ชัวร์ก่อนแชร์: โอกาสเสียชีวิตเพราะโควิดมีไม่มาก ไม่ควรเสี่ยงกับวัคซีน จริงหรือ?

6 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Factcheck (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นการนำอัตราการรอดชีวิตจากโควิด 19 มาสร้างความเข้าใจผิด แม้เปอร์เซนต์การเสียชีวิตจากโควิด 19 จะน้อย แต่ชาวโลกต้องเสียชีวิตจากโควิด 19 แล้วกว่า 4 ล้านคน ทางการอังกฤษเปิดเผยว่า วัคซีนช่วยชีวิตผู้สูงอายุในอังกฤษนับหมื่นคน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นการเผยแพร่ข้อมูลเท็จผ่านมีมใน Instagram ที่สหรัฐอเมริกา เป็นการแสดงภาพ รอน เดอแซนติส ผู้ว่าการรัฐฟลอริด้าจากพรรครีพับลิกัน กำลังถือป้ายแสดงตารางที่ระบุว่าโอกาสเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในแต่ละช่วงอายุมีไม่ถึง 1% รวมถึงข้อความที่ตั้งคำถามถึงความปลอดภัยของวัคซีน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ภาพต้นฉบับของมีมดังกล่าว ถูกถ่ายขึ้นเมื่อครั้งที่ รอน เดอแซนติส รณรงค์ให้ยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ในสหรัฐอเมริกาเมื่อช่วงเดือนกันยายนปีที่แล้ว แต่ข้อมูลโจมตีความปลอดภัยของวัคซีนเป็นข้อความที่ตัดต่อขึ้นมาใหม่ โดยปัจจุบัน รอน เดอแซนติส เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว และยังรณรงค์ให้ประชาชนร่วมฉีดวัคซีนอีกด้วย ดร.สเทน […]

ญี่ปุ่นจะส่งวัคซีนแอสตราฯ 1 ล้านโดสให้ไทยในสัปดาห์นี้

โตเกียว 6 ก.ค.- ญี่ปุ่นจะจัดส่งวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของแอสตราเซนเนกาให้แก่ไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ประเทศละ 1 ล้านโดสในสัปดาห์นี้ นายโตชิมิสึ โมเตกี รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นแถลงวันนี้ว่า ญี่ปุ่นจะบริจาควัคซีนให้ไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ หลังจากบริจาคให้อินโดนีเซียและมาเลเซียไปแล้ว นอกจากนี้ยังจะบริจาควัคซีนลอตใหม่จำนวน 1 ล้าน 1 แสนโดสให้แก่ไต้หวันในวันที่ 8 กรกฎาคม หลังจากบริจาคไปให้แล้ว 1 ล้าน 2 แสน 4 หมื่นโดสเมื่อเดือนก่อน รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นเผยด้วยว่า ภายในกลางเดือนนี้ญี่ปุ่นจะเริ่มจัดส่งวัคซีน 11 ล้านโดสผ่านโครงการโคแวกซ์ที่จัดสรรวัคซีนให้ประเทศที่ต้องการ ประเทศในเอเชียใต้ และประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก ญี่ปุ่นรับปากจะบริจาคเงิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 32,130 ล้านบาท) และวัคซีน 30 ล้านโดสให้แก่โครงการโคแวกซ์ ส่วนเมื่อเดือนก่อนเผยว่า กำลังเร่งจัดส่งให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียโดยตรง.-สำนักข่าวไทย

อิสราเอลจะแลกวัคซีนโควิดใกล้หมดอายุกับเกาหลีใต้

เยรูซาเลม 6 ก.ค.- อิสราเอลจะจัดส่งวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของไฟเซอร์/ไบโอเอนเทคที่ใกล้หมดอายุจำนวน 700,000 โดสให้แก่เกาหลีใต้ในเดือนนี้ แลกกับวัคซีนยี่ห้อเดียวกันที่เกาหลีใต้จะส่งคืนในจำนวนเท่ากันในเดือนกันยายนและตุลาคม นายกรัฐมนตรีนาฟตาลี เบนเน็ตต์ ของอิสราเอลแถลงข่าวในวันนี้ว่า เป็นข้อตกลงที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเพื่อต่อสู้กับโรคระบาดไปด้วยกัน ด้านโฆษกกระทรวงสาธารณสุขเกาหลีใต้ออกตัวไม่ขอให้ความเห็น หลังจากหนังสือพิมพ์ฮาอาเร็ตซ์ของอิสราเอลเป็นสื่อแรกที่รายงานเรื่องนี้ อิสราเอลฉีดวัคซีนให้ประชากรแล้วราวร้อยละ 55 และมีวัคซีนที่ใกล้หมดอายุ มียอดติดเชื้อสะสมกว่า 843,400 คน เสียชีวิตกว่า 6,400 คน ส่วนเกาหลีใต้ฉีดวัคซีนให้ประชากรแล้วราวร้อยละ 10 มียอดติดเชื้อสะสมกว่า 161,500 คน เสียชีวิตกว่า 2,000 คน และคาดหวังเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่เร็วกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเดือนพฤศจิกายน ด้วยการให้ประชากรร้อยละ 70 ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม ส่วนใหญ่เป็นวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA).-สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์: แพทย์ไทย-เยอรมัน เตือนวัคซีนโควิดไม่ได้ผล-เป็นอันตราย จริงหรือ?

6 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Facta (อิตาลี)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นบทสัมภาษณ์ของ สุจริต ภักดี แพทย์ชาวเยอรมันเชื้อสายไทย ที่อ้างว่าวัคซีนโควิด 19 ป้องกันการติดเชื้อไม่ได้และเป็นอันตราย สวนทางกับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่าวัคซีนด้วยป้องกันการป่วยและเสียชีวิตจากโควิด 19 ได้จริง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการนำข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 ไปเผยแพร่บนสื่อออนไลน์ทั้งในหลายประเทศ โดยเป็นความเห็นของ สุจริต ภักดี นักจุลชีววิทยาชาวเยอรมันเชื้อสายไทย ระหว่างให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ New American สื่อแนวคิดอนุรักษ์นิยมของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2021 จากการสำรวจของเว็บไซต์ CrowdTangle พบว่าจนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม มีผู้รับชมการสัมภาษณ์รวมกันกว่าล้านครั้ง และมียอดแชร์ไปแล้วกว่า 53,000 ครั้ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: อย่างไรก็ดี คำกล่าวอ้างของ สุจริต ภักดี เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้เป็นเริมที่อวัยวะเพศ จริงหรือ?

5 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นความเข้าใจผิดว่าไวรัสที่ทำให้เกิดโรคงูสวัดทำให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศ โรคอีสุกอีใส, โรคงูสวัด หรือเริมที่อวัยวะเพศ ล้วนไม่ใช่อาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 ทั้งสิ้น ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกาที่อ้างว่า วัคซีนโควิด 19 ทำให้เป็นเริมที่อวัยวะเพศ และสามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: โดยผู้โพสต์อ้างบทความของหนังสือพิมพ์ New York Post เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2021 ที่อ้างว่า โรคงูสวัดอาจเป็นอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 นอกจากจะไม่เป็นความจริงแล้ว ในบทความยังสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่านให้เชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus) ที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสและโรคงูสวัด เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศด้วย ซึ่งแท้จริงแล้วเริมที่อวัยวะเพศเกิดมาจากการติดเชื้อไวรัสเริม (HSV) แม้ ไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ และ […]

ราชทัณฑ์ได้รับวัคซีนเพิ่ม 1 หมื่นโดส ฉีดเข็ม 2

กรมราชทัณฑ์ รายงานสถานการณ์โควิดในเรือนจำ พบผู้ต้องขังติดเชื้อรายใหม่ 84 ราย ขณะที่การจัดสรรวัคซีน ได้รับเพิ่ม 1 หมื่นโดส สำหรับฉีดเข็ม 2 ให้แก่ผู้ต้องขัง

จี้เร่งอนุญาตเอกชนนำเข้า ไฟเซอร์ –โมเดอร์น่า

เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ ร้องผู้ตรวจฯ สอบรัฐบริหารวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ จัดซื้อแต่ซิโนแวค ทั้งที่คุณภาพด้อย เจตนาเหมือนเลี้ยงไข้ จี้เร่งอนุญาตเอกชนนำเข้า ไฟเซอร์ –โมเดอร์น่าแบบไม่เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้เป็นโรคงูสวัด จริงหรือ?

5 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: ผู้ที่จะเป็นโรคงูสวัด ต้องเคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนเท่านั้น โดยมีสาเหตุจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอ งานวิจัยไม่อาจยืนยันได้ว่าวัคซีนโควิด 19 มีส่วนกระตุ้นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคงูสวัดหรือไม่ ข้อมูลที่ถูกแชร์: ข้อมูลจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ New York Post เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2021 อ้างว่าโรคงูสวัดอาจเป็นอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 จนกลายเป็นไวรัลที่มียอดแชร์, ยอดไลค์ และคอมเมนต์ ผ่านทาง Facebook และ Instagram รวมกันหลายแสนครั้ง ตามรายงานจากเว็บไซต์ Crowdtangle FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: บทความของ New York Post อ้างงานวิจัยของฟิวเรอร์และคณะที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Rheumatology จุดประสงค์ของงานวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลด้านความปลอดภัยของวัคซีนโควิด 19 ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรครูมาติกจากภูมิคุ้มกันตนเอง (autoimmune inflammatory rheumatic […]

มาเลเซียจะใช้วัคซีนโควิดที่กำลังพัฒนาเป็นเข็ม 3

สถาบันเพื่อการวิจัยการแพทย์มาเลเซียเผยว่า มาเลเซียจะใช้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่กำลังพัฒนาอยู่ในขณะนี้เป็นวัคซีนเข็มที่ 3 กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และเพื่อลดการพึ่งพาวัคซีนนำเข้าเพียงอย่างเดียว

ยูเครนสอบสวนกรณีชายเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์

กระทรวงสาธารณสุขยูเครนกำลังสอบสวนหาสาเหตุกรณีที่ชายวัย 47 ปีคนหนึ่งเสียชีวิตหลังจากเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของไฟเซอร์เพียง 4 ชั่วโมง

หญิงวัย 67 เส้นเลือดในสมองแตกโคม่า ญาติเชื่อเพราะฉีดแอสตราฯ

ลูกสาวและญาติเข้าเยี่ยมอาการหญิงอายุ 67 ปี เส้นเลือดใหญ่ในสมองแตก อาการโคม่า ลูกสาวเผยแม่มีประวัติเป็นโรคหอบหืดและวัณโรค รักษาจนหายมา 1 ปี ได้พาแม่ไปฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา วันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา

1 64 65 66 67 68 142
...