กทม.แจงขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส

สำนักข่าวไทย 2 ก.ย.-  กทม. แจงขึ้นราคารถไฟฟ้าบีทีเอส ย้ำ ขึ้นเฉพาะเส้นทางระหว่าง สุขุมวิท สีลม ระยะ 23.5 กิโลเมตร หลังไม่ขึ้นมานาน 4ปี  เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน ส่วนที่อัตราค่าโดยสารแพงว่าสิงคโปร์ และญี่ปุ่น เนื่องจากต้นทุนการก่อสร้างบริษัท  ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ออกเองทั้งหมด


 นายสุธน อาณากุล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง  กรุงเทพมหานคร ชี้แจงประเด็นการปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส  สายสุขุมวิทและสายสีลม ที่จะปรับขึ้นราคาภายในวันที่ 1 ต.ค.นี้   ว่า    การขึ้นราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส   เป็นการปรับ เฉพาะในส่วนของเส้นทางสัมปทานระยะทาง 23.5 กิโลเมตร ไม่รวมส่วนต่อขยายที่อยู่ในความรับผิดชอบโดยตรงของกรุงเทพมหานคร  โดยการปรับราคาค่าโดยสารเป็นไปตามสัญญาสัมปทาน ระหว่างกรุงเทพมหานคร กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งระบุว่าบริษัทฯ อาจปรับค่าโดยสารที่เรียกเก็บเป็นคราวๆ ไป และบริษัทสามารถปรับค่าโดยสารได้ทุก 18 เดือน แต่ต้องไม่เกินเพดานอัตราค่าโดยสารขั้นสูงสุด (เพดานอัตราค่าโดยสารสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 60.31 บาท)   โดยมีการปรับราคาค่าโดยสารครั้งล่าสุด  เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.56  หรือ เมื่อ 4 ปี มาแล้ว ทั้งนี้ บริษัทจะต้องแจ้งให้กรุงเทพมหานครและประชาชนทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ก่อนที่ค่าโดยสารที่เรียกเก็บใหม่นั้นจะบังคับใช้ ซึ่งบริษัทฯ ได้แจ้งมายังกรุงเทพมหานครแล้วและจะมีผลในวันที่ 1 ต.ค.60 นี้  อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครในเดือน ก.ย.นี้ เพื่อหาข้อสรุป และนำเรียนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต่อไป 


ส่วนของการติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ขณะนี้กรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการ ซึ่งจะติดตั้งลิฟท์สำหรับผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้า ครบทั้ง 23 สถานี แล้วเสร็จในเดือนตุลาคมนี้  ส่วนที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า อัตราค่าโดยสาร รถไฟฟ้า สูงกว่า  ประเทศอื่นหากเทียบรถไฟฟ้าใต้ดินและเอ็มอาร์ทีของประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ นั้น   เนื่องจากการดำเนินการรวมทั้งการบริหารจัดการทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การก่อสร้าง  บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด ภาครัฐจึงไม่ได้กำหนดรายละเอียดดังกล่าวในสัญญาสัมปทาน   นอกจากนี้ ยังมีข้อแตกต่างของการบริหารจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ มีการพัฒนาเส้นทางโดยรอบของสถานีในเชิงพาณิชย์  จึงสามารถนำรายได้ดังกล่าวมาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการเดินรถและบริหารงาน ต่างกับประเทศไทยที่มีรายได้จากการจัดเก็บค่าโดยสารและค่าโฆษณาภายในสถานีเป็นหลัก จึงจำเป็นต้องนำรายได้จากการจัดเก็บค่าโดยสารมาเป็นต้นทุนในการบริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส.-สำนักข่าวไทย 


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชิงทอง

สอบเครียด! คนร้ายชิงทอง 113 บาท สารภาพเอาไปจำนำบางส่วน

สอบเครียดทั้งคืน ผู้ต้องหาชิงทอง 113 บาท รับสารภาพนำทองไปจำนำบางส่วน ซื้อเบ้าหลอมเพื่อให้ยากต่อการติดตามของตำรวจ

เมียวดีระส่ำ! ปั๊มเหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน

เมียวดีระส่ำหนัก หลังไทยตัดกระแสไฟฟ้า-อินเทอร์เน็ต-น้ำมันข้ามชายแดน โดยเฉพาะน้ำมันขาดแคลนหนัก ปั๊มน้ำมันกว่า 20 แห่ง เหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน ประธานหอการค้าเมียวดี เรียกร้องรัฐบาลไทยทบทวน อยากให้ 2 ประเทศ ร่วมกันปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้ถูกจุด

ข่าวแนะนำ

5ตัวประกันถึงไทย

5 ตัวประกันถึงไทยแล้ว ปล่อยโฮโผกอดครอบครัว

5 ตัวประกันถึงไทยแล้ว ปล่อยโฮโผเข้ากอดครอบครัวด้วยความดีใจ “ทูตอิสราเอล” ก็มาส่งด้วย น้ำตาคลอคุยครอบครัวตัวประกัน “มาริษ” สัญญาจะนำอีก 1 คน และ 2 ร่างผู้เสียชีวิตที่เหลือกลับมาให้ได้ ด้าน 1 ในตัวประกัน พูดไม่ออก ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ทำให้ได้กลับแผ่นดินแม่

ไทยตอนบนอุณหภูมิลด 1-3 องศาฯ อีสานอากาศเย็นถึงหนาว

กรมอุตุฯ รายงานไทยตอนบนอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาฯ กับมีลมแรง อีสานอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคเหนือ กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตะวันออก และภาคใต้ตอนบน อากาศเย็นตอนเช้า ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ทำแผนชิงทอง

คุมทำแผนโจรบุกเดี่ยวชิงทอง 113 บาท

คุมตัวทำแผน โจรบุกเดี่ยวชิงทอง 113 บาท ในห้างฯ ย่านลำลูกกา สารภาพนำทองไปจำนำบางส่วน และซื้ออุปกรณ์หลอมทองเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่