ตกงาน อย่าตกใจ สปส.พร้อมดูแลผู้ประกันตน

สำนักงานประกันสังคม 5 ม.ค.-สปส.แจงพร้อมดูแลผู้ประกันตนที่ออกจากงาน ได้เงินชดเชยเต็มที่ และหากต้องการใช้สิทธิประกันสังคมต่อ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ภายใน 6 เดือนหลังจากออกจากงานเพื่อคุ้มครองสิทธิอย่างต่อเนื่อง เพียงใช้บัตรประชาชนใบเดียวในการสมัคร


นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.)กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง สถานการณ์ในปัจจุบันที่สถานประกอบการบางแห่งมีการปิดกิจการทำให้มีลูกจ้าง ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง ในขณะที่ผู้ประกันตนบางส่วนออกจากงานเอง ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าว พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้แสดงความเป็นห่วงลูกจ้าง ผู้ประกันตน ที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออกจากงาน  โดยกำชับให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานให้การช่วยเหลือดูแล ลูกจ้าง ผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างหรือออกจากงานอย่างเต็มที่ สำนักงานประกันสังคมในฐานะที่ดูแลสวัสดิการของผู้ประกันตน จึงมีมาตรการให้ความช่วยเหลือกรณีดังกล่าว 


นายสุรเดช กล่าวต่อว่า ขอให้ผู้ประกันตนไม่ต้องกังวล หากส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน ไม่ว่าจะถูกเลิกจ้างหรือลาออกก็ตาม และยังได้รับความคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน โดยต้องไปขึ้นทะเบียนหางานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐทั่วประเทศภายใน 30 วัน หลังถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงานเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในกรณีว่างงาน หากเกิน 30 วัน จะไม่สามารถรับสิทธิประโยชน์ได้ครบถ้วน และให้เตรียมหลักฐาน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก  ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตนไปด้วย 


สำหรับผู้ประกันตนว่างงาน เพราะถูกเลิกจ้างนั้น จะได้รับเงินทดแทนในระหว่างว่างงาน อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ ระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน ส่วนกรณีที่ผู้ประกันตนลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน 

นอกจากนี้ หากผู้ประกันตนประสงค์จะใช้สิทธิประกันสังคมต่อไป สามารถจะสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 โดยยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20) ด้วยตนเองภายในระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน ซึ่งผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายประกันสังคมต่อไปรวม 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  ทุพพลภาพ ตายไม่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ โดยผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละ 432 บาท  โดยผู้ยื่นคำขอต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอกลับเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39 ยื่นสมัครด้วยตนเองได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง