“มีชัย” ปัด กรธ.ของบฯ เพิ่มเพื่ออยู่ต่อ

รัฐสภา 19 มิ.ย.-ประธาน กรธ. ระบุไม่รู้เรื่องการขอจัดสรรงบประมาณเพิ่มให้ กรธ.  เพื่อให้ตัวเองอยู่ต่อ เพราะอายุ กรธ.ระบุไว้ชัดในรัฐธรรมนูญ ชี้เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการสภาฯ ที่อาจไม่ได้ของบประมาณเผื่อไว้


นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานว่ามีการของบประมาณเพิ่มเติมกว่า 77 ล้านบาทให้ กรธ. สำหรับขยายเวลาการทำหน้าที่ ว่า กรธ.ไม่ทราบเรื่องการจัดสรรงบประมาณดังกล่าว และไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งไม่เคยของบประมาณเพิ่ม เว้นแต่มีการจัดรับฟังความคิดเห็น ซึ่งการจัดสรรงบประมาณเป็นเรื่องของสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่จะต้องดำเนินการ แต่การมาขอเพิ่มอาจเป็นเพราะไม่ได้เตรียมการเอาไว้ และคงเข้าใจว่าภาระหน้าที่ กรธ.จะหมดไปเมื่อมีรัฐธรรมนูญ ทั้งที่รัฐธรรมนูญได้ระบุไว้ชัดว่าจะต้องอยู่ต่อจนกว่าจะร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องเสร็จ และอายุของ กรธ.ต้องไม่เกินกว่า สนช. ทั้งนี้งบประมาณที่มีการขอไว้ หาก กรธ.ใช้ไม่หมด ก็ต้องคืนกลับไป

ส่วนกรณีที่ตั้งข้อสังเกตว่าหากมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมในการพิจารณากฎหมายลูก และหากร่างกฎหมายไม่ผ่าน อาจต้องขยายอายุของ กรธ.ออกไปนั้น นายมีชัย กล่าวว่า หากร่างกฎหมายลูกไม่ผ่าน กรธ.ต้องร่างภายใน 8 เดือน ไม่ได้ขยายเวลาอะไร เพราะยังอยู่ในกรอบ และในรัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดอยู่แล้วว่าอายุของ กรธ.จะต้องอยู่จนกว่ากฎหมายเหล่านี้จะผ่าน ดังนั้นไม่ถือเป็นการขยายเวลา อีกทั้ง กรธ.ตั้งใจว่าจะส่งร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งอีก 2 ฉบับสุดท้ายในเดือนที่ 8 ตามกรอบเวลา ไม่ได้เป็นการขยายเวลา แต่ต้องให้ กกต. และพรรคการเมืองเตรียมตัวได้ทัน ซึ่งขณะนี้ถ้าเปลี่ยนหลักการเหมือนที่ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมืองเปลี่ยน กกต.กับพรรคการเมือง ยังไม่มั่นใจว่าจะเตรียมตัวทันหรือไม่


“ทาง กรธ.ไม่ขัดข้องกับการแก้ไขของ สนช.ที่ให้มีไพรมารี่โหวต แต่อยากให้มั่นใจว่าไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ จึงได้เชิญ กกต.มาชี้แจง เนื่องจาก กกต.ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน โดย กกต.ที่เป็น กมธ.ยืนยันว่าไม่มีปัญหา แต่ กกต.อีกส่วนบอกว่ามีปัญหา จึงอยากให้ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งตรงนี้ต้องระบุรายละเอียดถึงแนวทางปฏิบัติให้ชัดว่าต้องทำไพรมารี่โหวตทั้ง ส.ส.เขตและระบบบัญชีรายชื่อ และหากไม่ทำ หรือพบว่าทำไม่จริง จะต้องทำอย่างไร จะตัดสิทธิเลยหรือจะให้สมัครใหม่แม้หมดเวลาแล้ว” นายมีชัย กล่าว

สำหรับกรณีที่ กกต.ระบุมีหลักฐานว่า กรธ.เคยวางเจตนารมณ์ไว้ว่าไม่เซ็ตซีโร่องค์กรอิสระ และจะช่องทางนี้ยื่นโต้แย้งร่าง พ.ร.ป.กกต.นั้น นายมีชัย ยืนยันว่า การเซ็ตซีโร่ไม่ขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะไม่เคยระบุไว้ จึงอยากให้ กกต.ไปอ่านเอกสารดังกล่าวให้ดี เพราะเอกสารดังกล่าวไม่ใช่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่ม 31 ซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับคาที่ หลังมีปากเสียงเรื่องขับเฉี่ยวชน

หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย ลูกเจ้าของร้านขายผ้าซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับ ริมถนนสุขุมวิท หลังมีปากเสียงเรื่องขับรถเฉี่ยวไม่ลงมาเจรจา

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ขับรถชนไรเดอร์ดับ

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ที่หัวร้อนขับรถชนไรเดอร์ดับคาที่กลางสุขุมวิท เมื่อวานนี้ พร้อมไหว้ขอสื่อ อย่ามายุ่งกับครอบครัว

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อ ขอให้ติดคุกจริง

ศาลให้ประกันหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนไรเดอร์ดับ

ครอบครัวไรเดอร์ที่ถูกหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนเสียชีวิต กอดกันร้องไห้รับร่างและรดน้ำศพ ด้านศาลให้ประกันตัวผู้ต้องหา วงเงิน 600,000 บาท ติดกำไล EM-ห้ามออกนอกประเทศ

ข่าวแนะนำ

วันประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียมวันแรก

วันนี้เป็นวันแรกที่กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ ใน กทม. มีการจัดงานวันสมรสเท่าเทียมอย่างยิ่งใหญ่ เฉลิมฉลองให้กับเส้นทางการต่อสู้อันยาวนานกว่าที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ ไม่ว่าเพศใดก็จะได้รับสิทธิการสมรสอย่างเท่าเทียมกัน

นาทีประวัติศาสตร์! นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา

นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกไทยกับยุโรป ความสำเร็จรัฐบาลแพทองธาร สร้างโอกาสยุคทองการค้า-ลงทุน ทำเงินเข้าประเทศ

ตำรวจ ปปป.ซ้อนแผนบุกจับนายช่างโยธา เรียกรับเงิน 4 แสน

ตำรวจ ปปป. บุกจับนายช่างโยธาปฏิบัติงาน ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตพระโขนง เรียกรับเงินค่าออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร 400,000 บาท

สมรสเท่าเทียม

นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้

“แพทองธาร” นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมแสดงความยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้ ขอบคุณทุกภาคส่วนผ่านการต่อสู้กับอคติกว่า 2 ทศวรรษ ทำให้ ทุกตารางนิ้วของประเทศไทยโอบรับความหลากหลาย และเท่าเทียม