ด้านมืด ของ Generative AI ตอนที่ 1| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

25 ธันวาคม 2566 Generative Ai ที่ดูดีมีประโยชน์ ช่วนสร้างความสะดวกสบายให้กับชีวิตเรา แต่รู้หรือไม่ว่า สิ่งนี้ ก็อาจมีภัยที่แอบแฝงมาโดยที่เราอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้ มาร่วมเรียนรู้ภัยจากด้านมืดของ Generative Ai ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาโหล เบ้าตาลึก

21 ธันวาคม 2566 – ตาโหล เบ้าตาลึกเป็นยังไง และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปหมูสามชั้นปลอม จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปพร้อมคำเตือนว่า “หมูเถื่อนคือหมูจริง ๆ แต่นำเข้าผิดกฎหมาย ไม่เสียภาษีแต่ตอนนี้มี หมู 3ชั้นปลอม แล้วนะ” บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่ออาหารที่อยู่ในคลิป คือ ขนมเยลลี่ที่ทำเป็นรูปหมูสามชั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบคลิปที่แชร์มา ซึ่งเป็นคลิปที่มีข้อความภาษาจีนระบุว่า “惊人的人造肉” ซึ่งแปลได้ว่า เนื้อเทียม และ “看看制作过程吧不良商家罪该万死” แปลว่า มาดูกระบวนการผลิต ผู้ค้าที่แย่ ๆ สมควรตายจากการก่ออาชญากรรมนี้” ตรวจสอบต้นฉบับพบว่าโพสต์โดยผู้ใช้แอป 快手 รหัส 1580974446 สืบหาต้นตอ🔍 เมื่อนำวิดีโอในคลิปไปตรวจวิเคราะห์เพื่อหาต้นตอ พบว่ามีเบาะแสที่สำคัญ คือ ภาพการติดฉลาก ในช่วงนาทีที่ 02.26 และเมื่อนำภาพดังกล่าวไปตรวจสอบค้นหาภาพกับเว็บ Baidu ก็พบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีวางขายอยู่ทั่วไป ซึ่งมีฉลากเป็นภาษาเกาหลี เขียนว่า 디담 삼겹살 모양 젤리 หรือ DIDAM PORK BELLY JELLY [ https://graph.baidu.com/s?card_key=&entrance=GENERAL&extUiData%5BisLogoShow%5D=1&f=all&isLogoShow=1&session_id=15932161682953549650&sign=126919df67580cf37f03901703131463&tpl_from=pc […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 9 สาเหตุ ทำน้ำยาหล่อเย็นหาย จริงหรือ ?

19 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ 9 สาเหตุที่ทำให้น้ำยาหล่อเย็นหายจากระบบระบายความร้อนของรถยนต์ เช่น ฝาสูบโก่ง และ ประเก็นฝาสูบแตกนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ห้ามให้แมวกินนมวัว จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือน ห้ามให้น้องแมวกินนมวัว เพราะย่อยไม่ได้หากกินจะทำให้ท้องเสียนั้น  สรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับศ.น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า “เป็นความจริงที่ทั้งสุนัขและแมวกินนมวัวไม่ได้ เพราะไม่มีแลคเตสสำหรับใช้ย่อยแลคโตสที่ค่อนข้างสูงในนมวัว จึงมักจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย ถ้าให้กินติดต่อกันอาจจะเป็นท้องเสียเรื้อรังได้ แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องให้กินนมวัวให้ผสมไข่แดงเพื่อเจือจางแลคโตสและให้ในปริมาณที่เหมาะสมตามน้ำหนักตัว”

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคซึมเศร้า – การพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

18 ธันวาคม 2566 – คำพูดใดบ้าง ที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และเราควรจะปฏิบัติกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างไร เพื่อช่วยเหลือและดูแลจิตใจให้เขาหายป่วยได้โดยเร็ว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 5 กันยายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจโรคงูสวัด

14 ธันวาคม 2566 – โรคงูสวัดเกิดขึ้นได้ยังไง อันตรายแค่ไหน และจะมีวิธีการป้องกันได้อย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล อุปนายก สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย หัวหน้า สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีสัมภาษณ์เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566 และ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยหนัก และผู้สูงอายุ สัมภาษณ์เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : น้ำตาเทียม

15 ธันวาคม 2566 – น้ำตาเทียมมีกี่ชนิด ชนิดไหนเหมาะกับใคร และมีวิธีการใช้งานที่ถูกต้องอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์​ก่อนแชร์ : อย่ารับสายเบอร์โทรศัพท์ 082-810-3575 เสี่ยงดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ “อย่ารับสายเบอร์โทรศัพท์ 082-810-3575 เพราะอาจโดนดูดเงินหมดบัญชี” นั้น บทสรุป : ต้องตระหนักและระวัง แต่ไม่ได้รุนแรงฉับพลันตามที่แชร์กัน ทั้งนี้ โดยทั่วไปเพียงแค่รับสายโทรศัพท์ ไม่สามารถทำให้เงินหายออกจากบัญชีได้ แต่หากรับสายแล้วหลงกลคำพูดของมิจฉาชีพ แล้วยอมทำตาม เช่น ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมหรือกรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะโดนโจรกรรมทั้งเงินและข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับเบอร์ดังกล่าว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า มีรายงานข่าวเตือนว่าเป็นเบอร์โทรที่คนร้ายใช้โทรศัพท์ไปหาคนจำนวนมาก ในช่วงเดือนเมษายน 2566 และเบอร์เดิมกลับมาเป็นข่าวอีกครั้งในเดือนธันวาคม 2566 ข่าวระบุว่า เบอร์ดังกล่าว มิจฉาชีพจะโทรมาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง หลอกลวงให้ผู้เสียหายกดยกเลิกสิทธิโครงการของรัฐฯ ที่หมดเขตไปแล้ว ซึ่งกระทรวงการคลัง ยืนยัน ไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ติดต่อหาประชาชนเพื่อยกเลิกสิทธิ์หรือมอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้แก่บุคคลใดทั้งสิ้น แต่หากผู้เสียหายหลงเชื่อและสอบถามขั้นตอน มิจฉาชีพจะทำทีให้ความช่วยเหลือ โดยให้แอดไลน์เพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตัวปลอม และจะส่งลิงก์ให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเป๋าเงินหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัวและล็อกอินเข้าสู่ระบบ รวมถึงหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน และนำรหัสผ่านดังกล่าวไปใช้โจรกรรมต่อไป อย่างไรก็ตาม มิจฉาชีพสามารถเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ไปได้เรื่อย ๆ และไม่จำเป็นที่ว่าผู้ใช้งานเบอร์นี้ในอนาคตจะต้องเป็นมิจฉาชีพเสมอไป เนื่องจากเบอร์อาจถูกปิดและนำกลับมาจัดสรรใหม่ คำแนะนำจาก ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ จะเห็นได้ว่า การรับสายโทรศัพท์ไม่ว่าจะเป็นเลขหมายใด ๆ เพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปจึงไม่สามารถทำให้เงินหายหมดบัญชีได้ รวมทั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : PRETEXTING ? — ภัยคุกคามยุคใหม่ในการล้วงข้อมูล

16 ธันวาคม 2566 สิ่งนี้… คือภัยคุกคามยุคใหม่ทางวิศวกรรมสังคม ที่ใช้หลักจิตวิทยาในการหลอกลวงให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลสำคัญ และสิ่งนี้… เป็นเทคนิคสำคัญที่แฮกเกอร์ใช้เพื่อขโมยเงิน หรือข้อมูลจากสถาบันการเงิน ซึ่งกว่า 88% ดำเนินการผ่านอีเมล คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนไวรัส HMPV โรคใหม่หนักกว่าโควิด จริงหรือ ?

17 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เตือนให้ระวังโรคใหม่ ไวรัส HMPV หนักกว่าโควิด ไทยนำเข้ามาแล้วอย่างเป็นทางการ ไม่มียาและไม่มีวัคซีนรักษานั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจผู้ป่วยหนักและผู้สูงอายุ สัมภาษณ์เมื่อ 12 ธันวาคม 2566 พล.อ.สิทธิศักดิ์ เทภาสิต อดีตผู้ป่วยโรค HMPV อายุ 75 ปี สัมภาษณ์เมื่อ 12 ธันวาคม 2566 คุณกัลยกร ชีวะกานนท์ อดีตผู้ป่วยโรค HMPV อายุ 63 ปี สัมภาษณ์เมื่อ 12 ธันวาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : สถิติเผยคนไทยโดนหลอกทางโทรศัพท์มากสุดในเอเชีย !

15 ธันวาคม 2566 Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) และองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก GASA (The Global Anti-Scam Alliance) จัดงานประชุมต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ครั้งแรก ของเอเชีย Anti-Scam Asia Summit (ASAS) ณ กรุงไทเป ไต้หวัน เผยแพร่รายงานที่น่าเป็นห่วงว่าคนเอเชียส่วนใหญ่ มีความมั่นใจเกินไป ว่ารู้ทันกลโกงออนไลน์ สวนทางกับแนวทางที่มิจฉาชีพใช้เทคโนโลยี AI ทำให้การหลอกลวงมีความแยบยลและยากต่อการสังเกต โดยคนเอเชียมากกว่าครึ่งต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในขณะที่คนไทยยังถูกหลอก ทางโทรศัพท์มากที่สุดในเอเชีย ผ่านทางเฟซบุ๊ก ไลน์ และอีเมล มากที่สุด  รายงาน Asia Scam Report 2023 จัดทำโดย GASA และ Gogolook เผยว่าเอเชียกำลังเป็นเป้าหมายสำคัญของเหล่าอาชญากร ที่มีแนวโน้มใช้เทคโนโลยี AI สร้างเครือข่ายหลอกลวงได้ง่าย รวดเร็ว และดำเนินการในต่างประเทศเพื่อให้ยากต่อการตรวจสอบ และจับกุม การประชุม ASAS จึงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย […]

1 21 22 23 24 25 199
...