ยูเอ็นฝากไทยแก้ปัญหาสิทธิสตรี การจำกัดสิทธิชุมนุม

สำนักงานกสม. 14 ธ.ค.-กสม.สรุปสถานการณ์สิทธิ์ปี60 พบละเมิดสิทธิ์ทุกด้าน เสรีภาพแสดงความเห็นถูกยังถูกจำกัด  สิทธิในกระบวนการยุติธรรมเจ้าหน้าที่รัฐละเมิด วิทิตระบุยูเอ็นฝากการบ้านไทยแก้ปัญหาสิทธิสตรี การบังคับใช้กฎหมายมั่นคง การจำกัดสิทธิชุมนุม  


คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) จัดงานเนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม ประจำปี 2560 นายวิทิต มันตาภรณ์ อดีตผู้รายงานพิเศษและผู้เชี่ยวชาญอิสระของสหประชาชาติในเรื่องสิทธิมนุษยชนได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง   “ร่วมสร้างสังคมไทยให้เคารพสิทธิมนุษยชน” ตอนหนึ่งว่า  ปัจจุบันไทยลงนามเป็นภาคีอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ 7 ฉบับ จากทั้งหมด 9 ฉบับ ในจำนวนนี้มี 2 อนุสัญญาที่ไทยได้ร่วมประชุมด้วยเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่ผ่านมา คือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ 

ทั้งนี้ กรรมการของสหประชาชาติได้ฝากการบ้านไว้ให้กรรมการไทยหลายเรื่อง โดยมีความเป็นห่วงเรื่องการใช้ความรุนแรงกับสตรี และต่อไปประเทศไทยจะต้องเก็บข้อมูลในเรื่อง  1.การขลิบอวัยวะเพศของสตรี 2.การบังคับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีแต่งงาน 3.การมีสามี-ภรรยาหลายคนว่ามีเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่ และมีสถานการณ์เป็นอย่างไร   รวมทั้งห่วงสตรีใน 3 จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีที่สูญเสียผู้นำครอบครัวในเหตุความไม่สงบ และไม่เห็นด้วยกับการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากการบังคับเก็บ


“ส่วนเรื่องสิทธิทางการเมือง  กรรมการสหประชาชาติได้ขอให้ไทยประเมินเรื่องการใช้กฎหมายความมั่นคงใหม่  โดยเฉพาะการกักตัวผู้ถูกกล่าวหาโดยไม่ต้องขึ้นศาล โดย พ.ร.ก.การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกักได้ 30 ชั่วโมง  พ.ร.บ.กฎอัยการศึก 7 วัน โดยเขายินดีว่าตั้งแต่กันยายน 2559  คดีพลเรือนที่ขึ้นศาลทหารของไทยไปขึ้นศาลพลเรือน และเห็นว่าจะต้องมีการอุทธรณ์ซึ่งต้องอุทธรณ์ต่อศาลพลเรือน ส่วนเรื่องการแสดงออกและการรวมกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็นซึ่งเห็นว่าต้องเป็นตามหลักสากล ถ้าจะจำกัดสิทธิต้องจำกัดเท่าที่จำเป็นและมีสัดส่วน ไม่ใช่มีการชุมนุมเล็กน้อยก็ห้าม และถ้าหากจะดำเนินการต้องมีข้อพิสูจน์ว่ามีฐานกฎหมายรองรับอยู่ข้างหลัง รวมทั้งอยากให้การบังคับใช้มาตรา112 และมาตรา116 เป็นไปด้วยความระมัดระวัง เปิดพื้นที่ให้แสดงออกมากขึ้น เพิ่มความเชื่อมโยงการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เขาเชียร์ให้ประเทศไทยกลับไปสู่การนำพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามที่ได้ระบุว่าจะมีการเลือกตั้งในปีหน้า  โดยท่าทีของนานาชาติต่อประเทศไทยมีความยืดหยุ่น เพราะเขาเชื่อว่าเราจะกลับไปสู่ประชาธิปไตยเต็มใบในเร็ว ๆ นี้” นายวิทิตกล่าว 

จากนั้นได้มีการสรุปสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของไทยปี 2560 ที่น่าสนใจเรื่องพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กสม.ได้รับการร้องเรียนเรื่องการทรมานและการบังคับสูญหายตั้งแต่ปี  50-59 จำนวน 102 คำร้อง  ส่วนใหญ่เป็นในพื้นที่ภาคใต้  ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นปัญหาโครงสร้างจากข้อจำกัดทางกฎหมาย  การดำเนินการกับผู้ต้องสงสัยคดีบังคับสูญหาย ส่วนการละเมิดสิทธิในกระบวรการยุติธรรมได้รับคำร้อง 125 เรื่อง จาก 387 คำร้องอ้างว่าเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดครอบคลุมกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ตั้งแต่การจับกุม ควบคุมตัว แจ้งข้อกล่าวหา คุมขัง การพิจาณาคดี การลงโทษ  และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม   ขณะที่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพวิชาการ สื่อมวลชน การชุมชุมนุมพบว่ายังถูกจำกัด ตรวจสอบ ควบคุมอย่างเข้มงวดโดยกฎหมาย  อาทิ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 คำสั่ง คสช.ที่3 /2558 พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ 2558 

ส่วนสิทธิมนุษยชนของบุคคล 7 กลุ่ม คือ เด็ก ผู้หญิง ผู้สูงอายุ คนพิการ กลุ่มวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติ และกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ยังพบสถานการณ์บุคคลดังกล่าวถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและถูกละเมิดซ้ำซ้อน  ด้วยเหตุแห่งการมีสถานะต่างๆ ที่เหลื่อมทับซ้อนกัน เนื่องมาจากข้อจำกัดทางกฎหมาย เด็กถูกล่วงละเมิดและแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ ทำร้ายร่างกายถูกชักจูงให้เข้าสู่ขบวนการยาเสพติด  กลุ่มวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศพบมีการกระทำการรุนแรงต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ สื่อมวลชนมีการผลิตซ้ำภาพต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศที่มีลักษณะเหมารวม


สำหรับสถานการณ์เฉพาะหน้าด้านการปกป้องและปราบปรามการค้ามนุษย์ยังมีการนำผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์แสวงหาผลประโยชน์  ทั้งบังคับใช้แรงงาน ขายบริการทางเพศ บังคับเป็นขอทาน เหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้พบว่าสตรีที่สูญเสียผู้นำในความไม่สงบยังคงได้รับผลกระทบทางตรงทางอ้อม  รัฐยังไม่มีมาตรการเยียวยาที่เหมาะสม ด้านสิทธิชุมชน ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  พบว่าการดำเนินการโครงการต่าง ๆ ของรัฐ  ทั้งการจัดการพลังงานเหมืองแร่  ทรัพยากรธรรมชาติที่ดิน ป่าไม้ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษยังไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ยังมีการคุกคาม ข่มขู่ การบังคับให้สูญหายมีการใช้กฎหมายฟ้องร้องดำเนินคดี เพื่อให้ระงับการเผยแพร่ความคิดและการเข้าไปส่วนร่วมกับประชาชน.-สำนักข่าวไทย    

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พ่อเลี้ยงล่วงละเมิด

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA ส่วนเด็กอาการดีขึ้น

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA เชื่อ แม่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แค่เชื่อผัวเพราะลูกเคยโกหก เผย ตอนแม่รู้ความจริงว่าใครทำลูกถึงกับร้องไห้โฮโผกอดลูก ส่วนเด็ก 10 ขวบอาการดีขึ้น แต่ต้องรักษาตัวอีกหลายสัปดาห์

งานแต่งธนกร

วิวาห์ชื่นมื่น “ธนกร-แคทลีน” คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น

งานวิวาห์ “ธนกร-แคทลีน” ชื่นมื่น คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น ด้าน “ทักษิณ” ไม่ได้มาร่วม แต่ส่งของขวัญแสดงความยินดี

ทรัมป์สั่งปลด

“ทรัมป์” สั่งปลดประธานคณะเสนาธิการร่วมตามแผนปรับปรุงกลาโหม

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ออกคำสั่งในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นปลด พลอากาศเอก ซี. คิว. บราวน์ จูเนียร์ (Charles Quinton Brown Jr.) เป็นประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐออกจากตำแหน่ง

ข่าวแนะนำ

รวบหนุ่มจีนพร้อมสาวไทย เอี่ยวฟอกเงินหลอกลงทุนคริปโต

ตำรวจไซเบอร์รวบหนุ่มจีนพร้อมสาวไทย กินหรูอยู่สบาย เอี่ยวฟอกเงินขบวนการหลอกลงทุนคริปโต พบเกี่ยวพันอีก 28 คดี มูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านบาท

“ทักษิณ” ถึงนราธิวาส กลับมาในรอบ 19 ปี

“ทักษิณ” ถึงนราธิวาส บอกคนนราธิวาสน่ารักเสมอ ต้อนรับอบอุ่นกับการกลับมาในรอบ 19 ปี ก่อนเดินทางต่อตามกำหนดเดิม แม้มีระเบิดที่สนามบิน

บึ้มรถกระบะ สนามบินนราธิวาส ก่อน “ทักษิณ” ลงพื้นที่

บึ้มรถกระบะจอดใกล้กับหอบังคับการบิน ท่าอากาศยานนราธิวาส ก่อน “ทักษิณ” ลงพื้นที่สนามบินบ้านทอน ในอีก 50 นาที ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