ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้เป็นโรคงูสวัด จริงหรือ?

30 มกราคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ New York Post เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2021 โดยอ้างว่า โรคงูสวัดอาจเป็นอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด-19 กลายเป็นข้อความไวรัลที่มียอดแชร์, ยอดไลก์ และคอมเมนต์ ผ่านทาง Facebook และ Instagram รวมกันหลายแสนครั้ง


บทสรุป :

  1. ผู้ป่วยเป็นโรคงูสวัด จะต้องเคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือมีเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์อยู่ในร่างกายมาก่อนเท่านั้น
  2. แม้มีรายงานว่าระบบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนโควิด-19 อาจไปกระตุ้นให้ผู้มีเชื้อไวรัสในร่างกายเกิดโรคงูสวัด แต่การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถกระตุ้นการเกิดโรคงูสวัดได้มากกว่า
  3. ปัจจุบันสามารถป้องกันโรคทั้งสอง ด้วยวัคซีนโรคอีสุกอีใสหรือวัคซีนโรคงูสวัดโดยเฉพาะ

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

บทความของ New York Post อ้างงานวิจัยของฟิวเรอร์และคณะ ที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Rheumatology


จุดประสงค์ของงานวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลด้านความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 ที่มีต่อผู้ป่วยที่เป็นโรครูมาติกจากภูมิคุ้มกันตนเอง (autoimmune inflammatory rheumatic diseases) ซึ่งเป็นอาการที่ระบบภูมิคุ้มกันตนเองโจมตีข้อต่อ, กล้ามเนื้อ, กระดูกและอวัยวะส่วนต่าง ๆ

แม้ผู้ป่วยรูมาติกมีโอกาสพบอาการแทรกซ้อนจากการรับเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ข้อมูลด้านความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 ที่มีผู้ป่วยรูมาติกยังมีจำกัด เนื่องจากไม่มีการทดลองประสิทธิผลและความปลอดภัยของวัคซีนกับผู้ป่วยรูมาติก ในระหว่างการทดลองวัคซีนโควิด-19

ผลการทดลองวัคซีนโควิด-19 กับผู้ป่วยโรครูมาติก

ในการทดลองของฟิวเรอร์และคณะ พบว่ากลุ่มผู้ป่วยรูมาติกที่รับวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท Pfizer-BioNTech เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เกิดอาการข้างเคียงจำนวน 491 ราย ส่วนกลุ่มควบคุมพบอาการข้างเคียงจากวัคซีน 99 ราย

ในกลุ่มผู้ป่วยรูมาติกที่รับวัคซีน พบการป่วยเป็นโรคงูสวัด 6 ราย ส่วนกลุ่มควบคุมไม่พบการป่วยเป็นโรคงูสวัดแม้แต่รายเดียว

แต่การที่หนังสือพิมพ์ New York Post รายงานว่า ผลวิจัยยืนยันว่าวัคซีนโควิด-19 ทำให้เป็นโรคงูสวัด เป็นข้อความที่สร้างความเข้าใจผิด เนื่องจากคนที่จะป่วยเป็นโรคงูสวัดได้ ต้องมีเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus) ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคงูสวัดอยู่ในร่างกายเท่านั้น

โรคอีสุกอีใสและโรคงูสวัด

โรคงูสวัด (Herpes Zoster, Shingles) เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ ไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส

แม้ผู้ป่วยจะหายจากโรคอีสุกอีใสแล้ว แต่ไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ยังคงแอบแฝงอยู่ตามเนื้อเยื่อระบบประสาท และอาจนำไปสู่การเกิดโรคงูสวัดในอนาคต

ปัจจัยเสี่ยงมาจากความอ่อนแอของภูมิคุ้มกันและความเครียดของผู้ป่วย ที่อาจไปกระตุ้นการทำงานของไวรัสทำให้ป่วยเป็นโรคงูสวัดได้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยรูมาติกที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันเพื่อระงับความเจ็บปวดชนิด Glucocorticoids มีความเสี่ยงที่จะไปกระตุ้นการทำงานของไวรัส จนป่วยเป็นโรคงูสวัดได้เช่นกัน

จึงไม่อาจสรุปได้ว่า การเกิดโรคงูสวัดในกลุ่มผู้ป่วยรูมาติก เป็นเพราะการกระตุ้นจากวัคซีนโควิด-19 หรือเพราะการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน

ดังนั้น ผู้รับวัคซีนทั่วไปที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือมีเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์อยู่ในร่างกาย จึงไม่มีทางป่วยเป็นโรคงูสวัดเพราะการฉีดวัคซีนโควิด-19

ความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนโควิด-19 กับโรคงูสวัด

ปัจจุบันมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนโควิด-19 กับโรคงูสวัด ทั้งงานวิจัยที่ไม่พบความสัมพันธ์และงานวิจัยที่คาดว่าวัคซีนโควิด-19 มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรคงูสวัดหรือโรคเริม เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่พบความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กับการป่วยเป็นโรคงูสวัดเช่นเดียวกัน

หนทางที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดโรคงูสวัด คือการฉีดวัคซีนโรคอีสุกอีใส ซึ่งมีประสิทธิผลป้องกันโรคอีสุกอีใสและโรคงูสวัดได้ถึง 90%

ในสหรัฐอเมริกา ยังมีวัคซีนโรคงูสวัดสำหรับผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส ซึ่งมีประสิทธิผลในการป้องกันโรคงูสวัดได้ถึง 97%

ข้อมูลอ้างอิง :

https://healthfeedback.org/claimreview/covid-19-vaccines-dont-cause-herpes-infections-a-possible-association-with-the-reactivation-of-herpes-zoster-in-patients-with-rheumatic-diseases-remains-unconfirmed-new-york-post/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร