ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้ไข้หวัดรุนแรงขึ้น จริงหรือ?

9 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นข้ออ้างที่เป็นเท็จ ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า ไวรัสโควิด 19 หรือวัคซีนโควิด 19 ไม่ทำให้อาการป่วยจากไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่รุนแรงขึ้น เพราะสาเหตุมาจากไวรัสคนละชนิดกัน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ข้อมูลเท็จทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา ว่าวัคซีนโควิด 19 จะทำให้อาการป่วยจากไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่มีความรุนแรงจนถึงชีวิต ซึ่งภายหลังข้อความดังกล่าวถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม ผู้โพสต์อ้างว่าวัคซีนโควิด 19 ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้ไข้หวัดมีความรุนแรงยิ่งขึ้น การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนจึงเริ่มในช่วงที่ฤดูการระบาดของไข้หวัดผ่านพ้นไปแล้ว แต่เมื่อฤดูหนาวครั้งต่อไปมาถึง จะเกิดโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่าโควิด 21 ซึ่งคราวนี้จะมีคนเสียชีวิตจริงๆ โดยอาการจะคล้ายกับป่วยเป็นไข้หวัด FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่วัคซีนโควิด 19 ไม่ทำให้ผู้รับวัคซีนป่วยเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตอย่างที่กล่าวอ้าง ดร.เบรนท์ สต็อกเวลล์ ศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีววิทยา มหาวิทยาลัย Columbia University อธิบายว่า เป็นการกล่าวอ้างที่ไร้เหตุผลรองรับ ไวรัสโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีด Pfizer เสี่ยงติดโควิด 19 สายพันธุ์เบต้า 8 เท่า จริงหรือ?

8 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stop Fake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นการทดลองกับผู้รับวัคซีนที่ติดเชื้อโควิด 19 อยู่แล้ว จึงไม่อาจสรุปได้ว่าวัคซีน Pfizer ทำให้ติดโควิด 19 สายพันธุ์เบต้าได้มากกว่าคนทั่วไป ผู้วิจัยย้ำว่าการฉีดวัคซีนเป็นการป้องกันโควิด 19 กลายพันธุ์ที่ดีที่สุด ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีคลิปวิดีโอสร้างความเข้าใจผิดต่อประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 เผยแพร่ในประเทศยูเครน โดยอ้างว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer จะมีโอกาสติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เบต้าหรือแอฟริกาใต้ (B.1.351) มากกว่าคนที่ไม่ฉีดวัคซีนถึง 8 เท่า FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: คลิปดังกล่าวอ้างงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Tel Aviv University ที่ทำการตรวจสอบประสิทธิผลในการป้องกันโควิด 19 กลายพันธุ์ของวัคซีนโควิด 19 ทีมวิจัยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 400 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ชาวอินเดียขับไล่หมอ เพราะไม่ต้องการวัคซีน จริงหรือ?

8 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Animal Politico (เม็กซิโก)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นการนำภาพเหตุชุลมุนในตลาดนัดมาเชื่อมโยงกับวัคซีนอย่างไม่ถูกต้อง ภาพดังกล่าวคือการขับไล่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาระงับการรวมตัวของคนในหมู่บ้าน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อความเท็จพร้อมคลิปวิดีโอที่ระบุว่า ชาวบ้านในอินเดียขับไล่บุคลากรทางการแพทย์พร้อมวัคซีน เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนในประเทศจำนวนมาก FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: จากการตรวจสอบข้อมูลของ Animal Politico พบคลิปว่าคลิปดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศอินเดียตามที่กล่าวอ้าง แต่เป็นการชุลมุนที่เกิดขึ้นในตลาดนัด และไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนแต่อย่างใด จากรายงานข่าวของ Times Of India และทีมผู้ตรวจสอบของ India Today ระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2021 ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในรัฐฌารขัณฑ์ โดยเจ้าหน้าที่ตำตรวจต้องเดินทางไประงับการรวมตัวของชาวบ้านจำนวน 200 คนที่มาร่วมงานตลาดนัดของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการละเมิดคำสั่งห้ามรวมตัวในที่สาธารณะท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้ชาวบ้านที่ไม่พอใจลุกฮือขึ้นขับไล่เจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยการขว้างปาก้อนหินและทุบตีด้วยท่อนไม้ ชาวอินเดียที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 จะต้องลงทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุขของอินเดียก่อน การบังคับให้ชาวบ้านฉีดวัคซีนด้วยการส่งทีมแพทย์ไปตามหมู่บ้านอย่างที่กล่าวอ้างจึงไม่เป็นความจริง ข้อมูลจากเว็บไซต์ Worldometers เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม […]

สธ.จัดรถตรวจเชื้อและวัคซีนโควิดดูแลผู้ประสบเหตุโรงงานระเบิด

กระทรวงสาธารณสุขจัดรถตรวจเชื้อโควิดและวัคซีนแอสตราเซเนกา หน้ากาก N95 ช่วยดูแลผู้อพยพจากเหตุโรงงานระเบิดที่จังหวัดสมุทรปราการ

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้เป็นผู้แพร่เชื้อแบบไม่มีอาการ จริงหรือ?

7 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จบางส่วน บทสรุป: แม้วัคซีนโควิด 19 ในปัจจุบันจะยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ 100% แต่งานวิจัยหลายชิ้นยืนยันตรงกันว่าการฉีดวัคซีนช่วยลดโอกาสการแพร่เชื้อได้อย่างมาก ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการนำวิดีโอรายการโทรทัศน์ที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 มาแชร์ทาง Facebook ในประเทศจอร์เจีย โดยอ้างว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 จะกลายเป็นผู้แพร่เชื้อแบบไม่มีอาการ (asymptomatic transmitters) เนื่องจากวัคซีนโควิด 19 ยังไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อหรือติดเชื้อได้ 100% ดังนั้นผู้รับวัคซีนโควิด 19 จึงมีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปยังผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แม้วัคซีนโควิด 19 หลายยี่ห้อจะสามารถป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ แต่ประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อแบบไม่มีอาการยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม แต่การวิจัยหลายชิ้นที่ออกมาในปี 2021 พบว่าวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer, Moderna, และ AstraZeneca สามารถลดโอกาสการแพร่เชื้อแบบไม่มีอาการได้ วารสารการแพทย์ Nature […]

เรียกร้องใช้ไฟเซอร์-โมเดอร์นาเป็นวัคซีนหลัก

ภาคีบุคลากรสาธารณสุข-กลุ่มหมอไม่ทน นำรายชื่อประชาชนยื่นต่อตัวแทนพรรคการเมือง เรียกร้องลดขั้นตอนนำเข้าไฟเซอร์ –โมเดอร์นาเปิดเผยกระบวนการนำเข้า ใช้เป็นวัคซีนหลัก

กลุ่มเด็กเยาวชน บุก สธ.ร้องขอวัคซีนคุณภาพ

กลุ่มเด็กเยาวชนบุก สธ.เรียกร้องวัคซีนคุณภาพ นำหุ่นจำลอง สาดสี เหตุการณ์ผู้ป่วยเสียชีวิตแต่เจรจาล่ม เพราะใช้ถ้อยคำรุนแรงอ้างเครียดสถานการณ์

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนคือสาเหตุไวรัสกลายพันธุ์และการระบาดในอินเดีย จริงหรือ?

7 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Newtral (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วารสารการแพทย์ The Lancet ยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ไม่ใช่สาเหตุการเกิดโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า ต้นเหตุการแพร่ระบาดในอินเดียมาจากปัญหาสุขอนามัยและการฉีดวัคซีนที่ไม่ทั่วถึง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในอินเดีย โดยเนื้อหาอ้างว่านับตั้งแต่รัฐบาลอินเดียเริ่มฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับประชาชน สถานการณ์การแพร่ระบาดมีแต่เลวร้ายลงเรื่อยๆ ทั้งตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นและการอุบัติของไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2) แสดงว่าสาเหตุทั้งหมดมาจากวัคซีนโควิด 19 พร้อมนำบทสัมภาษณ์ของ อมาเยีย ฟอร์เซส แพทย์หญิงชาวสเปนที่เคยทำงานในอินเดียมาสนับสนุนการกล่างอ้าง โดยอ้างว่าแพทย์หญิงให้ความเห็นว่ามีแต่ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เท่านั้นที่ติดเชื้อโควิด 19 FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: องค์การยาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์สเปน (AEMPS) ยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ที่ผ่านการตรวจสอบด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย ไม่มีทางก่อให้เกิดโรคหรือแพร่เชื้อโควิด 19 AEMPS ยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนโควิด 19 กับการเกิดไวรัสกลายพันธุ์ […]

โฆษก กต.ยันรัฐบาลให้ความสำคัญกับการจัดหาวัคซีน

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ยืนยันรัฐบาลให้ความสำคัญกับการจัดหาวัคซีน พร้อมหารือรายละเอียดกับสหรัฐในการรับมอบ

จัดหาวัคซีนหลายแพลตฟอร์มเสริมศักยภาพป้องกันโควิด

รัฐบาล ยืนยัน จัดหาวัคซีนหลายแพลตฟอร์มเสริมศักยภาพการป้องกันการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ย้ำเดินหน้ามาตรการเข้มควบคู่ดูแลมิติทางเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม

รมว.เยอรมนีแนะยกเลิกมาตรจำกัดโควิดทั้งหมดในเดือนหน้า

เบอร์ลิน 6 ก.ค.- นายไฮโก มาส รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีเสนอแนะให้ยกเลิกมาตรการจำกัดทางเศรษฐกิจและสังคมที่เหลืออยู่ทั้งหมด ทันทีที่ทุกคนได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 โดยน่าจะเกิดขึ้นได้ในเดือนสิงหาคม นายมาสให้สัมภาษณ์สื่อวันนี้ว่า ทันทีที่ทุกคนในเยอรมนีได้รับวัคซีน ก็ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายหรือการเมืองที่จะใช้มาตรการจำกัดต่อไปอีก คาดว่าเรื่องนี้น่าจะเกิดขึ้นได้ในเดือนสิงหาคม นายมาสเป็นรัฐมนตรีเยอรมนีคนแรกที่เรียกร้องให้รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการจำกัดให้แก่ผู้ฉีดวัคซีนแล้ว รวมทั้งอนุญาตให้เข้าโรงภาพยนตร์หรือนั่งรับประทานอาหารในร้านได้ แต่รัฐมนตรีหลายคนคัดค้านการให้สิทธิพิเศษดังกล่าว รอยเตอร์อ้างข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขเยอรมนีว่า มีผู้ฉีดวัคซีน 1 เข็มแล้วร้อยละ 56.5 และฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วเกือบร้อยละ 39 ขณะที่นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลเคยกล่าวว่า อยากให้ทุกคนในประเทศฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มภายในวันที่ 21 กันยายน.-สำนักข่าวไทย

รัสเซียหนุนแผนอาเซียนยุติวิกฤตเมียนมา

รัสเซียสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อความพยายามทางการทูตของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ที่จะหาทางยุติวิกฤตเมียนมา และได้แสดงท่าทีเดียวกันนี้ต่อผู้นำกองทัพเมียนมาแล้ว

1 63 64 65 66 67 142
...