สธ.ยันไม่มีวัคซีนไฟเซอร์ให้วีไอพี
สธ.ยืนยันฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้บุคลากรการแพทย์ด่านหน้า ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงก่อน ไม่มีวัคซีนวีไอพี
สธ.ยืนยันฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้บุคลากรการแพทย์ด่านหน้า ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงก่อน ไม่มีวัคซีนวีไอพี
กรุงเทพฯ 25 ก.ค.- สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนระบุว่า วัคซีนของจีนมีบทบาทสำคัญในโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของไทย โดยมีหลายล้านคนในไทยฉีดวัคซีนเข็มแรกของซิโนแวกหรือซิโนฟาร์ม เว็บไซต์ซินหัวรายงานว่า ซิโนแวกเป็นวัคซีนต้านโควิดขนานแรกที่เข้ามาในไทย ช่วยให้ไทยเริ่มโครงการฉีดวัคซีนระดับชาติ และเป็นวัคซีนหลักในโครงการนี้ ข้อมูลของสถานทูตจีนในไทยเผยว่า จีนจัดส่งวัคซีนให้ไทยแล้ว 17 ลอต รวมทั้งหมด 17 ล้าน 5 แสนโดสจนถึงวันเสาร์ นอกจากนี้จีนยังจัดส่งกว่า 500 ล้านโดสให้แก่กว่า 100 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ คิดเป็น 1 ใน 6 ของวัคซีนที่จัดสรรทั่วโลก ผลการศึกษาหลายชิ้นระบุว่า วัคซีนจีนมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อ การเข้าโรงพยาบาล การป่วยหนัก และการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุขไทยได้ศึกษาภาคสนามกับกลุ่มเสี่ยงสูงที่ฉีดวัคซีนซิโนแวกใน 3 พื้นที่ที่มีการระบาดหนักที่สุดพบว่า วัคซีนซิโนแวก 2 เข็มช่วยป้องกันได้ดีต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 และอาการปอดอักเสบ ทั้งจากไวรัสสายพันธุ์อัลฟาหรือเดลตา ซินหัวรายงานว่า วัคซีนจีนที่เข้าไทยลอตแรกในเดือนกุมภาพันธ์ช่วยสนับสนุนไทยในการรับมือกับการระบาดระลอก 2 ที่เริ่มขึ้นในกลางเดือนธันวาคม และระลอก 3 ที่เริ่มขึ้นในต้นเดือนเมษายน แผนการฉีดวัคซีนเดิมของไทยซึ่งมุ่งเน้นที่วัคซีนแอสตราเซนเนกาผลิตโดยสยามไบโอไซเอนซ์ในไทยประสบปัญหา ลอตแรกที่ผลิตในประเทศส่งมอบในเดือนมิถุนายน จนถึงขณะนี้ไทยอนุมัติวัคซีนเพื่อใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน […]
โฆษกกองทัพเอกราชคะฉิ่นหรือเคไอเอ (KIA) ในเมียนมาเผยว่า จีนได้จัดส่งวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กว่า 10,000 โดสมาให้เคไอเอตามที่ร้องขอ
ซิดนีย์ 24 ก.ค.- ชาวออสเตรเลียในนครซิดนีย์และอีกหลายเมืองออกมาชุมนุมตามท้องถนนในวันนี้ ประท้วงการใช้มาตรการล็อกดาวน์ จนเกิดการปะทะกับตำรวจ ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เพิ่มขึ้นในหลายเมือง ผู้ชุมนุมไม่สวมหน้ากากอนามัยเคลื่อนขบวนจากสวนสาธารณะวิกตอเรียปาร์คในนครซิดนีย์ไปยังศาลาว่าการเมือง ถือป้ายเรียกร้องเสรีภาพและความจริง ตำรวจและตำรวจปราบจลาจลเข้าจับกุมผู้ชุมนุมที่ขว้างปาสิ่งของใส่เจ้าหน้าที่ ตำรวจแถลงว่า สนับสนุนสิทธิการแสดงความเห็นอย่างเสรีและการชุมนุมอย่างสันติ แต่การชุมนุมครั้งนี้ไม่ได้รับอนุญาตและละเมิดคำสั่งสาธารณสุข รัฐนิวเซาท์เวลส์ที่มีนครซิดนีย์เป็นเมืองเอกมียอดติดเชื้อสูงสุดครั้งใหม่อีกครั้งที่ 163 คนในช่วง 24 ชั่วโมง ทางการใช้มาตรการล็อกดาวน์มา 4 สัปดาห์แล้ว ส่วนที่นครเมลเบิร์น เมืองเอกของรัฐวิกตอเรีย ผู้ชุมนุมไม่สวมหน้ากากอนามัยรวมตัวหน้ารัฐสภาของรัฐ ตะโกนเรียกร้องเสรีภาพ บางคนจุดพลุแฟลร์ที่เป็นพลุสัญญาณส่องสว่าง นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมที่เมืองแอดิเลด เมืองเอกของรัฐเซาท์ออสเตรเลียที่ใช้มาตรการล็อกดาวน์เช่นเดียวกัน ตำรวจเตือนจะจับกุมผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสันของออสเตรเลียกล่าววันนี้ว่า ขณะนี้สามารถฉีดวัคซีนได้สัปดาห์ละ 1 ล้านโดส เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการไปถึงภายในสิ้นปีนี้ หรืออาจจะบรรลุได้เร็วกว่านั้น จนถึงขณะนี้มีชาวออสเตรเลียวัย 16 ปีขึ้นไปฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วร้อยละ 15.4 รัฐบาลกลางจะจัดส่งวัคซีนของไฟเซอร์อีกหลายพันโดสไปให้นครซิดนีย์ เมืองที่มีคนมากที่สุดในประเทศ และขอให้คนวัยผู้ใหญ่ในเมืองนี้พิจารณาอย่างจริงจังเรื่องฉีดวัคซีนของแอสตราเซนเนกาแทนของไฟเซอร์ที่มีไม่มาก.-สำนักข่าวไทย
พนมเปญ 24 ก.ค.- เว็บไซต์สหภาพข่าวคาทอลิกเอเชียหรือยูซีเอนิวส์ ชี้ว่า มีสัญญาณเห็นชัดว่าการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในกัมพูชากำลังให้ผล เพราะยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันลดลง แต่เศรษฐกิจยังคงเสียหายหนัก ยูซีเอนิวส์ระบุว่า ยอดติดเชื้อเฉลี่ยช่วง 7 วันที่ผ่านมาในกัมพูชาอยู่ที่วันละ 856 คน ลดลงจากที่สูงสุดที่ 960 คนเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่รายวันยังคงต่ำกว่า 900 คน แต่มีสัญญาณว่าระบบสาธารณสุขของประเทศยังคงตึงตัว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเตือนว่า อาจต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง หากยังมีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมการแพร่ระบาด โดยเฉพาะธุรกิจประเภทบาร์ ซึ่งหมายถึงกรณีสตรีจีน 2 คนติดสินบนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหนีการกักโรคไปเที่ยวไนต์คลับในกรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ทำให้กัมพูชาเกิดการระบาดระลอก 3 และไวรัสสายพันธุ์อัลฟาแพร่ในวงกว้าง ยอดติดเชื้อสะสมเพิ่มขึ้นจากที่มีไม่ถึง 500 คน เป็นมากถึง 71,244 คน และมีผู้เสียชีวิต 1,222 คน ขณะนี้พรมแดนประเทศกำลังเผชิญปัญหาแรงงานกัมพูชาติดเชื้อเดินทางกลับมาจากไทย หลายคนติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่แพร่ได้ง่าย ด้านกระทรวงการวางแผนกัมพูชาเผยว่า โรคโควิด-19 ทำให้แรงงานนอกระบบกว่า 6 ล้านคนตกงานหรือเสี่ยงตกงาน ภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือการท่องเที่ยว […]
แนชวิลล์ 24 ก.ค.- นักจัดรายการวิทยุหัวอนุรักษ์นิยมในรัฐเทนเนสซีของสหรัฐที่เคยแสดงความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เปลี่ยนท่าทีหลังจากติดเชื้อและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เว็บไซต์ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า นายฟิลิป วาเลนไทน์ วัย 61 ปี โพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์หลายแห่งมาตลอดหลายเดือน บอกผู้ฟังรายการว่าไม่มีความเสี่ยงติดเชื้อ จึงไม่ควรฉีดวัคซีน อย่างไรก็ดี ครอบครัวได้โพสต์ในเฟซบุ๊กของเขาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมแจ้งว่า เขาติดเชื้อมาได้สัปดาห์เศษ ขณะนี้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากอาการหนักมาก ทั้งอาการปอดอักเสบจากโรคโควิด-19 และอาการข้างเคียง ครอบครัวย้ำว่า วาเลนไทน์ไม่เคยคัดค้านการฉีดวัคซีน แต่เสียใจที่ไม่ได้สนับสนุนการฉีดวัคซีนอย่างแข็งขัน และจะหาทางสนับสนุนอย่างจริงจัง ทันทีที่สามารถกลับมาจัดรายการได้อีกครั้ง ขอให้ผู้ฟังให้กำลังใจเขาต่อไป และโปรดไปรับการฉีดวัคซีน ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า วาเลนไทน์เขียนในบล็อกส่วนตัวเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 ว่า เขามีโอกาสติดเชื้อค่อนข้างน้อย ส่วนโอกาสที่จะเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 อาจมีไม่ถึงร้อยละ 1 หากเขาตัดสินใจไม่ฉีดวัคซีนก็ไม่ทำให้ชีวิตคนอื่นตกอยู่ในอันตราย เพราะวัคซีนมีประสิทธิภาพมากสูงมาก จึงไม่มีทางที่ผู้ฉีดวัคซีนแล้วจะติดเชื้อจากเขาได้ เขายืนยันด้วยว่า ไม่ได้เป็นนักต่อต้านวัคซีน แค่เป็นคนคิดอย่างมีเหตุผลเท่านั้น นักจัดรายการวิทยุรายนี้เคยบอกผู้ฟังว่า หากเคยติดเชื้อมาแล้วไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพราะมีภูมิต้านทานทางธรรมชาติ และคนที่เสี่ยงชีวิตจากโรคโควิด-19 เท่านั้นที่ควรฉีด สวนทางกับที่แพทย์แนะนำว่า ผู้เคยติดเชื้อมาแล้วควรต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ.-สำนักข่าวไทย
ทำเนียบขาวสหรัฐไม่ยอมเปิดเผยตัวเลขการติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ฉีดวัคซีนแล้ว หลังจากมีเจ้าหน้าที่มีผลตรวจหาเชื้อเป็นบวกเมื่อต้นสัปดาห์
24 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Check (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัตถุประสงค์ของการฉีดวัคซีนคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน แต่ละประเทศมีนโยบายเกี่ยวกับวัคซีนแตกต่างกันไป และไม่ใช่ทุกประเทศที่บังคับให้ประชาชนทุกคนต้องฉีดวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จผ่านอินโฟกราฟฟิคในประเทศยูเครน โดยเนื้อหาอ้างว่าเหตุผลที่แต่ละประเทศบังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีน เพื่อสร้างกำไรให้กับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนและผู้ที่เกี่ยวข้อง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แม้ว่าการผลิตวัคซีนจะสร้างรายได้มหาศาล ทั้งจากผู้เข้ารับการวัคซีนหรือผ่านทางเงินภาษีที่จ่ายโดยรัฐบาล แต่วัตถุประสงค์หลักของการรณรงค์ฉีดวัคซีน คือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน และไม่ใช่ทุกประเทศที่มีนโยบายบังคับให้ประชาชนต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนทุกคน ในแต่ละประเทศจะมีนโยบายเกี่ยวกับวัคซีนแตกต่างกันไป รายงานของสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID) ระบุว่า ทุกรัฐในสหรัฐฯ และบางรัฐในประเทศแคนาดามีข้อกำหนดให้เด็กทุกคนต้องเข้ารับวัคซีนก่อนเข้าเรียน ในหลายรัฐมีการอนุโลมให้สามารถปฎิเสธวัคซีนด้วยเหตุผลทางการแพทย์หรือเหตุผลทางศาสนาและความเชื่ออื่นๆ มีเพียงรัฐมิสซิสซิปปีและเวสต์ เวอร์จิเนียเท่านั้น ที่การปฎิเสธวัคซีนต้องเป็นไปตามเหตุผลทางการแพทย์เท่านั้น แม้เด็กอเมริกันส่วนใหญ่จะได้รับวัคซีน แต่มีเยาวชนสหรัฐฯ ถึง 10% ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนด้วยเหตุผลต่างๆ ประเทศออสเตรเลียไม่มีนโยบายบังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีน แต่มีนโยบายช่วยเหลือการเงินแก่ประชาชนที่ฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นอัตราการฉีดวัคซีนในประเทศ โดยผู้ปกครองจะได้รับเงินช่วยเหลือโดยไม่หักภาษีจำนวน 129 ดอลลาร์ออสเตรเลีย เมื่อลูกๆ ของพวกเขาเข้ารับวัคซีนในช่วงวัย 18 ถึง 24 เดือน และจะได้รับเงินช่วยเหลืออีกครั้งเมื่อเด็กเข้ารับวัคซีนอีกครั้งในช่วงวัย […]
บก.ทท. แจ้งผลสอบ เอกสารขอสนับสนุนวัคซีนโมเดอร์นาจริง ชี้ทำโดยพลการ ระบุไม่ได้รับมอบจากทาง ผบ.ทสส. จึงไม่ถือเป็นหนังสือที่ถูกต้อง พร้อมพิจารณาโทษทางวินัยกำลังพลดังกล่าว
23 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Factcheck (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นระบุให้ผู้รับวัคซีนโควิด 19 ควรเว้นจากบริจาคโลหิตเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบอาการข้างเคียงและยืนยันความพร้อมก่อนการบริจาคโลหิต ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าประเทศญี่ปุ่นไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ฮิโตชิ ฮัตตะ โฆษกสถานทูตญี่ปุ่นประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อธิบายต่อ Factcheck ว่า ญี่ปุ่นไม่ได้ปฎิเสธการรับบริจาคโลดหิตจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 แต่ขอให้ระงับการบริจาคเลือดในระหว่างที่รัฐบาลกำลังสรุปแนวทางการบริจาคโลหิตสำหรับผู้รับวัคซีนโควิด 19 ข้อเสมอแนะจากกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นระบุว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ไม่ควรบริจาคโลหิตเป็นเวลา 48 ชั่วโมง โดยฮิโตชิ ฮัตตะย้ำว่ามาตรการดังกล่าวไม่ใช่เพราะสงสัยความปลอดภัยของวัคซีน แต่ต้องการให้ผู้รับวัคซีนตรวจสอบอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเช่นอาการปวดหัวหรือเป็นไข้ เพื่อยืนยันความพร้อมก่อนการบริจาคโลหิต ดร.จูลี แคทซ์ คาร์ป ผู้อำนวยการแผนกเวชศาสตร์บริการโลหิต โรงพยาบาล Thomas Jefferson […]
22 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Aos Fatos (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: สาเหตุที่ผู้ว่าการรัฐเซา เปาโลไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ก่อนที่วัคซีน Pfizer จะนำเข้าในประเทศ เนื่องจากเพิ่งเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และต้องรอเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนจะฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้ มีภาพถ่ายยืนยันว่าผู้ว่าการรัฐเซา เปาโลเข้ารับการฉีดวัคซีน Sinovac มาแล้วจริงๆ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Facebook ในประเทศบราซิล โดยอ้างว่า ชูเอา โดเรีย ผู้ว่าการรัฐเซา เปาโล ไปรอต่อคิวเพื่อฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer ทั้งๆ ที่เคยบอกว่าจะไปฉีดวัคซีนของ Sinovac จนมีผู้นำข้อความดังกล่าวไปแชร์กว่าพันครั้ง ก่อนจะถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอมในเวลาต่อมา FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ประเทศบราซิลอนุมัติวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท […]
บอร์ด สมอ. ไฟเขียวมาตรฐานตู้เก็บวัคซีน เร่งเดินหน้าประกาศใช้ภายในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อให้โรงพยาบาลทั่วประเทศเตรียมนำไปใช้อ้างอิงในการจัดหา