กรุงเทพฯ 19 ธ.ค. – ปตท.สผ.ประกาศแผนลงทุน
5 ปี 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินเบื้องต้นยอดขายปิโตรเลียมลดลง
หากไม่ชนะการประมูลแหล่งบงกช
นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทฯ เห็นชอบแผนการดำเนินงาน
5 ปี ช่วงปี 2561 – 2565 รวม 15,549 ดอลลาร์สหรัฐ
โดยแยกเป็นรายจ่ายลงทุน (Capital Expenditure) 8,980
ล้านดอลลาร์สหรัฐ และรายจ่ายดำเนินงาน (Operating Expenditure) 6,569 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รวมประมาณการรายจ่ายในการพัฒนาโครงการโมซัมบิก
โรวูมา ออฟชอร์ แอเรีย วัน โครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคซ โครงการเวียดนาม บี
และ 48/95 และเวียดนาม 52/97 และโครงการคอนแทร็ค 4 (แหล่งอุบล)
ซึ่งโครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (Final
Investment Decision) และส่วนใหญ่คาดว่าจะมีการผลิตหลังปี 2565 ยกเว้นโครงการแอลจีเรียฯ
เฟสแรกจะเริ่มผลิตปี 2562 และเต็มโครงการปี 2565 ซึ่งบางปีมีการลงทุนเพิ่มและบางปีก็ลดลงจากแผนเมื่อปีที่แล้ว
หน่วย : ล้านดอลลาร์ สรอ.
|
ปี |
ปี |
ปี |
ปี |
ปี |
ปี |
รายจ่ายลงทุน (Capital Expenditure) |
1,771 |
1,717 |
2,071 |
1,935 |
1,486 |
8,980 |
รายจ่ายดำเนินงาน (Operating Expenditure) |
1,332 |
1,252 |
1,201 |
1,223 |
1,561 |
6,569 |
รายจ่ายรวมทั้งสิ้น (Total |
3,103 |
2,969 |
3,272 |
3,158 |
3,047 |
15,549 |
สำหรับแผนงานดังกล่าว ปตท.สผ. คาดการณ์ตัวเลขประมาณการขายปิโตรเลียมเฉลี่ยต่อวัน
จากโครงการปัจจุบัน ซึ่งยังไม่รวมปริมาณการขายในกรณีที่บริษัทชนะการประมูลแหล่งสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุในอ่าวไทยและการเข้าซื้อกิจการเพิ่มเติม
ระหว่างปี 2561 – 2565
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
|
ปี 2561 |
ปี 2562 |
ปี 2563 |
ปี 2564 |
ปี 2565 |
ปริมาณการขายปิโตรเลียมเฉลี่ย |
302 |
299 |
283 |
276 |
239 |
สำหรับปี 2561 จะเน้นการลงทุนตามภูมิภาค ดังนี้ 1.โครงการในประเทศไทย
เป็นสัดส่วน เงินลงทุนร้อยละ 59
เพื่อรักษาระดับปริมาณการผลิต โครงการหลักสำคัญ ได้แก่ โครงการบงกช โครงการอาทิตย์
โครงการเอส 1 โครงการคอนแทร็ค 4
และโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย 2. โครงการในประเทศอื่น
ๆ ในอาเซียน เป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ส่วนใหญ่ลงทุนเพื่อรักษาระดับการผลิตในเมียนมาร์ ได้แก่ โครงการซอติก้า โครงการยาดานา และโครงการเยตากุน รวมถึงรายจ่ายสำหรับการสำรวจ
(Exploration) ในโครงการเมียนมาร์ เอ็มโอจีอี 3 และโครงการเมียนมาร์ เอ็ม 11 และ 3.โครงการในภูมิภาคอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย
แอฟริกา อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ มีประมาณการรายจ่ายลงทุนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
9 โดยกิจกรรมสำคัญส่วนใหญ่เพื่อการดำเนินงานในโครงการพีทีทีอีพี
ออสตราเลเชีย รวมถึงรายจ่ายพัฒนาโครงการโมซัมบิก โรวูมา ออฟชอร์ แอเรีย วัน
ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (Final Investment
Decision)
“รายจ่ายในการสำรวจ (Exploration)
ปี 2561 นั้น อยู่ที่ประมาณ 232 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายในการขุดเจาะหลุมสำรวจและประเมินผลสำหรับโครงการในไทย
เมียนมาร์ มาเลเซีย และออสเตรเลีย รวมถึงการสำรวจคลื่นไหวสะเทือนทางธรณีวิทยาและการศึกษาทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์”
นายสมพร กล่าว
นายสมพร กล่าวว่า บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการเพิ่มปริมาณสำรองและปริมาณการผลิต
เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและรองรับการเติบโตของบริษัทในอนาคต โดยมองหาโอกาสในการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
ทั้งจากการเข้าซื้อกิจการ การประมูลแหล่งสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุในอ่าวไทยและการเข้าร่วมประมูลแปลงสำรวจในโครงการใหม่
ๆ ในภูมิภาคที่มีศักยภาพ รวมถึงการเร่งพัฒนาโครงการที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย
โดยคาดว่าจะมีปริมาณการผลิตส่วนใหญ่เข้ามาหลังจากปี 2565 เป็นต้นไป นอกจากนี้
บริษัทยังคงมุ่งเน้นการรักษาระดับต้นทุนโดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน. – สำนักข่าวไทย