สำรวจพื้นที่สร้างเขื่อนปากแบงใน สปป.ลาว (ตอน 1)

ลาว 8 มิ.ย.-ทีมข่าวสำนักข่าวไทยลงพื้นที่สำรวจความคืบหน้าการก่อสร้างเขื่อนปากแบงใน สปป.ลาว ที่รัฐบาลลาวได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงให้เดินหน้าสร้างเขื่อนต่อ แต่ประชาชนขอให้ชะลอการสร้างเขื่อน


แม่น้ำโขง สายน้ำแห่งชีวิต ที่หลากหลายทางชีวภาพสูงสุดในเอเชีย มีพันธุ์ปลา 96 ชนิด มากเป็นอันดับ 3 ของโลก หล่อเลี้ยง 60 ล้านคนใน 6 ประเทศ แม่น้ำสายนี้ถูกเลือกให้ก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำกว่า 20 โครงการ สร้างเสร็จแล้ว 6 โครงการ กำลังก่อสร้าง 3 โครงการ อยู่ระหว่างวางแผนอีก 11 โครงการ   


ทีมข่าวลงพื้นที่สำรวจลำน้ำโขง ตั้งแต่แขวงบ่อแก้ว จนถึงเมืองปากแบง พื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนแห่งที่ 3 บนลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ซึ่งผลิตไฟฟ้าได้ 912 เมกะวัตต์ และส่งขายให้ กฟผ.เป็นหลัก เรือแล่นผ่านแก่ง ผา วังน้ำลึก ระบบนิเวศที่สำคัญต่อการวางไข่ของปลา ซึ่งหากสร้างเขื่อนต้องระเบิดเกาะแก่งจำนวนมาก

ผู้ใหญ่บ้านห้วยลึก อ.เวียงแก่น กังวลว่าหากสร้างเขื่อน น้ำจะท่วมหนักอย่างปี 51 ที่เขื่อนจิงหงในเมืองสิบสองปันนาปล่อยน้ำมาหรือไม่ เพราะประชาชนเดือดร้อนกว่า 30 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรถูกทำลาย พืชบางชนิดไม่เติบโต เพราะระดับน้ำขึ้นลงไม่ตรงตามฤดูกาล


เรือล่องทวนลำน้ำกว่า 7 ชั่วโมง เห็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมการเป็นอยู่ของผู้คน โดยเส้นทางนี้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวล่องน้ำโขงไปยังเมืองหลวงพระบาง ไม่นานเราก็เดินทางมาถึงพื้นที่สร้างเขื่อนปากแบง

การก่อสร้างยังเดินหน้าต่อ ทั้งๆ ที่อยู่ระหว่างกระบวนการปรึกษาหารือ PNPCA ฟังเสียงประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ขัดต่อข้อตกลงคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงว่าด้วยการคุ้มครองสภาพแวดล้อม ซึ่งรายงานของบริษัทต้าถัง อินเตอร์เนชั่นเนลกรุ๊ป ผู้พัฒนาโครงการ พบข้อกังวลว่าการกั้นเขื่อนไม่ได้เป็นแบบน้ำไหลผ่านอย่างแท้จริง ส่งผลให้ต้องปิดกั้นทางเดินเรือ มีประตูเรือสัญจร 1 ประตู รองรับได้ทีละลำ แต่เรือนักท่องเที่ยวผ่านไม่ได้ ทั้งปิดกั้นระบบนิเวศวิทยา โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่อพยพ ข้ออ้างมีทางผ่านปลา แต่รูปแบบอาจผ่านไม่ได้จริง และพบว่าจะทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น 36 เมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมสูงที่ อ.เวียงแก่นและเชียงของ

ล่าสุด กรมประมงมองว่า รายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ทำภายใต้ PNPCA ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ไม่สมบูรณ์เเละไม่ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ขณะที่ PNPCAจะสิ้นสุดกระบวนการวันที่ 19 มิ.ย.นี้ ซึ่งอาจส่งผลให้เริ่มก่อสร้างเขื่อนได้ทันที แต่ชาวบ้านยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนถึงผลกระทบที่จะตามมา.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ เจ็บ 21

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ ถนนสายเอเชีย ขาขึ้น จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้บาดเจ็บ 21 คน คาดคนขับหลับใน เบื้องต้นยังไม่พบตัว

เน้นเครื่องจักรหนักเข้าถึงโซน B, C คาดมีผู้ติดค้างจำนวนมาก

ฝนตกหนักช่วงเช้า เพิ่มอุปสรรคค้นหาผู้ประสบภัย และการรื้อซากอาคาร สตง.ถล่ม เจ้าหน้าที่ทุกส่วนต้องหยุดปฏิบัติภารกิจชั่วคราว วันนี้ยังเน้นใช้เครื่องจักรหนักเข้าถึงโซน B และโซน C ที่มีลักษณะคล้ายร่างกายมนุษย์ติดอยู่ในซาก ด้านทีม K9 ประกาศยุติภารกิจค้นหาผู้สูญหาย