้พิการในพื้นที่ ในชั้นนี้พบว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรา 33 จำนวน 2 เรื่อง ,มาตรา 35 จำนวน 6 เรื่อง และคาบเกี่ยวทั้ง 2 มาตราอีก 1 เรื่อง พบว่ามีข้อมูลบางส่วนเป็นไปตามที่ร้องเรียนมาแต่เป็นการปฏิบัติของผู้ประกอบ การที่ไม่ครบถ้วนตามสัญญาการยื่นขอให้สิทธิโดยยังไม่พบความบกพร่องและทุจริตของเจ้าหน้าที่ 

ด้านนายวิวัฒน์ ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯ กล่าวว่า ทั้ง9 เรื่องที่ร้องเรียนมาพบว่าเป็นเรื่องเก่าที่เคยร้องมาในช่วงปี2559-2560 จำนวน 6 เรื่องและเรื่องใหม่ในปี2561จำนวน 3 เรื่อง โดยเรื่องเก่า 6 เรื่อง เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วทั้งหมด แบ่งเป็นเรื่องมาตรา 33 จำนวน 1 เรื่อง คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบริษัทใน จ.ชลบุรี มีผู้พิการเกี่ยวข้อง 1 คน เหตุเกิดช่วงตุลาคม 2559 ตรวจสอบพบเป็นการจ้างงานไม่ครบเงื่อนไข และเรื่องที่เกี่ยวกับมาตรา35 จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่1.อยู่ในกรุงเทพฯมีผู้พิการเกี่ยวข้อง 1ราย เป็นเรื่องที่ให้การอบรมไม่ครบตามที่กำหนดไว้ ผู้เกี่ยวข้องได้นำเงินส่วนี่มีปัญหาจ่ายเข้ากองทุนแล้ว 2.เกิดใน ปี 2559 ที่จ.ชลบุรี  มีผู้พิการเกี่ยวข้อง 2 ราย เป็นเรื่องที่ให้การอบรมไม่ครบตามที่กำหนดไว้ ผู้เกี่ยวข้องได้นำเงินส่วนี่มีปัญหาจ่ายเข้ากองทุนแล้ว 3.เกิดในกรุงเทพฯช่วง พ.ย.2559 ผู้พิการเกี่ยวข้อง 3 ราย ตรวจสอบแล้วเกิดบริษัทที่เกี่ยวข้องยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง ,4.เกิดในโรงพยาบาลเอกชน ในกรุงเทพฯช่วงมี.ค.2560 ผู้พิการเกี่ยวข้อง 1 ราย คือไม่ได้อบรมครบตามเวลาที่กำหนด และเรื่องที่ 5.เกิดช่วง พ.ย.2559 ในกรุงเทพฯ ผู้พิการเกี่ยวข้อง 3 ราย ตรวจสอบแล้วบริษัทที่เกี่ยวข้องยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง ทั้งหมดกระทรวงแรงงานได้แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและไปดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

นายวิวัฒน์ กล่าวต่อว่า สำหรับอีก 3 กรณีเป็นเรื่องที่ได้รับข้อมูลมาในปี 2561 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 33 จำนวน 1 เรื่อง เกี่ยวกับการจ้างงาน คนพิการจำนวน 70 คนในพื้นที่กรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงแรงงานได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบด้วยการสุ่มสอบถามข้อมูลพูดคุยกับผู้พิการในบริษัทพบว่ามีการจ้างงานทั้ง 70 คนจริงและได้มีการโอนเงินเดือนให้ตามข้อตกลงในสัญญา  รวมทั้งยังมีการส่งเบี้ยประกันสังคมให้ครบทุกคนด้วย

,กรณีที่ 2เกี่ยวกับมาตรา 33 และ 35 เหตุเกิดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยระบุว่ามีผู้พิการที่ได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวข้องจำนวน 160 คน จากการตรวจสอบพบเป็นบริษัทแห่งหนึ่งมีคนงานรวม 1280 คนตามกฏหมายต้องจ้างคนพิการเข้าทำงานประมาณ 13 คนและทางบริษัทได้มีการว่าจ้างคนพิการให้ทำงาน 10 คน แต่ทางบริษัทก็ได้ใช้สิทธิตามมาตรา 35 ด้วยการจัดพื้นที่ให้กับผู้พิการที่เหลือทำการค้าขายก็ถือว่าได้ทำถูกต้องตามข้อกำหนด และกรณีที่ 3 ในจังหวัดสมุทรสาครมีผู้พิการเดือดร้อนเกี่ยวข้องจำนวน 31 คน ตรวจสอบพบว่าเป็นเรื่องของการอบรมไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้จึงสั่งการให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ส่งหนังสือแจ้งไปยังกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ(พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตตนพิการ พ.ศ.2550 พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมฯแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวน

นายวิวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ยืนยันว่าข้อมูลที่ได้รับมาจากตัวแทนคนพิการยังไม่ครอบคลุมหรือว่าลงลึกไปถึงเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานที่อาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการทุจริตเงิน เพราะการร้องเรียนไม่มีผู้เสียหายออกมาร้องโดยตรง เป็นเพียงคำกล่าวอ้างของตัวแทนคนพิการเท่านั้น รวมทั้งมูลค่าความเสียหายที่ได้ระบุไว้1,500 ล้านบาท อาจเกิดจากความเข้าใจผิด นำยอดรวมผู้พิการที่ต้องได้รับการจ้างงานประมาณ 14,600 คน มาคูณกับอัตราค่าจ้าง 109,500 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งเมื่อตรวจสอบจำนวนผู้ที่ มาร้องเรียนที่อาจได้รับความเดือดร้อนประมาณ 150 คน มูลค่าจริงๆประมาณการอยู่ที่ 14 ล้านบาทเท่านั้น และจากการตรวจสอบข้อมูลของเจ้าหน้าที่ตลอด 15วันพบว่าความเสียหายก็ไม่น่าจะถึง 14 ล้านบาท ในชั้นนี้ถือว่าหมดหน้าที่ของคณะกรรมการในการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วซึ่งหากหน่วยงานใดจะมาขอข้อมูลที่ทางกระทรวงได้ทำสรุปไว้ก็ยินดีที่จะให้ข้อมูลอย่างเต็มที่

ส่วนกรณีที่มีข่าวว่ามีสมาคมหรือชมรมคนพิการในจังหวัดต่างๆ เข้าไปเกี่ยวข้องทุจริต  วันนี้ส่งรายงาน  ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการเข้าไปตรวจสอบ แต่ยืนยันแม้จะหมดหน้าที่ แต่ถ้าหากผู้พิการที่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีการทุจริตจริงหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ มีข้อมูลก็สามารถนำมาส่งให้ที่กระทรวงแรงงานได้หรือหากไม่สะดวกก็สามารถประสานมายังกระทรวงฯ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ จะลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลในที่อยู่ตามที่ระบุไว้ รวมทั้งจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดำเนินการโดยเด็ดขาด

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานระบุว่าปัจจุบันผู้พิการในประเทศไทยมี 1.9 ล้านคน มีสถานประกอบการที่ต้องจ้างแรงงานผู้พิการ 64,570 คน  โดยมาตรา 33 เป็นการจ้างงานโดยตรงระหว่างผู้พิการกับผู้ประกอบการ 36,315 คน  กระทรวงแรงงานมีส่วนช่วยเหลือ โดยการขึ้นทะเบียนคนพิการที่ประสงค์จะทำงาน และประสานส่งต่อเพื่อให้นายจ้างคัดเลือกและบรรจุงาน (ในปี 2561 บรรจุงานได้ จำนวน 1,565 คน) มาตรา 34 มีการส่งเงินเข้ากองทุน จากผู้ประกอบการประมาณ 1,200 แห่ง เป็นการทดแทนการจ้างผู้พิการ 14,623 คน รวมเป็นเงินประมาณ 1,500 ล้านบาท/ปี (ปี 60) ซึ่งคิดอัตรา 1 คนเท่ากับ109,500 บาท/คน/ปี ส่วนมาตรา35 เป็นกรณีสถานประกอบการให้สิทธิผู้พิการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพ 7 ประเภท มีผู้พิการใช้สิทธิจำนวน 12,499 คน .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

นายกฯ​ ขอบคุณสื่อร่วมทำงาน บอกเป็นคนตรงๆ ไม่ค่อยคิดร้าย

นายกฯ​ ขอบคุณสื่อร่วมทำงาน บอกอายุน้อยที่สุดต้องสร้างความสดใสทุกวงการ​ ขอให้เข้าใจคาแรคเตอร์ส่วนตัวเป็นคนตรง-โผงผาง​ ไม่ค่อยคิดร้ายกับใคร

เลขาฯ กฤษฎีกา ยันยังไม่มีข้อสรุปปม “กิตติรัตน์”

“เลขาฯ กฤษฎีกา” ยันยังไม่ปัดตก “กิตติรัตน์” นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ หรือไม่ เผยเตรียมประชุมคณะกรรมการร่วม สอบคุณสมบัติพรุ่งนี้

“กิตติรัตน์” เคารพการพิจารณา หลังไม่ผ่านคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ

“กิตติรัตน์” โพสต์ข้อความ หลังไม่ผ่านคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ลั่นไม่มีอะไรค้างคาใจ-ไม่เคยขลาดกลัวหนีหายเอาตัวรอด ระบุได้อาสาทำงานให้ประเทศแล้ว ยันเคารพการพิจารณา

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท