ชัวร์ก่อนแชร์: ออสเตรเลียห้ามคนไม่ฉีดวัคซีนเข้ารับการผ่าตัด จริงหรือ?

ออสเตรเลียกำหนดให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ก่อน เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่ไม่ฉุกเฉิน และผู้ป่วยมีความเสี่ยงป่วยหนักหากติดเชื้อโควิด-19

ชัวร์ก่อนแชร์: โรงพยาบาลโคโลราโดไม่รักษาผู้ป่วยโควิดที่ไม่ฉีดวัคซีน จริงหรือ?

สหรัฐอเมริกามีกฏหมายห้ามไม่ให้โรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาจากสถานะทางการเงินของคนไข้ เช่นเดียวกับสถานะการฉีดวัคซีน

ชัวร์ก่อนแชร์: โรงพยาบาลในเท็กซัสไม่รักษาเด็กที่ไม่ฉีดวัคซีนโควิด จริงหรือ?

เป็นข่าวปลอมที่อ้างโดยแพทย์ที่ต่อต้านวัคซีน และเคยประกาศจะไม่รักษาผู้ป่วยที่เคยไปฉีดวัคซีนโควิด-19 Texas Children’s Hospital ยืนยันว่าโรงพยาบาลเด็กในรัฐเท็กซัสไม่ปฏิเสธคนไข้เพียงเพราะการไม่ฉีดวัคซีน

อย.ย้ำวัคซีนโควิด-19 มีความปลอดภัย

อย.ย้ำวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ทั้งในด้านความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิผลจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ มีการควบคุมคุณภาพวัคซีนทั้งก่อนขึ้นทะเบียนและภายหลังการขึ้นทะเบียน รวมถึงติดตามประเมินความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด ขอประชาชนมั่นใจวัคซีน-19 ที่ได้รับอนุญาตจะช่วยลดความสูญเสียจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้เป็นโรคงูสวัด จริงหรือ?

แม้มีรายงานว่าระบบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนโควิด-19 อาจไปกระตุ้นให้ผู้มีเชื้อไวรัสในร่างกายเกิดโรคงูสวัด แต่การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถกระตุ้นการเกิดโรคงูสวัดได้มากกว่า

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้เป็นโรคเรื้อน จริงหรือ?

แม้มีรายงานว่าระบบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนโควิด-19 อาจไปกระตุ้นให้ผู้มีเชื้อในร่างกายเกิดโรคเรื้อน แต่การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถกระตุ้นการเกิดโรคเรื้อนมากกว่า

ชัวร์ก่อนแชร์: DNA ตกค้างจากวัคซีน mRNA แทรกแซงพันธุกรรมมนุษย์ จริงหรือ?

ดีเอ็นเอตกค้างจากวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ไม่สามารถเข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์เพื่อแทรกแซงรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ได้ ดีเอ็นเอตกค้างยังมีในวัคซีนหลายชนิดและไม่มีในปริมาณที่เป็นอันตราย

ชัวร์ก่อนแชร์: มีคนตายจากวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกกว่า 10 ล้านราย จริงหรือ?

1 ปีหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 นิวซีแลนด์มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากยกเลิกการล็อกดาวน์ พร้อมกับการแพร่ระบาดของไวรัสโอไมครอน

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วัคซีนงูสวัด

30 พฤศจิกายน 2566 – วัคซีนงูสวัดป้องกันโรคงูสวัดได้แค่ไหน และใครที่ควรฉีด ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล อุปนายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ หมายเหตุ: เนื้อหานี้นำเสนอข้อเท็จจริงตามกรอบมาตรฐานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์โดยได้รับการสนับสนุนจาก “ทิงเกอร์” ผู้ขับเคลื่อนงานด้านการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ

กรมควบคุมโรค-ภาคีเครือข่าย ขยายความร่วมมือเข้าถึงวัคซีน

กรมควบคุมโรค ร่วมกับภาคีเครือข่าย ขยายความร่วมมือในการเข้าถึงวัคซีน ในโอกาสวันแห่งการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโลก พร้อมเร่งฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก และวัคซีนป้องกันโรคติดต่อในเด็กเล็ก

สหรัฐอนุมัติวัคซีนชิคุนกุนยาขนานแรกของโลก

วอชิงตัน 10 พ.ย.- สำนักงานอาหารและยาสหรัฐหรือเอฟดีเอ (FDA) อนุมัติให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคชิคุนกุนยาขนานแรกของโลก เพื่อป้องกันภัยคุกคามด้านสาธารณสุขโลกอุบัติใหม่ เอฟดีเอแถลงเมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่นว่า อนุมัติให้ใช้วัคซีนอิกซ์ชิก (Ixchiq) ที่พัฒนาโดยวัลเนวา (Valneva) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของฝรั่งเศส สำหรับผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและผู้เสี่ยงได้รับเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะ โรคนี้ทำให้มีไข้และปวดตามข้อ สามารถถ่ายทอดจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้ทารกเสียชีวิต มักพบในพื้นที่เขตร้อนและเขตกึ่งร้อนในทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางพื้นที่ของทวีปอเมริกา แต่ขณะนี้ได้แพร่ไปยังพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ใหม่ ๆ  โดยพบว่ามีผู้ป่วยมากกว่า 5 ล้านคนในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา เอฟดีเอระบุว่า การติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาอาจทำให้ป่วยร้ายแรงและมีปัญหาสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะผู้สูงวัยและผู้มีโรคประจำตัว การอนุมัติให้ใช้วัคซีนขนานแรกของโลกตอบโจทย์ความต้องการทางการแพทย์ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง และเป็นความก้าวหน้าสำคัญในการป้องกันโรคที่ยังมีทางเลือกจำกัดในการรักษา ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคชิคุนกุนยา วิธีเดียวที่จะป้องกันได้คือการไม่ให้ถูกยุงกัด อย่างไรก็ดี เอฟดีเอยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า วัคซีนเชื้อตายที่ฉีดเพียงเข็มเดียวนี้จะมีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่ ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า นับตั้งแต่พบผู้ป่วยชิคุนกุนยารายแรกในแทนซาเนียเมื่อปี 2495 ปัจจุบันพบแล้วมากกว่า 110 ประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขแกรงว่า ชิคุนกุนยาจะกลายเป็นโรคระบาดในอนาคตเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ยุงเจริญเติบโตในภูมิภาคใหม่ ๆ.-สำนักข่าวไทย

นักวิทยาศาสตร์บราซิลพัฒนาวัคซีนสำหรับผู้ติดโคเคน

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในบราซิล ซึ่งเป็นประเทศผู้บริโภคโคเคนรายใหฐ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ประกาศวานนี้ว่า ได้พัฒนานวัตกรรมใหม่ในการรักษาการติดโคเคน ด้วยการใช้วัคซีน

1 6 7 8 9 10 142
...