สำนักข่าวไทย 26 พ.ค.-
นักจิตวิทยา ชี้ ข่าวเด็กจ้างวานข่มขืนเด็กด้วยกัน เป็นความรุนแรงในเด็ก
ที่ไม่อาจปล่อยผ่าน ละเลย ตามกฎหมาย ต้องได้รับการแก้ไข แต่ยังเร็วเกินไปปักใจเชื่อทั้งหมด
เพราะสรีระ อวัยวะเพศในเด็กชายจะแข็งตัวตอนอายุ 12 ปี อีกทั้งคำว่า ข่มขืน จ้างวาน
เป็นคำพูดของผู้ใหญ่
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์
ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีข่าว เด็กป.3 จ้างวานเด็กป.5
ข่มขืน เด็ก ป.1 ว่า เรื่องนี้อยากให้สังคมค่อยๆพิจารณาข้อเท็จจริง อย่างรอบด้าน
เชื่อว่ายังมีรายละเอียดอีกมาก แต่สิ่งแน่นอนคือได้เกิดความรุนแรงระหว่างเด็กขึ้นแล้ว
และมีเด็กเป็นผู้ถูกกระทำ และเป็นผู้กระทำ โดยคำว่า ข่มขืน หรือ จ้างวาน
ล้วนเป็นคำพูดของผู้ใหญ่ ที่นำมาใส่ในเด็ก จึงคล้ายลักษณะใส่ไข่ อีกทั้งต้องเข้าใจข้อเท็จจริง เรื่องสรีระของเด็กด้วยว่า
ในเด็กผู้ชายอวัยวะเพศจะแข็งตัวเมื่ออายุ 12 ปีขึ้นไป หรือเป็นวัยรุ่น ฉะนั้นเด็กป.5
จะทำการข่มขืนได้ต้องเป็นที่มีร่างกายโตว่าเด็กทั่วไป ส่วนการจ้างวาน เชื่อว่า
ยังเร็วเกินไปที่เด็กวัยประถมจะคิดได้ จึงเชื่อว่าน่าจะมีรายละเอียดอีกมาก
นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า ตามปกติ
ในการพิจารณาคดี ของ ศาลเยาวชน และครอบครัว
มักให้ความเห็น ว่า ความรุนแรงในเรื่องนี้ต้องได้รับการแก้ไข ไม่สามารถยอมความ หรือกลบเกลื่อน หรือ
ให้แล้วต่อกันได้ เพื่อให้
ความรุนแรงในเด็กลักษณะนี้ ได้รับการแก้ไข ทั้งตัวผู้กระทำความรุนแรง และผู้ถูกกระทำต้องได้รับการเยียวยา บาดแผลในจิตใจ การยอมความจะทำให้ ทั้ง 2
ฝ่ายไม่ได้รับความช่วยเหลือ เพราะในส่วนของผู้กระทำความรุนแรงหากเป็นเด็ก เติบโตไปก็อาจก่อความรุนแรงมากขึ้น
เพราะไม่มีการปรับแก้ไขแต่ต้น ส่วนคนที่ถูกกระทำ ก็มีบาดแผลในใจกลายเป็นปมด้อย
ดังนั้น
เรี่องราวในช่วงวัยเด็กจึงเป็นรากฐานสำคัญในอนาคต
นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สังคมควรให้ความสนใจ จากข่าวนี้
เริ่มแรกหยุดดราม่า พิจารณาข้อเท็จจริง เพราะถ้อยคำจากข่าว ทั้งข่มขืน ,จ้างวาน
อาจไม่ใช่ความจริงทั้งหมด เพราะคำพูดเหล่านี้ เป็นคำของผู้ใหญ่ไม่ใช่เด็ก
และต้องเข้าใจว่าความรุนแรงระหว่างเด็กมีทุกยุคทุกสมัย
มีความรุนแรงหลายระดับ เช่น เด็กแกล้งกันในโรงเรียน,
นักเรียนตีกัน แต่ปัญหาเหล่านี้
ต้องมีการแก้ คนก่อความรุนแรง ต้องปรับพฤติกรรม ,คนถูกกระทำต้องได้รับการช่วยเหลือ
ในประเทศญี่ปุ่น มีเด็กที่ถูกเพื่อนรังแก เริ่มแรกไม่ไปโรงเรียน
จนท้ายที่สุดฆ่าตัวตาย
ดังนั้นต้องมีการฝึกให้เด็กรู้จักแก้ปัญหา ต้องแต่ ฝึกการขอความช่วยเหลือ
พ่อแม่ต้องรับฟัง อย่ามองเป็นเรื่องของเด็ก ,และไปพูดคุยกับครูประจำชั้น ร่วมกันฝึกในเด็กเข้มแข็ง
แต่ไม่ใช่ความรุนแรงตอบโต้
ส่วนเด็กที่ก่อความรุนแรง หากทางโรงเรียนแจ้งผู้ปกครองมา อันดับแรก
พ่อแม่อย่าเข้าข้างปกป้องลูก ยอมรับความจริงให้ได้ และวางแผนแก้ไข ปรับพฤติกรรม .-สำนักข่าวไทย