ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดสิ่งที่ห้ามทำช่วงหน้าร้อน จริงหรือ ?

3 มีนาคม 2567 ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดสิ่งห้ามทำช่วงหน้าร้อน ทั้งดื่มน้ำเย็น อาบน้ำเย็น หรือเปิดแอร์นอน และหน้าร้อนต้องเติมน้ำมันรถให้เต็มถัง เพื่อป้องกันรถระเบิด มีเรื่องอะไรกันบ้าง ไปติดตามกันเลย อันดับที่ 1 : สิ่งของ 6 อย่างที่ห้ามวางไว้ในรถยนต์ จริงหรือ ? มีการแชร์คำเตือนว่าป้องกันอุบัติเหตุช่วงหน้าร้อน 6 สิ่งของที่ไม่ควรลืมทิ้งไว้ในรถ เมื่อจำเป็นต้องจอดกลางแดดร้อน เพื่อความปลอดภัยนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.ดร.ธีรยุทธ์ วิไลวัลย์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.ไฟแช็ก กรณีจอดรถตากแดดที่มีอุณหภูมิร้อนสูง จะทำปฏิกิริยากับสารเคมีเหลวภายในตัวไฟแช็ก และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ไฟแช็กจะระเบิดตัวเองทำให้เกิดไฟลุกได้ 2.กระป๋องสเปรย์ต่าง ๆ เนื่องจากความร้อนทำให้แก๊สในกระป๋องขยายตัว มีแรงดันสูงขึ้น ก็มีโอกาสที่จะระเบิดได้เช่นกัน 3.น้ำแข็งแห้ง กรณีนี้นำแข็งแห้งจะเริ่มระเหิด และทำปฏิกิริยากับอาการเป็นคาร์บอนไดออกไซด์มายังภายในตัวรถ ทั้งนี้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะสูดดมไปโดยไม่รู้ตัว และทำให้หมดสติในที่สุด 4.ขวดพลาสติกใสที่บรรจุน้ำอยู่เต็มขวด เมื่อคุณวางขวดน้ำพลาสติกไว้ที่บริเวณคอนโซลหน้ารถ และจอดรถไว้บริเวณที่แสงแดดส่องได้มุมกับขวดน้ำ ปฏิกิริยาหักเหของแสงและก่อให้เกิดไฟไหม้รถ แต่กรณีนี้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก ๆ 5.อุปกรณ์ที่มีแบตเตอรี่ทุกชนิด เช่น สมาร์ทโฟน  แบตเตอรี่สำรอง กรณีนี้ความร้อนอาจทำให้วงจรภายใน ได้รับความเสียหาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : แบตเตอรี่รถยนต์ (แบตฯ 12 โวลต์)

2 เมษายน 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่ 12 โวลต์ของรถยนต์ว่า มีกี่รูปแบบ และมีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 11 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ภาวะเส้นเลือดฝอยในตาแตก

1 เมษายน 2567 เส้นเลือดฝอยในตาแตกเกิดจากสาเหตุใด และจะเป็นอันตรายต่อดวงตาหรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะเส้นเลือดฝอยในตาแตก มีสาเหตุได้มากมายหลายชนิด เช่น การนอนคว่ำหน้า การไออย่างรุนแรง โดยทั่วไปเส้นเลือดฝอยในตาแตกจะไม่มีอาการผิดปกติ ยกเว้นในบางรายอาจมีความรู้สึกระคายเคืองตา ขึ้นกับสาเหตุที่ก่อให้เกิดเส้นเลือดฝอยในตาแตก เช่น จากการขยี้ตาหรือมีแผลถลอกที่บริเวณเยื่อบุตาร่วมด้วยก็อาจจะทำให้รู้สึกระคายเคืองตา ไม่สบายตาได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะรู้สึกตกใจ เนื่องจากเวลาส่องกระจกแล้วเห็นว่ามีลักษณะปื้นของเลือดอยู่บริเวณเหนือตาขาว แต่จริง ๆ แล้วตัวโรคไม่อันตราย โดยทั่วไปสามารถหายได้เอง แต่หากพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ สัมภาษณ์เมื่อ : 23 มกราคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : PATHOLOGICAL LIAR? — ติดโกหก มโนเก่ง จนเป็นโรค โดยไม่รู้ตัว !

