8 กรกฎาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stop Fake (ยูเครน)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด
บทสรุป:
- เป็นการทดลองกับผู้รับวัคซีนที่ติดเชื้อโควิด 19 อยู่แล้ว จึงไม่อาจสรุปได้ว่าวัคซีน Pfizer ทำให้ติดโควิด 19 สายพันธุ์เบต้าได้มากกว่าคนทั่วไป
- ผู้วิจัยย้ำว่าการฉีดวัคซีนเป็นการป้องกันโควิด 19 กลายพันธุ์ที่ดีที่สุด
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีคลิปวิดีโอสร้างความเข้าใจผิดต่อประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 เผยแพร่ในประเทศยูเครน โดยอ้างว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer จะมีโอกาสติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เบต้าหรือแอฟริกาใต้ (B.1.351) มากกว่าคนที่ไม่ฉีดวัคซีนถึง 8 เท่า
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
คลิปดังกล่าวอ้างงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Tel Aviv University ที่ทำการตรวจสอบประสิทธิผลในการป้องกันโควิด 19 กลายพันธุ์ของวัคซีนโควิด 19
ทีมวิจัยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 400 คน โดยกลุ่มแรกคือผู้ติดเชื้อโควิด 19 หลังจากรับวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer ครบทั้ง 2 โดส ส่วนอีกกลุ่มคือผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน
ผลวิจัยพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เบต้า (B.1.351) ประมาณ 1% จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยพบในกลุ่มผู้รับวัคซีนของ Pfizer ครบทั้ง 2 โดสถึง 8 คน แต่ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับวัคซีน มีผู้ติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เบต้าเพียงแค่คนเดียว
ทีมวิจัยตั้งข้อเสนอแนะว่าวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer อาจมีประสิทธิผลลดลงเมื่อผู้รับวัคซีนติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เบต้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 ไปแล้ว 7 ถึง 13 วัน จึงมีความเป็นไปได้ว่าไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์เบต้า อาจทำให้ผู้รับวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer สามารถติดเชื้อโควิด 19 ได้อีก
อย่างไรก็ดี งานวิจัยชิ้นนี้เป็นเผยแพร่ก่อนการตีพิมพ์และยังไม่ผ่านการประเมินความถูกต้องทางวิชาการ (Pre-Print) และไม่สามารถใช้อ้างอิงในการปฏิบัติการทางคลินิก ซึ่งผู้วิจัยย้ำว่าผลวิจัยไม่สามารถประเมินประสิทธิผลในการป้องกันโรคของวัคซีนโควิด 19 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างทุกคนต่างติดเชื้อโควิด 19 อยู่ก่อนแล้ว วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือการเน้นถึงความสำคัญของการติดตามการกลายพันธุ์ของไวรัส โดยชี้ว่าการฉีดวัคซีน คือวิธีที่ดีสุดในการยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์เบต้า และยังเป็นการป้องกันการเกิดไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่ๆ ในอนาคตอีกด้วย
ดร.แอนโทนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID) กล่าวว่าผลวิจัยชิ้นนี้ไม่ใช่สิ่งบ่งชี้ว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้วจะมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เบต้ามากขึ้น
โรเชล วาเลนสกี ผู้อำนวยการหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) กล่าวว่าการติดเชื้อหลังจากฉีดวัคซีนแล้วเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่อาการจะไม่รุนแรงเท่าผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน การติดเชื้อหลังการรับวัคซีนยังเป็นเรื่องที่ต้องวิจัยต่อไป ดังนั้นการป้องกันตัวด้านสุขอนามัยจึงยังเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในเวลานี้
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter