กรุงเทพฯ 6
มิ.ย.-กระทรวงพลังงานวางแผน สู่สังคมไม่พึ่งพาพลังงานหลักหรือ ฟอสซิลใน10-20 ปีข้างหน้า โดยวางกรอบเสร็จสิ้นในปลายปี 2561
และเร่งแผนส่งเสริมโซลาร์รูฟท็อป
แก้กฏระเบียบส่งเสริมให้ประชาชนขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ รวมทั้งส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวมวล-ชีวภาพ
ผสมโซลาร์ กำลังผลิต 3 พันเมกะวัตต์ ย้ำราคาพลังงานไทยต้องไม่แพงขึ้น
นายศิริ
จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน กล่าวว่าโลกกำลังก้าวสู่โลกแห่งการให้ความสำคัญต่อพลังงานสีเขียว
พึ่งพาพลังงานทดแทนมากขึ้น
ทางกระทรวงพลังงานก็เตรียมกำหนดกรอบระยะยาวว่าจะไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลใน10-20 ปี โดยพัฒนาทั้งพลังงานทดแทนในส่วนของไฟฟ้าและยานยนต์
กรอบแผนงานจะกำหนดเสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้ โดยต้องดำเนินการที่ดูครอบคลุมทุกส่วน เช่น
สายส่งไฟฟ้า สายส่งฝ่ายจำหน่าย สมาร์กริด สมาร์ทมิเตอร์ สมาร์ทซิสเต็มส์ ซึ่งในส่วนของบ้านพักอาศัยจะส่งเสริมให้เกิดการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา
(โซลาร์รูฟท็อป ) ในรูปการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองแล้วเหลือจึงขายเข้าระบบ แต่ทั้งนี้การส่งเสริมจะไม่ส่งผลให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าแพงขึ้น
“กรอบแผนงานไม่พึ่งพาพลังงานฟอสซิล
จะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้ ครอบคลุมไฟฟ้า-ยานยนต์ ช่วยทำให้โลกสะอาดขึ้น
และหนึ่งในแผนคือส่งเสริมโซลาร์รูฟท็อป ผลิตไฟฟ้าใช้เอง หากมีเหลือขายเข้าระบบ
โดยต้องมีการแก้ไขหลักเกณฑ์ระเบียบต่างเพื่อรองรับเรื่องนี้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ในอนาคต
แผนการใช้พลังงานทดแทนก็จะสูงกว่า แผนปัจจุบันที่มีเป้าหมายใช้พลังงานทดแทนร้อยละ
30 ของพลังงานทั้งหมด”นายศิริ กล่าว
รมว.พลังงาน
ยังกล่าวในระหว่างร่วมงาน แสดงเทคโนโลยีและการประชุมนานาชาติด้านพลังงานทดแทน
การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ASEAN Sustainable Energy Week 2018 ระหว่างวันที่ 6-9 มิ.ย. ที่ศูนย์ฯไบเทคบางนา ) ว่าความมั่นคงด้านพลังงานเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของทุกประเทศในอาเซียน
โดยในส่วนของไทยประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาพลังงาน
ด้วยการผสมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
พลังงาน และการเข้าถึงตลาด การพัฒนาพลังงานทางเลือก โดยในส่วนของราคาพลังงานของไทยแม้ไม่ได้ต่ำที่สุดอย่างประเทศอื่นๆ
ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องภาษี ซึ่งเป็นรายได้ที่นำไปนำไปพัฒนาประเทศ
ทั้งเรื่อง เสริมสร้าง สวัสดิการ พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ แต่ราคาพลังงานก็อยู่ในเกณฑ์ที่สร้างอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
และพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท
รมว.พลังงาน
กล่าวด้วยว่า การเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย การพัฒนา พลังงานทดแทนและเชื้อเพลิงที่สะอาด
เป็นพื้นฐานสำคัญในการเผชิญกัความท้าทายในโลกปัจจุบัน ทั้ง ทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency – IEA) .. คาดว่าความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ37
เปอร์เซ็นต์ภายในค.ศ. 2040
ซึ่งวาระการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้แนะนำว่าการจะเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน
ซึ่งสิ่งที่ไทยเพเนินการทำหลากหลายด้านคบคู่กัน
คือสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถเข้าถึงบริการด้านพลังงานที่ทันสมัยและราคาไม่แพงและเชื่อถือได้,เพิ่มส่วนแบ่งของพลังงานหมุนเวียน
โดยในขณะนี้มีการส่งเสริมพลังงานทดแทน เช่น ลม พลังงานแสงอาทิตย์ มีดสัดส่วนร้อยละ
10 และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 30 ในอนาคต ซึ่งสิ่งที่จะส่งเสริมควบคู่กันคือ
การพัฒนาพลังงานชีวมวล ควบคู่พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อให้เกิดโรงไฟฟ้าผสมผสาน 3,000 เมกะวัตต์ และในพื้นที่ 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็จะมีโครงการพิเศษขึ้นมาดูแลราว 300 เมกะวัตต์ ในขณะเดียวกัน ต้องเพิ่มอัตราการการส่งเสริมใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสองเท่าในอนาต
และกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการวิจัยและเทคโนโลยีด้านพลังงานที่สะอาด
นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด
(มหาชน) และกรรมการ บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด กล่าวว่าเรื่องการส่งเสริมให้ประชาชนขายไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์รูฟท็อป
เป็นเรื่องที่ดี และ
ทางบริษัทสามารถเสนอราคาขายไฟฟ้าตามที่กระทรวงพลังงานกำหนดคือประมาณ 2.40
บาท/หน่วยได้ โดยเป้าหมายของบริษัท คล้ายคลึงกับ ไออีเอ คือจะเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนในพอร์ตลงทุนเป็นร้อยละ
20ของกำลังผลิตรวม 4,300 เมกะวัตต์ ในปี ค.ศ.2025 จากปัจจุบันร้อยละ 9 จากกำลังผลิตรวม
2,200 เมกะวัตต์ทั้งนี้ในส่วนของ บ้านปู อินฟิเนอร์จี ซึ่งให้บริการด้านการวางระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจรนั้น
ขณะนี้มีการให้บริการพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว12เมกะวัตต์
และมีการลงนามข้อตกลงจะเพิ่มอีกราว 100เ มกะวัตต์
และพร้อมจะให้บริการระบบสมาร์ทซิตี้ หากกฏระเบียบรัฐมีความชัดเจน เช่น ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
(อีอีซี ) จังหวัด เชียงใหม่
จังหวัดภภูเก็ต เป็นต้น
นายบุรณิน
รัตนสมบัติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจหล่อลื่น บมจ.ปตท. กล่าวว่า ในส่วนของ
ปตท.เตรียมพร้อมรับมือสังคมลดการใช้ฟอสซิล ในอนาคต โดยในส่วนของน้ำมันหล่อลื่น
มีการผลิตน้ำมันสำหรับโรงไฟฟ้าทุกประเภท
การพัฒนาน้ำมันหล่อลื่นสูตรที่ใช้กับยานยนต์ไฟฟ้า
ซึ่งคาดว่าความต้องการใช้จะเพิ่มมากขึ้น–สำนักข่าวไทย