กรุงเทพฯ 29 ก.ย.- กระทรวงเกษตรฯ เร่งเดินหน้าส่งเสริมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนนาปรังเตรียมทั้งแผนการผลิต
สินเชื่อ การประสานตลาดรับซื้ออย่างครบวงจร
ยืนยันเกษตรกรมีรายได้มากกว่าการปลูกข้าว 3,300 กว่าบาทต่อไร่
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า
กระทรวงเกษตรฯ เร่งวางแผนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนนาปรัง ตามโครงการสานพลังประชารรัฐ
ในการปลูกพืชอื่นทดแทนการทำนาปรัง
เพราะการปลูกข้าวต่อปี จำนวน 14-15 ล้านตันข้าวสาร
ขณะที่ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศมีเพียง 11-12 ล้านตันข้าวสารต่อปี จึงทำให้ราคาข้าวตกต่ำ
ขณะที่ความต้องการผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สูงถึงปีละ 8 ล้านตัน แต่ผลิตได้เพียง 5 ล้านตันต่อปี จึงส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนนาปรัง
โดยต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4,624 บาทต่อไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,003 กิโลกรัมต่อไร่
เมื่อขายได้กำไร 3,690 บาทไร่ ขณะที่ข้าวนาปรัง ต้นทุน 4,895 บาทต่อไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 666 กิโลกรัมต่อไร่ กำไร 306 บาทต่อไร่ จึงควรหันมากปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
เพราะมีต้นทุรถูกกว่าปลูกข้าว 270 บาทต่อไร่ ได้ผลผลิตมากกว่าข้าว 337 กิโลกรัมต่อไร่
และได้กำไรมากว่า 3,384 บาทต่อไร่
ดังนั้นจึงสามารถยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรได้อย่างแน่นอน
นายกฤษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจาก
ครม. เห็นชอบโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา
มอบหมายให้ ธ.ก.ส. ปล่อยสินเชื่อเพื่อปัจจัยการผลิตให้เกษตรกร ไร่ละ 2,000 บาท
ไม่เกิน 15 ไร่ ดเกดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 เป็นระยะเวลา 6 เดือน
สำหรับสถาบันเกษตรกรเช่น สหกรณ์การเกษตรหรือวิสาหกิจชุมชนิด ได้รับสินเชื่อเพื่อรวบรวมผลผลิต ดอกเบี้ยร้อยละ
1 ระยะเวลา 6 เดือน รวมทั้งจัดทำการประกันภัยให้แก่เกษตรกรกรณีประสบภัยพิบัติ
โรคและแมลงระบาด ทำให้ผลผลิตเสียหายโดยรัฐสนับสนุนเบี้ยประกันภัย 65 บาท/ไร่
เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการชดเชยไร่ละ1,500 บาท ทั้งนี้ได้คัดเลือกพื้นที่เป้าหมายที่มีความเหมาะสมตามคุณภาพดิน
(Zoning by Agri-map) และวางแผนบริหารจัดการน้ำตลอดฤดูกาลผลิตให้เหมาะสมกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งใช้เวลาปลูก
4 เดือน
โดยบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ร่วมโครงการจะทำข้อตกลงในการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีให้
จากนั้นเข้าไปอบรมถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรตั้งแต่การขั้นตอนเตรียมแปลง
วิธีการปลูก การดูแล
จนถึงขั้นตอนการเก็บผลผลิตเพื่อให้เกษตรกรมีความชำนาญและสามารถดำเนินการเองได้ในอนาคต
เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา
พ.ศ. 2560
ในส่วนด้านตลาดได้ให้สหกรณ์การเกษตรและสถาบันเกษตรกรมากำหนดจุดรับซื้อเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรในการขาย
ประสานกับภาคเอกชนวางระบบการรับซื้อก่อนเริ่มโครงการ
พร้อมจะทำข้อตกลงซื้อขายกับผู้ประกอบการที่มีความพร้อมทุกราย
ไม่ผูกขาดกับรายใดรายหนึ่ง ทั้งนี้ได้เจรจากับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์และสมาคมผู้ค้าพืชไร่
รวมถึงทุกหน่วยงานในพื้นที่สนับสนุนเกษตรกรให้มีการรวมกลุ่มการจำหน่ายในรูปแบบของสหกรณ์
กลุ่มเกษตรกร เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองราคา
อีกทั้งบูรณาการกับกระทรวงพาณิชย์ให้เข้ามาควบคุมราคาเพื่อให้เกิดราคาที่เป็นธรรมแก่เกษตรกร
ซึ่งนายกฤษฎามั่นใจว่า การปฎิรูปภาคการเกษตรตามรูปแบบที่วางไว้นี้จะสามารถแก้ไขปัญหาภาคเกษตรไทยให้มีความมั่นคงขึ้น
อีกทั้งสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน.-สำนักข่าวไทย