30 มีนาคม 2567 สิ่งนี้…เป็นอาการผิดปกติทางจิต ที่ทำให้พูดโกหกเรื่อย ๆ จนคิดว่า เรื่องนั้นเป็นเรื่องจริง และสิ่งนี้… ถูกกระตุ้นให้เกิดมากยิ่งขึ้นในปัจจุบันจากโลกโซเชียลมีเดีย คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล PATHOLOGICAL LIAR คืออะไร ? คือ การหลอกตัวเอง สร้างเรื่องโกหกเพื่อเพิ่มคุณค่าให้ตัวเอง เพื่อสร้างความประทับใจต่อผู้อื่น สาเหตุของการหลอกตัวเอง มักจะเกิดจาก “ปม” ในอดีต พฤติกรรมนี้ทำไปเพื่อการปรับตัวและการอยู่รอดของมนุษย์ เมื่อทำบ่อย ๆ ก็จะเริ่มเกิดความเคยชิน และสิ่งที่อันตราย คือ จะเริ่มแยกไม่ออกว่าเรื่องไหนคือเรื่องจริง เรื่องไหนคือเรื่องโกหก ปัจจุบันโซเชียลมีเดีย ทำให้ผู้คนติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้เกิดการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นเช่นกัน หลายคนจึงสร้างตัวตนที่สมบูรณ์แบบขึ้นมา เพื่อเติมเต็มในส่วนที่ตัวเองขาด ดังนั้นการโกหกอาจไม่ใช่วิธีที่ดีในการสร้างความสุข และยังอาจส่งผลกระทบกลับมาทำร้ายตัวเองได้ ดังนั้นการเปิดใจและยอมรับการเป็นตัวของตัวเอง ไม่หลอกลวง จะส่งผลในทางที่ดีกว่า สัมภาษณ์เมื่อ : 7 มีนาคม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิตามินดีในเห็ด

29 มีนาคม 2567 – เห็ดมีวิตามินดี มากแค่ไหน และถ้านำเห็ดไปตากแดด จะทำให้มีวิตามินดีเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.ครรชิต จุดประสงค์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล การนำเห็ดไปตากแดด จะทำให้สร้างวิตามินดี 2 เห็ดที่มีปริมาณวิตามินดีสูงสุด ได้แก่ เห็ดนางฟ้า มีวิตามินดีปริมาณ 15 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม ซึ่งถือว่าเพียงพอกับปริมาณวิตามินดีต่อวันตามที่ร่างกายต้องการ รองลงมาเป็น เห็ดโคน เห็ดหลินดำ ในตัวเห็ดมีสารตั้งต้น ชื่อ เออโกรเซอรอล เมื่อได้รับแสงสารเห็ดก็พร้อมจะสร้างวิตามินดีอยู่ตลอด สารตั้งต้นก็จะอยู่ในหมวกเห็ด ก้านเห็ด จากการทดลองนำเห็ดเข็มทองไปฉายแสงยูวีบี พบว่า วิตามินดีก่อนฉายแสงยูวีบี 0.77 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม หลังฉายแสงยูวีบี สองด้าน 60 นาที […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แบบทดสอบสายตาเอียง ใช้ได้จริงหรือ ?

31 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์บทความและภาพตัวอย่างที่คนสายตาเอียงมองเห็น พร้อมทั้งแนะนำวิธีการทดสอบสายตาเอียง โดยให้ปิดทีละข้าง แล้วมองไปที่ภาพเส้นตรงในแนวรัศมีตามองศาต่าง ๆ หากพบว่าบางเส้นมีความเข้มจางไม่เท่ากัน แสดงว่ามีภาวะสายตาเอียงแล้วนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะสายตาเอียงเกิดจากการที่กระจกตามีความโค้งไม่เท่ากันในแต่ละแกน ทำให้เกิดจุดโฟกัส 2 จุดไม่รวมเป็นภาพเดียว โดยที่จุดหนึ่งโฟกัสที่หลังหรือหน้าจอประสาทตา สายตาเอียงอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ โดยเป็นแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นในภายหลัง จากการบาดเจ็บทางดวงตา วิธีทดสอบสายตาเอียงตามที่แชร์มา คือ ให้ปิดตาหนึ่งข้างแล้วมองไปที่เส้นแฉกในมุมต่าง ๆ หากเห็นบางเส้นเข้ม จาง ไม่เท่ากัน แสดงว่ามีปัญหาสายตาเอียงแล้ว แพทย์กล่าวว่า เป็นวิธีทดสอบทางการแพทย์อยู่แล้วหากลองเอามือปิดตาข้างหนึ่งแล้วมองไปยังเส้นตรงหลาย ๆ เส้นหากมองเห็นทุกเส้นพบว่าสีเข้มไม่เท่ากัน บางเส้นสีเข้ม บางเส้นสีอ่อน แสดงว่าเริ่มมีแนวโน้มที่จะมีภาวะสายตาเอียง ส่วนใหญ่อาการสายตาเอียง มักไม่ปรากฏอาการที่รุนแรงจนต้องทำการรักษา แต่สำหรับการแก้ปัญหาการมองเห็นสามารถทำได้โดยการสวมใส่แว่นตาและใส่คอนแทคเลนส์ และการทำเลสิค สัมภาษณ์เมื่อ : 27 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามใช้หูฟังบลูทูทใกล้รางรถไฟ จริงหรือ ?

28 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์คลิปพร้อมคำเตือนคนที่นั่งรถไฟฟ้า ว่า หลีกเลี่ยงการใช้หูฟังบลูทูทใกล้รางรถไฟ เพราะอาจเป็นการเหนี่ยวนำไฟฟ้าแรงสูงบนรางรถไฟ เข้ามาช็อตผ่านหูสู่สมองได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ เหตุการณ์ในคลิป เป็นอุบัติเหตุไฟฟ้าช็อตที่ประเทศอินเดีย ไม่มีหลักฐานหรือการรายงานว่าเกี่ยวกับหูฟังบลูทูท ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เหตุการณ์ในคลิป มีการรายงานโดยหลายสื่อในประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ตรวจตั๋วรถไฟ โดยมีสายไฟตกมาพาดโดนศีรษะ ก่อนจะเกิดประกายไฟ และทำให้เขาล้มตกไปที่รางรถไฟ เหตุการณ์ในคลิป เกิดขึ้นที่ สถานีรถไฟขรรคปุระ รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย โดยสำนักข่าว India Today รายงานบทสัมภาษณ์ของ Mohammad Sujat Hashmi ผู้จัดการการรถไฟในท้องถิ่น กล่าวว่า “เราไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่มีสายไฟตกแต่งบางส่วนที่หล่นลงมา ทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวขึ้น” ซึ่งในรายงานไม่ได้กล่าวถึงอุปกรณ์หูฟังบลูทูทแต่อย่างใด สำนักข่าวรอยเตอร์ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเผยแพร่เมื่อ 17 มกราคม 2566 ยังระบุรายงานถ้อยคำของตัวแทนคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดไอออน (ICNIRP) ว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀: SMS ยังเสี่ยง! เผยมิจฯ ยังกระหน่ำส่งข้อความ SMS หลอกลวงหลายรูปแบบ พนัน-ปล่อยกู้-แอบอ้าง

28 มีนาคม 2567 แอปพลิเคชัน Whoscall เผยรายงานประจำปี 2566 พบมิจฉาชีพทำงานหนักก่อกวนคนไทยเพิ่มขึ้น 12.2 ล้านครั้ง คนไทยรับข้อความหลอกลวงมากที่สุดในเอเชียถึง 58 ล้านข้อความ ทั้งแนบลิงก์ปลอม ลิงก์ขอล็อกอินปลอม การดาวน์โหลดมัลแวร์อันตราย และเพจปลอมหลอกขายของหลอกลวง เตือนระวังมุขใหม่ แอบอ้างผู้ให้บริการส่งสินค้า หน่วยงานรัฐ เช่น การไฟฟ้า ภาพรวมสถานการณ์การหลอกลวงในเอเชียคลี่คลายลง ข้อมูลจากรายงานปี 2566 พบว่ามีการหลอกลวง ทั้งจากสายโทรเข้าและข้อความ SMS รวม 347.3 ล้านครั้ง ลดลงจาก ปีก่อนหน้า 14% (405.3 ล้านครั้ง ในปี 2565) ลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เนื่องจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ และประชาชน เพื่อสร้างความตระหนักถึงภัยการหลอกลวงออนไลน์  คนไทยเสี่ยงถูกหลอกมากขึ้นกว่าเดิม ขณะที่เทรนด์การหลอกลวงในเอเชียดูเหมือนจะคลี่คลายลง ปี 2566 คนไทยกลับเสี่ยงโดนหลอกจากสายโทรเข้าและข้อความ รวม 79 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 18% จากยอดรวม 66.7 ล้านครั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดประโยชน์ของสับปะรด จริงหรือ ?

27 มีนาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับประโยชน์ของสับปะรด ทั้งเพิ่มปริมาณอสุจิ ช่วยลดน้ำหนัก อีกทั้งยังช่วยรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ และแก้น้ำวุ้นตาเสื่อม ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ประโยชน์ 16 ข้อของสับปะรด จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความแนะนำว่าสับปะรดมีประโยชน์ 16 ข้อ เช่น ตั้งแต่ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันหรือบรรเทาเบาหวาน ชะลอวัย ผิวขาว ลดริ้วรอย ลดน้ำหนัก รักษาเกาต์ บรรเทาปวด นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ดร.รัชนีคงคาฉุยฉาย ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล สับปะรดไม่ได้มีประโยชน์ 16 ข้อตามที่แชร์กัน เป็นเพียงผลไม้ที่มีน้ำมาก กินแล้วสดชื่น แต่หากมีอาการแสบลิ้น ไอ ไม่สบายท้องควรหลีกเลี่ยง   รายละเอียดที่แชร์กัน มีดังนี้ : อันดับที่ 2 : กินสับปะรดแก้น้ำวุ้นตาเสื่อม จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความว่า การกินสับปะรดช่วยแก้ปัญหา “น้ำวุ้นตามเสื่อม” […]

“ชัวร์ก่อนแชร์” รับรางวัลคนดีประเทศไทย สาขาสื่อมวลชนช่วยเหลือสังคม

มูลนิธิคนดี (ประเทศไทย) ร่วมกับสมาคมนักข่าวอาชญากรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บมจ. ซีพีออลล์ มอบรางวันคนดีประเทศไทย เพื่อเชิดชูคนดี-สื่อมวลชน ช่วยเหลือชุมชนและสังคมดีเด่น ซึ่งรายการ “ชัวร์ก่อนแชร์” ของสำนักข่าวไทย ได้รับรางวัลคนดีประเทศไทย สาขาสื่อมวลชนช่วยเหลือสังคม

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : มาตรฐานระยะทางรถยนต์ไฟฟ้า

25 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับมาตรฐานระยะทางของรถยนต์ไฟฟ้าว่า มีกี่รูปแบบ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ มาตรฐานระยะทางรถยนต์ไฟฟ้า เป็นการวัดว่ารถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ระยะทางเท่าไหร่ต่อการชาร์จแบตเตอรีหนึ่งครั้ง ปัจจุบันมีมาตรฐานที่นิยมใช้ ได้แก่ EPA , WLTP, CLTC และ NEDC ซึ่งมาตรฐานของแต่ละตัวมีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีการทดสอบที่แตกต่างกัน รวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ในการวัดก็แตกต่างกัน มาตรฐานที่ 1 : EPA (U.S. Environmental Protection Agency) เป็นมาตรฐานที่ใช้กันในประเทศสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นมาตรฐานล่าสุดที่คนทั่วโลกคุ้นเคย โดยใช้วิธีการจำลองการวิ่งในแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบวิ่งในเมือง (UDDS) และ การทดสอบวิ่งนอกเมือง (HWFET) ซึ่งจะทำสลับกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าแบตเตอรี่จะหมด และรถไม่สามารถวิ่งต่อไปได้แล้ว จากนั้นก็จะทำการบันทึกระยะทางที่รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้สูงสุดเอาไว้ มาตรฐานที่ 2 : WLTP (Worldwide Harmonised Light […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การป้องกันปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสัน

25 มีนาคม 2567 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อโรคพาร์กินสันได้มีอะไรบ้าง และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 10 กรกฎาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 14 15 16 17 18 201
...