‘วิษณุ’ มอบรางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น วันภาษาไทยแห่งชาติ

ศูนย์วัฒนธรรมฯ 25ก.ค.-รองนายกรัฐมนตรีมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2561 โดย ‘กรกันต์ สุทธิโกเศศ-สาธิต กรีกุล ผู้ประกาศข่าว ,เสน่ห์ วงศ์กำแหง นักเขียน ,อดัม-แบรดชอว์ ครูสอนภาษา ได้รับเลือกเป็นผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นปีนี้ 


นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พ.ศ.2561 พร้อมมอบเข็ม โล่เชิดชูเกียรติและรางวัลแก่ผู้ที่ได้รับคัดเลือกยกย่องเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นชาวไทยและต่างชาติ ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทยประเภทบุคคลและประเภทองค์กร เยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่านการเขียน รางวัลการประกวดการเห่เรือ รางวัลการประกวดส่งเสริมการใช้ภาษาไทยถิ่นและศิลปินนักร้อง ที่ได้รับรางวัลเพชรในเพลง รวมทั้งมอบเกียรติบัตรผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทย 13 ประเทศ 


รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันภาษาไทยเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรที่ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย พร้อมทั้งเผยแพร่พระอัจฉริยภาพด้านภาษาและวรรณกรรมซึ่งพระองค์ได้ทรงร่วมอภิปรายปัญหาการใช้ภาษาไทย ในการประชุมวิชาการของชุมนุมภาษาไทยคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ 29ก.ค.2505 ซึ่งภายหลัง ครม.มีมติให้วันที่ 29 ก.ค.ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ  


สำหรับการจัดงานครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการมอบรางวัลเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่เป็นแบบอย่าง ด้านการใช้ภาษาไทย ยังเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้แก่เด็กและเยาวชน และปีนี้ยังเป็นปีที่ 2 ที่ได้ประสานความร่วมมือไปยังสถานทูต ประจำประเทศไทย เชิญชวนเอกอัครราชทูตและผู้แทนสถานทูตร่วมส่งคลิปวีดีโอรณรงค์การใช้ภาษาไทยซึ่งปีนี้มี 13 ประเทศ เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งคลิปดังกล่าวจะนำไปเผยแพร่และส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้เป็นที่รู้จัก ทั้งยังสร้างความสัมพันธ์และภาพลักษณ์ที่ดี นำความเป็นไทยสู่สากล 

นายจุมพล ทองตัน หรือโกไข่ ที่ได้รับรางวัลผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่นประจำปีนี้ เปิดเผยว่า ภาษาไทยถิ่นไม่ใช่แค่การเขียนการพูด แต่ในภาษาถิ่นนั้น มีวัฒนธรรม มีวิถีชีวิต มีภูมิปัญญา มีประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าซ่อนอยู่มากมาย ตนจึงเอาภาษาไทยถิ่นมาแต่งเป็นบทเพลงแล้วขับร้องให้ร่วมสมัยเปรียบเสมือนกับการปรับกระพี้  เพื่อรักษาแก่นซึ่งเป็นแก่นที่คนรุ่นใหม่ต้องรู้ว่านี่คือที่มานี่คือรากเหง้าของเราเอง 

สำหรับรายชื่อผู้ได้รับรางวัล ดังนี้ 

รางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 2 คน ได้แก่ 1.รศ.ประจักษ์ สายแสง และ 2.ศ.วิภา กงกะนันทน์ 

รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น รวม 9 คน ประกอบด้วย นักวิชาการ นักเขียน และสื่อมวลชน 5 คน และชาวต่างชาติ 4 คน ได้แก่ 1.นายกรกันต์ สุทธิโกเศศ 2.ผศ.พิสิทธิ์ กอบบุญ 3.นายสาธิต กรีกุล 4.นายเสน่ห์ วงษ์กำแหง 5.น.ส.อำไพ สังข์สุข 6.นายคะซุฮิโกะ บันโนะ 7. นายอดัม แบรดชอว์ 8.นายฮาราลด์  ลิงค์ และ9.นายทูกสบิลกุน ทู เมอคุเล็ก   

รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น 7 คน ได้แก่ 1.นายจุมพล ทองตัน  2.นายชูชาติ ใจแก้ว  3.นายบุญทิพย์ สุริยะจันทร์  4.ร.ต.ต.ปรีชา สุขจันทร์ 5.นายศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว 6.นายสมจิต ทองบ่อ และ7.นายสุนทร คำยอด

รางวัลผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ประเภทบุคคล 1 คน ได้แก่ พระเทพสุธรรมญาน (แฉล้ม เขมปญฺโญ) และประเภทองค์กร 2 องค์กร ได้แก่ 1.สถาบันปัญญ์สุข 2.ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านทราย จ.ลพบุรี 

รางวัลการประกวดเพชรในเพลง 23 รางวัล ได้แก่ 

1.รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงรอปฏิหาริย์ ผู้ขับร้อง นายปองศักดิ์ รัตนพงษ์ (อ๊อฟ ปองศักดิ์) ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงลบนาทีที่มีเธอ ผู้ขับร้อง นางสาวนภัสสร ภูธรใจ (นิว) และนางสาวปิยนุช เสือจงพรู (จิ๋ว) ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงบุญผลา ผู้ขับร้องนายพรภิรมย์ พินทะปะกัง (ไมค์ ภิรมย์พร) และประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงทองดำ ผู้ขับร้อง น.ส.พลอยชมพู ลอมเศรษฐี (ปะแป้ง พลอยชมพู)

2.รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงวันสุดท้ายของพ่อ ผู้ประพันธ์ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงใจเต็มดวง ผู้ประพันธ์ นายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา

3.รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษผู้มีคุณูปการต่อวงการเพลง ได้แก่ นายบูรพา อารัมภีร 

4.รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษครูเพลงผู้ประพันธ์เพลงอมตะ ได้แก่ ศ.เกียรติคุณนายแพทย์วราวุธ สุมาวงศ์ (ครูวราห์ วรเวช) 

5.รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต ได้แก่ นางสุคนธ์ พรพิรุณ (ครูพรพิรุณ) 

และ6.รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ขับร้องเพลงอมตะ ได้แก่ นางดวงจันทร์ ไพโรจน์ (วงจันทร์ ไพโรจน์)  .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

อดีตครูจำใจสร้างห้องขังในบ้าน เตรียมคุมลูกติดยา

สลด! อดีตครูวัย 64 ปี จำใจจ้างช่างทำห้องคล้ายกรงขังในบ้าน เตรียมคุมลูกติดยา-พนันออนไลน์ หลังส่งตัวบำบัดกว่า 10 ครั้ง แต่ออกมาก็เหมือนเดิม

หนุ่มใหญ่ควบเก๋งเผลอเหยียบผิดพุ่งทะลุกำแพงอาคารจอดรถดิ่งตกจากชั้น 2

หนุ่มใหญ่ควบเก๋งเผลอเหยียบผิดพุ่งทะลุกำแพงอาคารจอดรถดิ่งตกจากชั้น 2 โชคดีบาดเจ็บเล็กน้อย เจ้าหน้าที่ส่งรักษาตัวที่ รพ.เจ้าพระยา

อาม่าแจ้งความ “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง” หลอกทำพิธีสูญ 60 ล้าน

อาม่าวัย 77 ปี โร่แจ้งความเอาผิด “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง” หลอกทำพิธี-แนะซื้อวัตถุมงคลแล้วไม่ได้รับของ สูญเงินกว่า 60 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

เรือใบอิตาลีที่สวยงามที่สุดในโลกเดินทางถึงภูเก็ตแล้ว

ภูเก็ตคึกคัก เรือใบอิตาลีที่ขึ้นชื่อว่างดงามที่สุดลำหนึ่งของโลก ออกเดินทางมาแล้วรอบโลก ได้เข้าจอดเทียบท่าจังหวัดภูเก็ต โดยมีทัพเรือภาคที่ 3 ให้การต้อนรับทหารเรืออิตาลีกว่า 150 นาย อย่างอบอุ่นพร้อมเปิดให้ประชาชนขึ้นชมเรือฟรีได้ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (6 พ.ย.)

พระเปย์สีกา ช่องโหว่ผลประโยชน์ในดงขมิ้น

รองเจ้าอาวาสวัดชื่อดังแห่งหนึ่งในมหาสารคาม ขอลาสิกขากลางดึก หลังถูกแฉ เป็นพระปลัดใจป๋า เปย์สีกาไม่อั้น ขณะที่รอง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สั่งตรวจสอบว่า เป็นเงินส่วนตัว หรือ เงินวัด เพราะจะมีความผิดแตกต่างกัน

“สันธนะ” เปิดใจหลังเคลียร์ใจ “ชูวิทย์” กลับไทยขึ้นศาล

“สันธนะ” เผย นอนคิดมา 1 คืนเริ่มใจอ่อนรับคำขอโทษ “ชูวิทย์” รับรู้ถึงความจริงใจ แต่คดีอาญาถอนฟ้องไม่ได้ ต้องปล่อยไปตามกฎหมาย