ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังมิจฉาชีพส่งที่ชาร์จแบตดูดเงินอ้างชื่อ SCB จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ระวังมิจฉาชีพส่งที่ชาร์จแบตดูดเงินอ้างชื่อ SCB นั้น บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ อาจทำให้เข้าใจผิดและตื่นตระหนก ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ SCB ยืนยัน เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง และยังไม่เคยมีกรณีลูกค้าถูกดูดเงินจากการใช้พาวเวอร์แบงก์ สำหรับภาพที่แชร์กันนั้น เป็น Wireless Charger ซึ่งเป็นของพรีเมียมที่ธนาคารได้มอบให้กับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ตามเงื่อนไขในช่วงของการจัดโปรโมชัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้จริง ไม่ใช่อุปกรณ์ขโมยข้อมูลหรือดูดเงินแต่อย่างใด ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ข้อความที่แชร์กันนั้น กรณีดังกล่าว เป็นไปได้ยาก ที่จะถูกดูดเงินทันทีที่เสียบอุปกรณ์ เนื่องจากการที่เงินจะออกจากบัญชีธนาคารบนมือถือได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการอย่างน้อยคือการ กดโอนเงินออกไปเอง หรือการถูกหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อเข้าควบคุมเครื่อง รวมทั้งถูกหลอกให้กดรหัส และสแกนใบหน้า ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่เสียบอุปกรณ์แล้วจะดูดเงินทันที ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ มีการออกแบบระบบตัดการเชื่อมต่อข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก เมื่อเสียบชาร์จแล้ว จะมีกล่องข้อความขึ้นมาสอบถามว่าต้องการจะเชื่อมต่อถ่ายโอนข้อมูลหรือไม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถกดตอบ ไม่ และใช้เพียงเฉพาะการถ่ายโอนกระแสไฟฟ้าอย่างเดียว ด้าน พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (บช.สอท.) ให้ข้อมูลกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ว่า ไม่เคยได้รับรายงานการแจ้งความการโดนดูดเงินด้วยอุปกรณ์ชาร์จพาวเวอร์แบงก์ อย่างที่แชร์กันแต่อย่างใด  พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ยังกล่าวถึงกรณีที่เป็นข่าวที่ทำให้เข้าใจว่า โดนดูดเงิน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนมิจฉาชีพปลอมจดหมายสรรพากร หลอกยืนยันตัวตน จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนมิจฉาชีพปลอมจดหมายสรรพากร หลอกยืนยันตัวตน นั้น 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เป็นจดหมายจริงของกรมสรรพากร 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เนื้อหาดังกล่าวเป็นเนื้อหาเดียวกับที่เผยแพร่บน เว็บไซต์ และ เพจเฟซบุ๊ก ของกรมสรรพากร โดยเป็นการประชาสัมพันธ์ช่องทางการยืนยันตัวตนเพื่อยื่นแบบเสียภาษีออนไลน์ และไม่มีองค์ประกอบที่ถือเป็นความเสี่ยงจากการปลอมแปลงของมิจฉาชีพ ทั้ง Qr code หรือ Link อย่างไรก็ตามศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้สอบถามไปยังผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีบางท่าน ก็ได้รับจดหมายเช่นเดียวกัน ดังนั้น จดหมายดังกล่าวจึงไม่สามารถตัดสินได้ว่า ถูกส่งมาจากมิจฉาชีพ จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ก่อนหน้านี้เคยมีจดหมายจริงจากหลายองค์กรถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นมิจฉาชีพ ทั้ง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ไปรษณีย์ไทย ใบสั่งจราจร แบบสำรวจของศาลปกครอง ดังนั้น ควรตรวจสอบความถูกต้องจากหน่วยงานต้นทางก่อนทุกครั้ง ก่อนส่งต่อข้อมูล 2 มีนาคม 2567ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ ข้อความที่แชร์กัน ใครที่ได้รับจดหมายจากกรมสรรพากรให้ยืนยันตัวตนด้วยดิจิทัล ไอดี ตั้งสติอย่าทำตาม เป็นจดหมายจากมิจฉาชีพที่ทำได้เสมือนจริงว่ามาจากสรรพากร

ชัวร์ก่อนแชร์ : 8 สัญญาณเตือนมะเร็งปากมดลูก จริงหรือ ?

29 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์ 8 สัญญาณเตือน มะเร็งปากมดลูก มีตั้งแต่น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ ปัสสาวะไม่ออก ประจำเดือนมาไม่ปกติ และมีอาการปวดท้องน้อยนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 8 อาการเตือน มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ หากรู้จักวิธีการป้องกันตนเอง และหมั่นไปตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี (HPV) สัมภาษณ์เมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวัง QR CODE ในจดหมายราชการปลอม จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนระวัง QR CODE ในจดหมายราชการปลอม นั้น 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เป็น QR CODE จริง เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศาลปกครอง 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บนเว็บไซต์ของสำนักงานศาลปกครอง ยืนยันว่า เอกสารดังกล่าวเป็นของจริง โดยเป็นแบบสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศาลปกครอง ทั้งนี้วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 พบว่า สำนักงานศาลปกครองได้ปิดรับแบบสำรวจฯ เนื่องจากได้จำนวนครบที่ต้องการแล้ว 👉 จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ก่อนหน้านี้เคยมีจดหมายจริงจากหลายองค์กรถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นมิจฉาชีพ ทั้ง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ใบสั่งจราจร  ไปรษณีย์ไทย ธนาคารกสิกรไทย 👉 สำหรับกรณีที่ “สแกนแล้ว ถูกดูดเงินในบัญชีจนหมดบัญชี” ในทันทีนั้น มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก เพราะก่อนจะโอนเงินออกไปได้ จะต้องผ่านการสั่งงานและกดยืนยันหลายขั้นตอน ซึ่งคนร้ายมักจะใช้วิธีการ หลอกให้ติดตั้งแอป หลอกให้กรอกข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการโจรกรรมอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนมากกว่าการสแกนในคราวเดียว 👉 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีแก้ท้องผูก จริงหรือ ?

28 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับวิธีแก้อาการท้องผูก ทั้งการกดจุด กระตุ้นลำไส้ และให้ดื่มน้ำผึ้ง น้ำมะขาม ล้างอุจจาระตกค้าง ลำไส้สะอาดอย่างไม่น่าเชื่อ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : เตือนอุจจาระตกค้างจาก 5 สาเหตุ จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความในโซเชียลระบุว่า กินมากแต่ไม่ถ่าย ท้องแข็ง ไม่ตดนอนไม่หลับอึดอัดแน่น ลมในท้องจะเข้าแทรกดันไตกะบังลมให้ปวดออกหลัง ปล่อยไว้ปอดหัวใจทำงานผิดปกติ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : พญ. คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมอาจารย์ นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช หน่วยโรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ภาวะอุจจาระตกค้างไม่มีอยู่จริง หากจะมีเป็นอาการถ่ายไม่ออกนาน ๆ ซึ่งวิธีแก้ที่ตรงจุด คือการกินผักและสร้างวินัยในการขับถ่าย ส่วนข้อมูลที่ว่า กินมากแต่ไม่ถ่ายปล่อยไว้ปอดหัวใจทำงานผิดปกตินั้น ภาวะอุจจาระตกค้าง ไม่มีผลต่อการทำงานของปอดและหัวใจ” อันดับที่ 2 : สูตรอาหารดีท็อกซ์ ล้างลำไส้ จริงหรือ ? มีการแชร์ 4 สูตรน้ำดีท็อกซ์ล้างลำไส้ ทำติดกัน 3 วันน้ำหนักลด-พุงยุบ บทสรุป : จริงบางส่วน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ MotorCheck : อันตรายจากการใช้ยางที่เสื่อมสภาพ จริงหรือ ?

27 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้ออันตรายของการใช้ยางรถยนต์ที่เสื่อมสภาพ เช่น การยึดเกาะถนนที่ลดลง และ เสี่ยงแตกหรือระเบิดขณะใช้งานนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Q : ดอกยางเหลือน้อยจะทำให้การเกาะถนนลดลง ระยะเบรกเพิ่มขึ้น ?A : เมื่อยางรถยนต์เสื่อมสภาพ ก็จะทำให้ดอกยางนั้นลึกลงไปจนแทบไม่เหลือดอกยาง ทำให้ระยะของการเบรกนั้นผิดปกติจากที่เคยเป็น หรืออาจทำให้ระยะเบรกยาวขึ้น  Q : หากยางเก่ามาก เนื้อยางจะแข็งกระด้าง ขาดความนุ่มนวล ?A : ยางเก่าเก็บ หรือ ยางหมดอายุการใช้งาน เช่น แก้มยางมีรอยแตกลายงา บวม ฉีกขาด ดอกยางหมดสภาพ ส่งผลให้เนื้อยางแข็งกระด้าง ขาดความนุ่มนวล และไม่ดูดซับแรงกระแทกจากผิวจราจรที่ขรุขระ ระยะเบรกจะยาวขึ้น เพราะหน้ายางไม่เกาะถนนแล้ว Q : เสี่ยงยางแตกหรือระเบิดขณะใช้งาน ?A : ยางรถยนต์ระเบิดนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ รักษาโรคอ้วน

23 กุมภาพันธ์ 2667 – ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ อันตรายหรือไม่ ช่วยลดน้ำหนัก รักษาโรคอ้วนได้อย่างไร แล้วใครที่ไม่ควรทำ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.วรบุตร ทวีรุจจนะ ศัลยแพทย์ทางเดินอาหารและตับ แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด โรงพยาบาลธนบุรี หมายเหตุ: เนื้อหานี้นำเสนอข้อเท็จจริงตามกรอบมาตรฐานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์โดยได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลธนบุรี สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : AERG IABT ? — คอนเทนต์ยั่วโมโห สร้างกระแส !

24 กุมภาพันธ์ 2567 สิ่งนี้… คือรูปแบบคอนเทนต์ ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเสพติดความโมโห หรือดราม่าในปัจจุบัน และสิ่งนี้… ส่งผลกระทบการสร้างสัมพันธ์ทั้งในสังคมออนไลน์และในชีวิตจริง คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 12 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไรขนตา

25 กุมภาพันธ์ 2567 ไรขนตาคืออะไร อันตรายต่อดวงตาหรือไม่ และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ไรขนตา เป็นแมลงขนาดเล็กชนิดหนึ่งบนร่างกายมนุษย์ เรียกว่า Demodex มักพบทั่วไปตามรูขุมขนและโคนขนตามนุษย์ เมื่อไรขนตาอาศัยอยู่บริเวณขนตานาน ๆ อาจส่งผลเสียตามมา เช่น ตาอักเสบ ขนตาหลุดร่วง หรือเป็นตากุ้งยิง สาเหตุที่ทำให้ไรขนตาเพิ่มจำนวนมากขึ้น การป้องกัน สัมภาษณ์เมื่อ : 23 มกราคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินปลาแถมปรอท จริงหรือ ?

26 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์คลิปเตือนว่า เชยแล้ว “กินปลาแล้วฉลาด” เพราะสมัยนี้ “กินปลาแถมปรอท” น่าตกใจ ไทย อันดับ 9 ของโลกนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร​์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี อาจารย์หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “จากคลิปเป็นการนำข้อมูลมาจากหลายแหล่ง มีการตัดต่อคำพูดจนทำให้ผู้บริโภคตระหนกตกใจ” สารปรอท มักพบปนเปื้อนอยู่ใน อากาศ น้ำ และดิน สาเหตุมาจากการเผาขยะ โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสารปรอทสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายรูปฟอร์ม ได้แก่  Methyl Mercury และ Ethyl Mercury ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รวบรวมข้อมูลผลตรวจวิเคราะห์ปรอททั้งหมดในปลา ก็ไม่ได้พบค่าปนเปื้อนสูงกว่ามาตรฐาน แสดงว่าการรับประทานปลาของคนไทยยังคงมีความปลอดภัย สัมภาษณ์เมื่อ : 18 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ พบปลาหน้าเหมือนมนุษย์ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความว่ามีการค้นพบปลาที่มีใบหน้าเหมือนมนุษย์นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อเป็นภาพที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ (เอไอ-ปัญญาประดิษฐ์) และไม่เคยมีหลักฐานการค้นพบปลาชนิดดังกล่าว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factly.in ได้ตรวจสอบและเผยแพร่เมื่อ 2 ก.พ. 2567 ยืนยันว่า ไม่มีรายงานการค้นพบปลาดังกล่าว และทะเลสาบที่อ้างว่าชื่อ Samsara ก็ไม่มีอยู่จริง ขณะที่ sportskeeda ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อ 22 ม.ค. 2567 ก็ยืนยันในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ หากมีการค้นพบดังกล่าว จะต้องมีการรายงานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก แต่กลับไม่พบการรายงานข่าวอย่างกว้างขวางแต่อย่างใด และปลา Homo Piscis ที่กล่าวอ้างก็ไม่อยู่จริงแต่อย่างใด [เว็บตรวจสอบข้อเท็จจริง] https://factly.in/an-ai-generated-video-of-a-human-faced-fish-is-being-shared-as-real/https://www.sportskeeda.com/pop-culture/fact-check-is-homo-piscis-fish-real-fake-story-behind-human-faced-fish-explored ขณะที่ภาพประกอบในคลิปทั้งหมดนั้น ตรวจสอบย้อนรอยภาพ พบว่า มาจากช่อง YouTube ชื่อ Headtap Videos ซึ่งระบุคำอธิบายช่องว่าเป็น “การทดลองในด้านวิดีโอและกราฟิก” (Experiements in video and […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check Factsheet : รู้จัก และเข้าใจ “น้ำมันเครื่อง”

20 กุมภาพันธ์ 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องทำหน้าที่อะไร และมีให้เลือกใช้กี่รูปแบบ รวมทั้งควรดูแลรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ น้ำมันเครื่องคืออะไร ? น้ำมันเครื่อง คือ สารหล่อลื่นที่ป้องกันไม่ให้ชิ้นโลหะเสียดสีกันทำหน้าที่เป็นฟิล์มเคลือบชิ้นส่วนโลหะ สามารถช่วยลดการเสียดสีและการสึกหรอของวัตถุโลหะขณะที่มีการเคลื่อนไหวของเครื่องยนต์ อีกทั้งช่วยระบายความร้อนให้ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ป้องกันการเกิดสนิม คราบตะกรันเหนียวที่อาจทำให้เกิดการอุดตันภายในชิ้นส่วนเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้ 1. น้ำมันเครื่องจากปิโตรเลียม  เป็นน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ประมาณ 5,000 กิโลเมตร หรือไม่เกิน 6 เดือน  2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) เป็นน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้น้ำมันธรรมชาติเป็นฐานและเติมสารสังเคราะห์เพิ่ม เพื่อให้มีคุณสมบัติสูงขึ้น ใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กิโลเมตร หรือไม่เกิน 6 เดือน  3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ (Fully Synthetic) เป็นน้ำมันหล่อลื่นที่เป็นสารสังเคราะห์ดัดแปลง 100% มีสิ่งแปลกปลอมเจือปนน้อย ใช้งานได้ประมาณ 10,000-20,000 […]

1 17 18 19 20 21 201
...