ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามใช้หูฟังบลูทูทใกล้รางรถไฟ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความเตือน ห้ามใช้หูฟังบลูทูทใกล้รางรถไฟ นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อเหตุการณ์ในคลิป เป็นอุบัติเหตุไฟฟ้าช็อตที่ประเทศอินเดียไม่มีหลักฐานหรือการรายงานว่าเกี่ยวกับหูฟังบลูทูท ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เหตุการณ์ในคลิป มีการรายงานโดยหลายสื่อในประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ตรวจตั๋วรถไฟ โดยมีสายไฟตกมาพาดโดนศีรษะ ก่อนจะเกิดประกายไฟ และทำให้เขาล้มตกไปที่รางรถไฟ เหตุการณ์ในคลิป เกิดขึ้นที่ สถานีรถไฟขรรคปุระ รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย โดยสำนักข่าว India Today รายงานบทสัมภาษณ์ของ Mohammad Sujat Hashmi ผู้จัดการการรถไฟในท้องถิ่น กล่าวว่า “เราไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่มีสายไฟตกแต่งบางส่วนที่หล่นลงมา ทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวขึ้น” ซึ่งในรายงานไม่ได้กล่าวถึงอุปกรณ์หูฟังบลูทูทแต่อย่างใด สำนักข่าวรอยเตอร์ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเผยแพร่เมื่อ 17 มกราคม 2566 ยังระบุรายงานถ้อยคำของตัวแทนคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดไอออน (ICNIRP) ว่า ยังไม่พบรายงานว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของอุปกรณ์บลูทูท (RF EMFs) สามารถรบกวนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากรถไฟ (EMFs) ได้ และทั้งสองต่างอยู่ภายใต้เกณฑ์ที่ปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วัคซีนโควิด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ-อุดตัน จริงหรือ ?

11 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์เตือนว่า การฉีดวัคซีนโควิด มีอันตราย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดฝอย เซลล์ตายเพราะขาดออกซิเจนนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์  ตรวจสอบกับ รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ การฉีดวัคซีนโควิด มีอันตราย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จริงหรือ ? : มีรายงานพบว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 พบว่า มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แต่หากรวบรวมข้อมูลในการฉีดวัคซีนหลายชนิดตั้งแต่อดีต พบว่าวัคซีนมีผลข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบทั้งสิ้น โดยผลเสียเหล่านี้ถือว่าพบน้อยมาก ข้อดีของวัคซีนในการป้องกันอันตรายจากโรคโควิด-19 มีมากกว่าผลเสียเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ วัคซีนจะก่อมะเร็งใน 5 ปี และอาจจะก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจ เพราะเซลล์เม็ดเลือดขาวฆ่าเซลล์หลอดเลือดของตัวเอง จริงหรือ ? : ไม่จริง ยังไม่มีรายงานว่าวัคซีนโควิด-19 ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบ อุดตัน แต่อย่างใด วัคซีนชนิด mRNA จะทำให้หัวใจเกิดลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดฝอย จนเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนระวังใบแจ้งค่าไฟปลอม หลอกสแกนดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนระวังใบแจ้งค่าไฟปลอม หลอกสแกนดูดเงินหมดบัญชี นั้น📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เป็นเอกสารจริงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับเพจเฟซบุ๊กทางการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ยืนยันว่า เอกสารที่มีการแชร์กัน เป็นเอกสารจริง โดยเป็นใบแจ้งเตือนให้ชำระค่าไฟฟ้า ตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 มีระยะเวลาในการชำระค่าไฟ นับตั้งแต่วันที่จดหน่วย รวม 21 วัน หากเกินระยะเวลาที่กำหนด เจ้าหน้าที่สามารถเข้างดจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งจะมีการส่งใบแจ้งเตือนให้กับทางผู้ใช้ไฟก่อนจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้า 18 มีนาคม 2567 – เพจเฟซบุ๊กทางการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ได้ลงรูปประชาสัมพันธ์ ความแตกต่างระหว่าง ใบแจ้งค่าไฟฟ้า กับ ใบแจ้งเตือนค่าไฟฟ้าค้างชำระ ใบแจ้งค่าไฟฟ้าและใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี รูปแบบใหม่ ผู้ใช้ไฟฟ้าจะได้รับตามรอบการใช้ไฟฟ้า โดยมีระยะเวลาในการชำระเงินตามวันที่ระบุในใบแจ้งค่าไฟฟ้า 10 วัน ใบแจ้งเตือนค่าไฟฟ้าค้างชำระ เป็นการแจ้งเตือนกรณีมีค่าไฟฟ้าค้างชำระ จะจัดส่งให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าหลังจากวันครบกำหนดในใบแจ้งค่าไฟฟ้า มีกำหนดชำระเงิน 7 วัน 👉 จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ระวัง! หลอดเลือดสมองแตก หลังอาบน้ำ จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ข่าวเตือนว่า ชายหลอดเลือดสมองแตกหลังอาบน้ำเหตุเจออากาศเย็น ถูกส่งโรงพยาบาลพบความดันสูง หลอดเลือดสมองตีบอันตรายถึงชีวิต บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวริสา วงศ์ภาณุวิชญ์ นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ “ข่าวที่แชร์มายังบอกข้อมูลไม่ครบ ว่าคนไข้มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่ ตามปกติอาการหลอดเลือดสมองแตกสามารถเกิดได้ตลอดเวลาและไม่เกี่ยวกับการอาบน้ำแต่อย่างใด เนื่องจากอากาศที่ร้อนหรืออุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงมาก ๆ ร่างกายของเราจะมีกลไกการหดตัวหรือขยายตัวของหลอดเลือดที่ผิวหนัง เพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ซึ่งแทบไม่ส่งผลกับหลอดเลือดสมองเลย”

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาแฉะ

10 มีนาคม 2567 ตาแฉะเกิดจากสาเหตุใด เป็นสัญญาณของโรคทางตาหรือไม่ และจะต้องดูแลอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะตาแฉะ คือ อาการน้ำตาไหลบ่อย ขี้ตาเป็นเมือกเหนียว สีขุ่นขาวหรือมีสีเหลือง  สีของขี้ตาบ่งบอกภาวะของโรคได้ ภาวะตาแฉะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาการตาแฉะมักเริ่มที่ข้างใดข้างหนึ่งก่อน หากมีการรักษาความสะอาดดี ก็อาจจะหาย แต่บ่อยครั้งเรามักเผลอเอามือไปสัมผัสตาข้างที่เป็น มาโดนตาอีกข้างหนึ่งก็มักจะทำให้เป็น หรือทำให้ติดเชื้อสองตาได้ การรักษา หากคุณสงสัยว่าปัญหา ขี้ตา เยอะนั้นอาจจะเป็นเพราะโรคภูมิแพ้ ควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ เพื่อหาดูว่าคุณเป็นโรคภูมิแพ้ต่ออะไรกันแน่ หรืออาจจะบรรเทาอาการด้วยยาแก้แพ้ และใช้น้ำตาเทียม เพื่อช่วยลดความระคายเคืองต่อดวงตาลงไปได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 27 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อาการและการรักษาโรคพาร์กินสัน

7 มีนาคม 2567 บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ สัญญาณของโรคพาร์กินสัน มีอาการอะไรบ้าง และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สัญญาณเตือนโรคพาร์กินสัน อาการสั่น ส่วนมากเป็นสั่นข้างเดียว ควบคุมตนเองไม่ได้ หากอายุน้อยมักมีอาการเกร็ง เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น ก้าวสั้นแต่ก้าวถี่ เขียนหนังสือตัวเล็กลง การรักษาโรคพาร์กินสัน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ช่วยรักษาบรรเทาอาการไม่ให้แย่ลง โดยที่โรคพาร์กินสันจะมีความก้าวหน้าของโรคไปเรื่อย ๆ การรักษาสามารถรักษาด้วยยา และการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก เพื่อลดอาการสั่น แต่การผ่าตัดอาจมีข้อจำกัดซึ่งอาจไม่สามารถทำได้กับผู้ป่วยทุกราย สัมภาษณ์เมื่อ : 10 กรกฎาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST: 5 เรื่องฮิต ข้อห้ามการใช้งานโทรศัพท์มือถือ จริงหรือ ?

6 มีนาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับข้อห้ามการใช้โทรศัพท์มือถือ ทั้งห้ามดูในที่มืดเพราะเสี่ยงตาบอด และห้ามใช้ไฟฉายมือถือส่องตู้ไฟฟ้าบ้าน อันตรายถึงชีวิต ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ดูมือถือในที่มืดทำให้ตาบอด จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความเตือนว่า  ถ้าเปิดดูจอมือถือในที่มืดจะทำให้ตาบอดได้ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายแพทย์ นนท์ รัตนิน จักษุแพทย์ โรงพยาบาลจักษุรัตนิน และ นายแพทย์ สมเกียรติ อธิคมกุลชัย จักษุแพทย์ โรงพยาบาลเอกชัย “การเล่นมือถือในที่มืดไม่ได้ทำให้ตาบอด แต่จะทำให้เกิดความไม่สบายตามากกว่าการเล่นมือถือขณะเปิดไฟ เพราะจะต้องเพ่งมากกว่าปกติ และมีแสงสะท้อนเข้าตามากกว่าปกติ ทำให้เกิดความไม่สบายตา ทำให้ตาล้ามากขึ้น อาการจากการใช้อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นอาการเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อพักและหยุดใช้งานไป ก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม” อันดับที่ 2 : ชาร์จมือถือไป เล่นไป อันตรายถึงชีวิต จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความเตือนว่า แชร์เตือนว่า การชาร์จโทรศัพท์มือถือไปด้วย เล่นไปด้วย เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะที่ชาร์จจะร้อนจนฉนวนภายในหลอมละลาย และไฟฟ้า 310 โวลต์ จะวิ่งเข้ามาช็อตทันที  บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สัญญาณเตือนผ้าเบรกใกล้หมด จริงหรือ ?

5 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์สัญญาณที่เตือนว่า ผ้าเบรกของรถยนต์ใกล้หมดแล้ว เช่น เบรกแล้วมีเสียงดัง และ น้ำมันเบรกในกระปุกน้ำมันเบรกลดลงนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัญญาณบอกอาการผ้าเบรกหมด มีดังนี้ 1. แป้นเบรกลึกขึ้น ระยะของผ้าเบรกอยู่ห่างจากจานเบรกมากขึ้น จึงทำให้ต้องเหยียบเบรกลึกขึ้น กรณีหากมีการตรวจเช็กแล้วว่าไม่มีรอยรั่ว ก็อาจจะทำให้ระดับของน้ำมันเบรกหายไปด้วย แต่อาการเหยียบแป้นเบรกลึกขึ้น อาจจะไม่ใช่อาการผ้าเบรกหมดซะทีเดียว อาจจะบอกถึงความเสื่อมสภาพของซีลยางของตัวชุดปั๊มเบรก หรือซีลยางในตำแหน่งต่าง ๆ ได้ด้วยเช่นกัน 2. เบรกแล้วมีเสียงดัง ส่วนมากเกิดมาจากผ้าเบรกและจานเบรก หากผ้าเบรกหมดจะทำให้เหล็กผ้าเบรกและจานเบรกที่เป็นเหล็กทั้งคู่เสียดสีกันจนทำให้เกิดเสียง หากผ้าเบรกบางลงจำเป็นที่จะต้องถอดออกมาเปลี่ยนใหม่ เพราะถือว่าเป็นความเสื่อมสภาพของตัวผ้าเบรกจนทำให้เหยียบเบรกแล้วมีเสียงดังเกิดขึ้น 3. น้ำมันเบรกในกระปุกลดลง หากน้ำมันเบรกลดต่ำกว่าปกติ แต่ตรวจเช็กแล้วไม่พบรอยรั่วใด ๆ อาจเป็นไปได้ว่าความหนาของผ้าเบรกลดลง จนทำให้น้ำมันเบรกเข้าไปอยู่ตามสายเบรกและลูกสูบเบรก เพราะลูกสูบที่อยู่ในคาลิปเปอร์เบรก จะเลื่อนตัวออกมามาก เพื่อดันให้ผ้าเบรกจับกับจานเบรกน้ำมันเบรกในกระปุกจึงลดลง สัมภาษณ์เมื่อ : 20 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : TLSU HANGSMI ? — การแสดงความคิดเห็น ที่เสี่ยงผิดกฎหมาย !

2 มีนาคม 2567 สิ่งนี้… เป็นการประณาม และตัดสินบุคคลอื่น ที่สุ่มเสี่ยงผิดกฎหมาย และสิ่งนี้ถือเป็นพฤติกรรมที่สะท้อนปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล SLOT SHAMING การประณามหยามเหยียดผู้หญิงที่มีพฤติกรรมทางเพศ หรือจัดการกับร่างกายตนเองต่างจากที่สังคมส่วนใหญ่คาดหวัง ซึ่งถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการประณาม และตัดสินบุคคลอื่น โดยบางครั้งบุคคลที่ประณามก็เป็นผู้หญิงด้วยกันเอง เช่น กรณีการมองผู้หญิงที่แสดงออกถึงอารมณ์ทางเพศว่าเป็นบุคคลที่ไม่ดี ทั้งที่จริงแล้วเรื่องทางเพศก็ถือเป็นเรื่องปกติ หรือกรณีมองว่าหญิงที่แต่งกายไม่มิดชิด ไม่เรียบร้อย เป็นบุคคลที่ไม่ดี ถึงแม้การประณามอาจจะเกิดจากความไม่ตั้งใจ หรือความไม่รู้มาก่อน อย่างไรก็ตามการประณามให้ผู้อื่นละอายใจก็เป็นปัญหาที่สังคมควรตระหนักและให้ความสำคัญเพราะผลกระทบของมันสามารถกัดกินความรู้สึกของคนที่โดนไปด้วย สัมภาษณ์เมื่อ : 17 มกราคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยงเรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : หูตึงตอนแก่ แก้ด้วยสมุนไพรปรับสมดุล จริงหรือ ?

4 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์คำแนะนำสูตรสมุนไพรปรับสมดุล แก้ปัญหา หูตึงตอนแก่ หายเป็นปลิดทิ้ง โดยใช้ น้ำผึ้ง กระชาย มะนาว เกลือ น้ำมาปั่นดื่ม หูตึงจะกลับมาดีเหมือนเดิมนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดี วิทยาลัยแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ คลินิกการแพทย์แผนไทย มรว.สะอาดทินกร สูตรน้ำสมุนไพรปั่นตามที่แชร์มา  แพทย์แผนไทยกล่าวว่า อาจมีการอ้างอิงสรรพคุณของกระชาย ส่วนน้ำผึ้ง มะนาว เกลือ นั้นใช้ปรุงแต่งกลิ่นรส แต่สิ่งที่กล่าวมานี้ไม่ได้ช่วยเรื่องหูตึงแต่อย่างใด ผู้สูงอายุมักมีปัญหาการได้ยิน เนื่องจากมีภาวะเสื่อมตามวัยของระบบประสาทหู ในกรณีที่อาการหูตึงในผู้สูงวัยมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์แผนไทยแนะนำให้ใส่เครื่องช่วยฟัง สัมภาษณ์เมื่อ : 8 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักโรคพาร์กินสัน

3 มีนาคม 2567 – โรคพาร์กินสันคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด เกิดได้ในคนกลุ่มไหน ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรคพาร์กินสัน คืออะไร ? โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมองทำให้การผลิตสารโดพามีนในร่างกายลดลง ผู้ป่วยจะมีปัญหาหลัก คือ อาการสั่น เคลื่อนไหวช้า เกร็ง และเดินลำบาก สาเหตุของโรคพาร์กินสัน เนื่องจากโรคพาร์กินสันเกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ที่มารวมกันและเหมาะเจาะในคน ๆ หนึ่ง เช่น ผู้ป่วยบางรายที่อาจจะมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นพาร์กินสัน อายุที่เพิ่มมากขึ้นความเสี่ยงพาร์กินสันก็เพิ่มมากขึ้น อาการของโรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสัน แม้ว่าจะเป็นโรคที่แสดงออกเกี่ยวกับความผิดปกติของการเคลื่อนไหว แต่ก็มีอาการอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวเกิดร่วมในผู้ป่วยได้ อาการของโรคพาร์กินสัน คือ อาการที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวช้าลง ร่วมกับ อาการสั่น เป็นต้น อาการที่ควรสังเกต ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีอาการที่พบได้บ่อย ๆ ได้แก่ การเคลื่อนไหวช้า อาการสั่นของส่วนต่าง ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังมิจฉาชีพส่งที่ชาร์จแบตดูดเงินอ้างชื่อ SCB จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ระวังมิจฉาชีพส่งที่ชาร์จแบตดูดเงินอ้างชื่อ SCB นั้น บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ อาจทำให้เข้าใจผิดและตื่นตระหนก ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ SCB ยืนยัน เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง และยังไม่เคยมีกรณีลูกค้าถูกดูดเงินจากการใช้พาวเวอร์แบงก์ สำหรับภาพที่แชร์กันนั้น เป็น Wireless Charger ซึ่งเป็นของพรีเมียมที่ธนาคารได้มอบให้กับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ตามเงื่อนไขในช่วงของการจัดโปรโมชัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้จริง ไม่ใช่อุปกรณ์ขโมยข้อมูลหรือดูดเงินแต่อย่างใด ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ข้อความที่แชร์กันนั้น กรณีดังกล่าว เป็นไปได้ยาก ที่จะถูกดูดเงินทันทีที่เสียบอุปกรณ์ เนื่องจากการที่เงินจะออกจากบัญชีธนาคารบนมือถือได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการอย่างน้อยคือการ กดโอนเงินออกไปเอง หรือการถูกหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อเข้าควบคุมเครื่อง รวมทั้งถูกหลอกให้กดรหัส และสแกนใบหน้า ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่เสียบอุปกรณ์แล้วจะดูดเงินทันที ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ มีการออกแบบระบบตัดการเชื่อมต่อข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก เมื่อเสียบชาร์จแล้ว จะมีกล่องข้อความขึ้นมาสอบถามว่าต้องการจะเชื่อมต่อถ่ายโอนข้อมูลหรือไม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถกดตอบ ไม่ และใช้เพียงเฉพาะการถ่ายโอนกระแสไฟฟ้าอย่างเดียว ด้าน พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (บช.สอท.) ให้ข้อมูลกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ว่า ไม่เคยได้รับรายงานการแจ้งความการโดนดูดเงินด้วยอุปกรณ์ชาร์จพาวเวอร์แบงก์ อย่างที่แชร์กันแต่อย่างใด  พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ยังกล่าวถึงกรณีที่เป็นข่าวที่ทำให้เข้าใจว่า โดนดูดเงิน […]

1 16 17 18 19 20 201
...