ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก จริงหรือ?

06 ธันวาคม 2567
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างรายงานจากการประชุมขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ที่พบว่าการฉีดวัคซีน HPV เพิ่มความเสี่ยงการป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มคนที่มีเชื้อไวรัส HPV ผ่านทางเพศสัมพันธ์มาแล้ว


บทสรุป :

  1. เป็นการนำข้อมูลจากการทดลองทางคลินิกที่มีปัญหาด้านความไม่สมดุลของกลุ่มตัวอย่างมาสร้างความเข้าใจผิด
  2. สาเหตุที่พบอาสาสมัครกลุ่มฉีดวัคซีนเสี่ยงเป็นเนื้องอกในเยื่อบุโพรงมดลูกมากกว่า เพราะเป็นกลุ่มที่มีประวัติและมีปัจจัยเสี่ยงมะเร็งมากกว่า
  3. ผลสำรวจหลังวัคซีน HPV ใช้งายนจริง พบว่าลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกได้อย่างชัดเจน

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศพบว่า บุคคลที่อยู่ในคลิปวิดีโอคือ ปีแอร์ คอรี แพทย์ผู้ก่อตั้ง Front Line COVID-19 Critical Care Alliance องค์กรต่อต้านการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยปัจจุบัน ปีแอร์ คอรี ถูกองค์กรแพทยสภา American Board of Internal Medicine เพิกถอนใบอนุญาต ทั้งในฐานะแพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยวิกฤต แพทย์โรคปอด และอายุรแพทย์ จากข้อหาเผยแพร่ข้อมูลเท็จเรื่องประโยชน์ของการใช้ยาฆ่าพยาธิ Ivermectin รักษาผู้ป่วยโควิด-19


ข้อสงสัยต่อผลทดลองวัคซีน HPV ทำให้ผู้มีเชื้อ HPV เสี่ยงมะเร็งมากขึ้น

ข้อมูลที่ ปีแอร์ คอรี กล่าวอ้าง มาจากเอกสารการประชุมของคณะกรรมการที่ปรึกษาวัคซีนและผลิตภัณฑ์ชีวภาพ (VRBPAC) ขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ระหว่างการตรวจสอบผลการทดลองทางคลินิกของวัคซีน Gardasil วัคซีน HPV ที่พัฒนาโดยบริษัท Merck

คณะกรรมการพบว่าในการทดลองทางคลินิกกลุ่ม FUTURE I clinical trial อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนมีความเสี่ยงเกิดเนื้องอกในเยื่อบุโพรงมดลูกมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน

เนื้องอกในเยื่อบุโพรงมดลูก (CIN) ระยะก่อนมะเร็งปากมดลูก

สตรีที่ได้รับเชื้อไวรัส HPV ผ่านทางเพศสัมพันธ์ ส่วนใหญ่ร่างกายจะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสออกจากร่างกายได้ประมาณ 90% ภายในเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี แต่หากยังมีเชื้อหลงเหลืออยู่ในร่างกาย อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุปากมดลูก กลายเป็นเนื้องอกในเยื่อบุโพรงมดลูก (CIN) ซึ่งถือเป็นระยะก่อนมะเร็งปากมดลูก และอาจพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูกภายใน 10 ปี โดยเนื้องอกในเยื่อบุโพรงมดลูกแบ่งได้เป็น 3 ระยะ หากตรวจพบเร็วผ่านการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การรักษาจะมีโอกาสสำเร็จสูง

ปัญหาความไม่สมดุลของกลุ่มตัวอย่างของวัคซีน Gardasil

ข้อมูลที่พบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนเสี่ยงเกิดเนื้องอกในเยื่อบุโพรงมดลูกมากกว่าผู้ไม่ได้รับวัคซีน ทำให้ศูนย์วิจัยและประเมินผลทางชีววิทยา (CBER) ของ FDA ทำการตรวจสอบกระบวนการทดลองทางคลินิกกลุ่ม FUTURE I clinical trial ของวัคซีน Gardasil เพื่อตรวจสอบว่า มีปัญหาด้านความไม่สมดุลของกลุ่มตัวอย่างระหว่างการทดลองทางคลินิกหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อการทดลองทางคลินิกอย่างมาก

CBER นำปัจจัยต่าง ๆ มาวิเคราะห์อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งสถานะการสูบบุหรี่ ประวัติช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ประวัติการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศ ประวัติการตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูก ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกทั้งหมด

โดยพบว่ากลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีน มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกจากปัจจัยต่าง ๆ สูงกว่าอาสาสมัครที่ไม่ได้รับวัคซีนอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการทดลองทางคลินิกกลุ่ม FUTURE I clinical trial จึงพบว่ากลุ่มที่ฉีดวัคซีนมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนนั่นเอง

นอกจากนี้ ข้อมูลจากการทดลองทางคลินิกกลุ่ม FUTURE II clinical trial ซึ่งไม่มีปัญหาความไม่สมดุลของกลุ่มตัวอย่าง ก็ไม่พบว่าอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีน มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนอีกด้วย

ประสิทธิผลของวัคซีน HPV หลังใช้งานจริง

มีการสำรวจความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกในประเทศสก็อตแลนด์กับกลุ่มตัวอย่างผู้หญิง 430,000 ราย ที่เกิดระหว่างปี 1988 และ 1996 โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ฉีดวัคซีน HPV ก่อนอายุ 14 ปี จำนวน 40,000 คน ฉีดวัคซีน HPV หลังจากอายุ 14 ปีจำนวน 124,000 คน ส่วนที่เหลือคือกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน HPV

ทีมวิจัยพบว่า ในกลุ่มที่ฉีดวัคซีน HPV ก่อนอายุ 14 ปี ไม่พบใครที่ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกเลย

ส่วนกลุ่มที่ฉีดวัคซีน HPV หลังจากอายุ 14 ปี พบอัตราการป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกที่ 3.2 รายต่อประชากร 100,000 ราย ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน HPV พบอัตราการป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกที่ 8.4 รายต่อประชากร 100,000 ราย

ข้อมูลอ้างอิง :

https://science.feedback.org/review/claim-hpv-vaccine-increases-risk-cervical-cancer-misleads-cherry-picking-data-fda-document/
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=947

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เครื่องบินภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ

เที่ยวบิน 777-300ER สายการบิน Aeroflot ขึ้นจากภูเก็ตไปมอสโก เตรียมลงสุวรรณภูมิ หลังบินวนกลางทะเลอันดามันหลายชั่วโมง จากปัญหาระบบลงจอดขัดข้อง

ไข้หวัดใหญ่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ระบาดในสหรัฐ-เสียชีวิตแล้ว 13,000 ราย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี รายงานว่า พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในฤดูกาลนี้อย่างน้อย 24 ล้านคนแล้วทั่วสหรัฐ

ตัดไฟเมียนมา

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันปลดพนักงานแล้วกว่าร้อยคน

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันออนไลน์และกลุ่มสแกมเมอร์ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ปลดพนักงานแล้วกว่า 100 คน เนื่องจากขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ทำให้พนักงานทยอยเดินทางออกจากท่าขี้เหล็ก กลับมาทางด่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เข้มทางบก แก๊งลักลอบเข้าเมือง หนีไปทางน้ำ

หลังมาตรการ Seal Stop Safe ชายแดนของรัฐบาล ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 30 มกราคม เพื่อเข้มงวด ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดตามเส้นทางต่างๆ พบขบวนการลักลอบเข้าเมืองด้านชายแดนกาญจนบุรี ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองพญาตองซู ของเมียนมา เลี่ยงไปใช้เส้นทางน้ำแทน

ทองไทยใกล้เป้าหมายบาทละ 5 หมื่น

ทองไทยเข้าภาวะกระทิง เปลี่ยนแปลงคึกคักวันนี้ (11 ก.พ.) ปรับเปลี่ยน 27 รอบ เข้าใกล้ 48,000 บาทต่อบาททองคำ มองเป้าหมายถัดไปที่ 50,000 บาทต่อบาททองคำ ด้านสภาทองคำโลก ชี้การซื้อทองเป็นการลงทุนมากกว่าการใช้เป็นเครื่องประดับ ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นตลาดทองคำที่แข็งแกร่งในปี 67 สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก