ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สตาร์ตรถช่วงเช้า ควันออกท่อ บ่งบอกเครื่องยนต์สมบูรณ์ จริงหรือ ?

6 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์ว่า เมื่อสตาร์ตรถช่วงเช้า แล้วมีควันหรือน้ำ พุ่งออกมาจากท่อไอเสีย หมายความว่า เครื่องยนต์ยังสมบูรณ์อยู่นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ อธิบายว่า น้ำพุ่งออกมาจากท่อไอเสีย เมื่อสตาร์ตรถตอนเช้า หมายถึง ไอน้ำที่เกิดจากการสันดาปของเครื่องยนต์ที่เย็นจัด บวกกับอากาศที่เครื่องยนต์สูบเข้าไปมีอุณหภูมิต่ำ จนทำให้หลังจากสันดาปเกิดไอน้ำออกมาจากปลายท่อไอเสียรถ แต่หากมีน้ำหยดออกมามากเกินไป ไม่ว่าจะในช่วงเวลาอากาศเย็นหรือร้อน ร่วมกับมีน้ำในหม้อน้ำหล่อเย็นหาย หรือเครื่องยนต์รถมีอาการกระตุก หากพบว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าวให้รีบนำรถเข้าอู่เพื่อแก้ไขต่อไป อย่างไรก็ดี อาการน้ำหยดปลายท่อไอเสียก็ไม่ได้แปลว่าเครื่องยนต์อยู่ในสภาพสมบูรณ์ 100% เสมอไปเช่นกัน เพราะแม้ว่าเครื่องยนต์ที่ผ่านการใช้งานมาอย่างหนัก มีอาการเครื่องหลวม ก็อาจมีน้ำหยดจากปลายท่อได้ไม่ต่างกัน สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปเตือน ปูอัดทำจากกระดาษ-ไม่มีเนื้อสัตว์ จริงหรือ ?

5 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์คลิปพร้อมคำเตือนว่า ปูอัด ทำมาจากกระดาษ ห้ามกิน จะเกิดอันตราย ในขั้นตอนการผลิตไม่มีปู หรือเนื้อสัตว์เลย มีแต่แป้ง ผงชูรส และสารเคมีแต่งรสกลิ่นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.กนกรัตน์ ลิมปิโสภณ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายว่า คลิปที่แชร์มาเป็นกระบวนการผลิตปูอัดที่ได้มาตรฐาน ในคลิปที่เห็นมีก้อนสีขาว เรียกว่า ซูริมิ (surimi) หรือเนื้อปลาบด เป็นวัตถุดิบที่ใช้เตรียมขึ้นรูปในการผลิตปูอัด ซูริมิ (surimi)  คือ ผลิตภัณฑ์เนื้อปลาบดแช่แข็ง ผ่านกรรมวิธีนวดให้เข้ากันและเหนียว ทำเป็นก้อนขนาดใหญ่สีขาว จากนั้นจะนำไปแช่แข็ง (freezing) เพื่อเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความเหนียวยืดหยุ่นต่อไป ดังนั้น คลิปที่แชร์ว่าปูอัดทำจากกระดาษ ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ จึงไม่เป็นความจริง ไม่ควรแชร์ต่อ สัมภาษณ์เมื่อ : 30 มกราคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหารที่ผู้ป่วยโรคแพนิกควรเลือก-ควรเลี่ยง จริงหรือ ?

2 กุมภาพันธ์ 2567 บนโซเชียลแชร์บทความ อาหารกับผู้ป่วยแพนิก เช่น 4 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะทำให้อาการกำเริบ และ 6 อาหารที่ควรเลือกกิน เพื่อช่วยลดการเกิดโรคแพนิก บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 21 ธันวาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : BUHPINBG ? — พฤติกรรมทำลายความสัมพันธ์

3 กุมภาพันธ์ 2567 สิ่งนี้… พฤติกรรมยุคสังคมก้มหน้า ที่เสี่ยงต่อการทำลายทุกความสัมพันธ์ และสิ่งนี้… เป็นต้นต่อของปัญหาสุขภาพจิต ความแห้งแล้งทางอารมณ์ และโรคซึมเศร้า คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ : 17 มกราคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง : โดย จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สัญญาณและการป้องกันมะเร็งรังไข่

4 กุมภาพันธ์ 2567  มะเร็งรังไข่ อาการเป็นอย่างไร มีสัญญาณเตือนหรือไม่ และจะมีวิธีการป้องกันได้อย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 18 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ดื่มเบียร์ได้ประโยชน์ จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : ดื่มเบียร์ได้ประโยชน์ จริงหรือ ?

1 กุมภาพันธ์ 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์ประโยชน์ที่จะได้จากการดื่มเบียร์ มีตั้งแต่ ช่วยลดความดันโลหิต ป้องกันเบาหวาน ต้านความเครียด และช่วยทำให้อายุยืนได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.กฤษกมล ณ จอม อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ : 22 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต อันตรายของอาหารทอด อาหารมัน จริงหรือ ?

31 มกราคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์อันตรายจากของทอดของมัน ทั้งเตือนห้ามกินกากหมูและสาหร่ายทอดกรอบ และหม้อทอดไร้น้ำมัน ทำให้อาหารมีสารก่อมะเร็ง ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์ อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.อิทาวุธ สรรพวรสถิตย์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.กิตณา แมคึเน็น อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ กรรมการบริหารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ผศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.ธัญญารัตน์ จิญกาญจน์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.มลฤดี สุขประสารทรัพย์ อาจารย์หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check Factsheet : รู้จัก “น้ำมันเบรก”

30 มกราคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับน้ำมันเบรกว่า น้ำมันเบรกคืออะไร มีกี่รูปแบบ มีหน้าที่อย่างไร และควรดูแลรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 18 มกราคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 วิธีแก้ปัญหา อาการแพนิก จริงหรือ ?

29 มกราคม 2567 – ตามที่มีการแชร์แนะนำ 5 วิธีแก้ปัญหา อาการแพนิก คือ หาถุงมาครอบปากกับจมูกแล้วหายใจเข้าออกลึก ๆ ประคบท้องด้วยน้ำอุ่น ข้ามมื้อเย็น หลัก 5 อ. และกลั้นหายใจนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 21 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

โดนหลอกออนไลน์ แจ้งใครดี ฉบับปี 2567  | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

30 มกราคม 2567 พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์เกี่ยวกับวิธีการแจ้งความออนไลน์ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ ฉบับปี 2567 มาดูกันว่ามีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง ?  ปัจจุบันการแจ้งความออนไลน์ สามารถแจ้งความในคดีที่เกี่ยวกับการหลอกลวงที่ทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สิน  รวมถึงมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง  เช่น หลอกโอนเงิน กรรโชกทรัพย์ หลอกซื้อของไม่ได้ของ และตอนนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เปลี่ยนชื่อเว็บไซต์เป็น https://thaipoliceonline.go.th แล้ว เพื่อให้ประชาชนสามารถแยกแยะเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการกับมิจฉาชีพออกจากกันได้ แต่ขั้นตอนการแจ้งความยังคงเหมือนเดิม (ดูขั้นตอนการแจ้งความออนไลน์ ได้ที่นี่)  หากเคยลงทะเบียนไว้กับเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์เดิม สามารถใช้บัญชีเดิมในการแจ้งความออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องสมัครใหม่ ข้อดีของการแจ้งความออนไลน์ คือ ผู้เสียหายสามารถเข้าไปดูความคืบหน้าได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปสถานีตำรวจ แต่อย่างไรก็ตามหากคดีมีความคืบหน้า พนักงานสอบสวนจะมีการนัดผู้เสียหายให้เดินทางไปพบพนักงานสอบสวน เพื่อลงลายมือชื่อและให้รายละเอียดต่าง ๆ ต่อไป  นอกจากการแจ้งความออนไลน์แล้ว ตอนนี้ยังมีเบอร์สายด่วน 1441 ที่สามารถติดต่อแจ้งความหรือปรึกษาได้ 24 ชั่วโมง ช่องทางนี้จะมีพนักงานสอบสวนกรอกข้อมูลให้ทั้งหมด โดยที่ผู้เสียหายไม่ต้องดำเนินการเอง และสำหรับกรณีเร่งด่วนที่มีการโอนเงินออกไปแล้ว พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ได้ให้คำแนะนำว่า ให้ผู้เสียหายรีบโทรศัพท์ไปยังธนาคารที่เราใช้โอนเงินออกไป เพื่อยับยั้งเส้นทางการเงิน ก่อนที่มิจฉาชีพจะโอนเงินเหล่านั้นไปยังบัญชีอื่น หากดำเนินการเร็ว โอกาสที่จะยับยั้งเงินไว้ได้ทันก็สูงขึ้น ดังนั้นข้อสำคัญ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 8 ประโยชน์ของแก้วมังกร จริงหรือ ?

26 มกราคม 2567 – ตามที่มีการแชร์ว่า แก้วมังกร ผลไม้ของสายสุขภาพ มีประโยชน์อย่างน้อย 8 อย่าง เช่น เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อสู้โรคเรื้อรัง มีไฟเบอร์สูง มีพรีไบโอติก เสริมภูมิคุ้มกัน อุดมด้วยธาตุเหล็ก บำรุงหัวใจ และบำรุงผิวนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ : 3 มกราคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : ZIPNO SECHEM ? — ธุรกิจความโลภ ภัยร้ายของคนอยากรวย !

27 มกราคม 2567 สิ่งนี้… เป็นภัยการหลอกลวงระดมเงินจากประชาชนที่ทำกันเป็นเครือข่าย และสิ่งนี้… เคยเป็นคดีมาแล้วกว่า 138 คดี สร้างความเสียหายกว่า 52,000 ล้านบาทในประเทศไทย คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ คำนี้คือคำว่า  PONZI SCHEME หมายถึง แชร์ลูกโซ่ หลอกล่อเพื่อให้ผู้ลงทุนติดกับดัก โดยใช้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินทุน ไปหลอกชักชวนกันมาลงทุนมากขึ้น สัมภาษณ์เมื่อ : 28 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

1 19 20 21 22 23 201
...