ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความว่ามีการค้นพบปลาที่มีใบหน้าเหมือนมนุษย์นั้น
บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ
เป็นภาพที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ (เอไอ-ปัญญาประดิษฐ์) และไม่เคยมีหลักฐานการค้นพบปลาชนิดดังกล่าว
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factly.in ได้ตรวจสอบและเผยแพร่เมื่อ 2 ก.พ. 2567 ยืนยันว่า ไม่มีรายงานการค้นพบปลาดังกล่าว และทะเลสาบที่อ้างว่าชื่อ Samsara ก็ไม่มีอยู่จริง
ขณะที่ sportskeeda ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อ 22 ม.ค. 2567 ก็ยืนยันในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้ หากมีการค้นพบดังกล่าว จะต้องมีการรายงานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก แต่กลับไม่พบการรายงานข่าวอย่างกว้างขวางแต่อย่างใด และปลา Homo Piscis ที่กล่าวอ้างก็ไม่อยู่จริงแต่อย่างใด
[เว็บตรวจสอบข้อเท็จจริง] https://factly.in/an-ai-generated-video-of-a-human-faced-fish-is-being-shared-as-real/
https://www.sportskeeda.com/pop-culture/fact-check-is-homo-piscis-fish-real-fake-story-behind-human-faced-fish-explored
ขณะที่ภาพประกอบในคลิปทั้งหมดนั้น ตรวจสอบย้อนรอยภาพ พบว่า มาจากช่อง YouTube ชื่อ Headtap Videos ซึ่งระบุคำอธิบายช่องว่าเป็น “การทดลองในด้านวิดีโอและกราฟิก” (Experiements in video and Graphics) ซึ่งมีการสร้างภาพกราฟิกเหตุการณ์เหนือธรรมชาติต่าง ๆ หลายคลิป ซึ่งเว็บไซต์ factly.in ยังได้ตรวจสอบพบว่า มีโอกาสสูงที่จะเป็นภาพที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์เอไอ
[ช่อง YouTube Headtap] https://www.youtube.com/watch?v=1e4G6d50ilA
ดังนั้น ที่อ้างว่าพบปลาชนิดใหม่ มีใบหน้าเหมือนคนนั้น คลิปและข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นความจริง ไม่ควรแชร์ต่อ
20 กุมภาพันธ์ 2567
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
สำนักข่าวไทย อสมท
ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter