ชัวร์ก่อนแชร์: ยุงแพร่เชื้อโควิด 19 จริงหรือ?

13 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stop Fake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: WHO ยืนยันว่าการถูกยุงกัดไม่ทำให้ติดเชื้อโควิด 19 ผลวิจัยพิสูจน์ว่าไวรัส SARS-CoV-2 ไม่สามารถแบ่งตัวในยุง และไม่สามารถแพร่เชื้อไวรัสไปยังมนุษย์ได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จถูกนำมาเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศยูเครน โดยอ้างว่ายุงสามารถนำเชื้อโควิด 19 จากเลือดของผู้ป่วยไปแพร่เชื้อยังคนทั่วไปได้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ในเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่าการถูกยุงกัดไม่สามารถทำให้ติดเชื้อโควิด 19 ได้ WHO ชี้แจงว่า โควิด 19 คือไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ที่ติดต่อกันได้จากการหายใจเอาละอองเสมหะของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ปัจจุบันไม่พบความเป็นไปได้ที่ไวรัสโควิด 19 จะสามารถติดต่อกันได้จากการถูกยุงกัด ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature เมื่อกรกฎาคมปี 2020 ซึ่งเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของการแพร่เชื้อโควิด 19 จากยุงสายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งผลวิจัยสรุปว่า ไวรัส SARS-CoV-2 ไม่สามารถแบ่งตัวในยุง และไม่สามารถแพร่เชื้อไวรัสไปยังมนุษย์ได้ ต่อให้ยุงตัวนั้นไปดูดเลือดของผู้ป่วยโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นกตายยกฝูงหลังติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า จริงหรือ?

12 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการนำภาพเก่ามาสร้างข่าวปลอม งานวิจัยพบว่าสัตว์ตระกูลสัตว์ปีกและโคกระบือไม่มีแนวโน้มติดเชื้อโควิด 19 ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงด้วยข้อความและรูปภาพบนสื่อสังคมออนไลน์ในไต้หวัน ที่อ้างว่าไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้าสามารถระบาดจากคนสู่นก จนมีนกตายยกฝูงในอินเดีย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Taiwan FactCheck Center ทำการตรวจสอบที่มาของภาพ พบว่าเป็นภาพที่เคยเผยแพร่ทางออนไลน์มาตั้งแต่ปี 2016 และยังเคยใช้เป็นภาพประกอบข่าวปลอมอื่นๆ มาแล้วเช่นกัน ฮงเซียวยู นักวิจัยจากศูนย์วิจัยนิเวศวิทยาสำหรับนก มหาวิทยาลัย Ping University of Science and Technology ได้ตรวจสอบภาพแล้วอธิบายว่า นกส่วนใหญ่ในภาพเป็นนกกิ้งโครงและนกจาบคา และคาดว่าสาเหตุการตายยกฝูงอาจเกิดจากการกินของมีพิษเข้าไป ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2021 จากเว็บไซต์ขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) มีการระบุรายชื่อสัตว์ที่พบรายงานว่าติดเชื้อโควิด 19 ประกอบไปด้วย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Pfizer ทำให้เป็นอัลไซเมอร์และกล้ามเนื้ออ่อนแรง จริงหรือ?

9 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stop Fake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นข้อมูลที่บิดเบือนโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีน ไม่มีข้อพิสูจน์ว่าสาร mRNA ที่ฉีดบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน จะส่งผลไปยังโปรตีนในสมองได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่จากบทความของโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ที่อ้างว่าคนที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer / BioNTech มีความเสี่ยงที่ระบบประสาทจะถูกทำลายในอนาคต FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: บทความนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Microbiology & Infectious Diseases เจ้าของบทความได้แก่ จอห์น บาร์ท คลาสเซน นักภูมิคุ้มกันวิทยาและเป็นนักเคลื่อนไหวต่อต้านการฉีดวัคซีนชาวอเมริกัน ที่อ้างว่า ส่วนประกอบในวัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer ก่อให้เกิดการม้วนพับโปรตีนจนมีรูปร่างผิดปกติ (Protein Misfolding) นำไปสู่การทำลายระบบประสาทในระยะยาว และสามารถพัฒนาไปสู่การป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม (Alzheimer’s) และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) แนวคิดของ จอห์น […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้ไข้หวัดรุนแรงขึ้น จริงหรือ?

9 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นข้ออ้างที่เป็นเท็จ ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า ไวรัสโควิด 19 หรือวัคซีนโควิด 19 ไม่ทำให้อาการป่วยจากไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่รุนแรงขึ้น เพราะสาเหตุมาจากไวรัสคนละชนิดกัน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ข้อมูลเท็จทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา ว่าวัคซีนโควิด 19 จะทำให้อาการป่วยจากไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่มีความรุนแรงจนถึงชีวิต ซึ่งภายหลังข้อความดังกล่าวถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม ผู้โพสต์อ้างว่าวัคซีนโควิด 19 ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้ไข้หวัดมีความรุนแรงยิ่งขึ้น การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนจึงเริ่มในช่วงที่ฤดูการระบาดของไข้หวัดผ่านพ้นไปแล้ว แต่เมื่อฤดูหนาวครั้งต่อไปมาถึง จะเกิดโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่าโควิด 21 ซึ่งคราวนี้จะมีคนเสียชีวิตจริงๆ โดยอาการจะคล้ายกับป่วยเป็นไข้หวัด FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่วัคซีนโควิด 19 ไม่ทำให้ผู้รับวัคซีนป่วยเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตอย่างที่กล่าวอ้าง ดร.เบรนท์ สต็อกเวลล์ ศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีววิทยา มหาวิทยาลัย Columbia University อธิบายว่า เป็นการกล่าวอ้างที่ไร้เหตุผลรองรับ ไวรัสโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีด Pfizer เสี่ยงติดโควิด 19 สายพันธุ์เบต้า 8 เท่า จริงหรือ?

8 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stop Fake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นการทดลองกับผู้รับวัคซีนที่ติดเชื้อโควิด 19 อยู่แล้ว จึงไม่อาจสรุปได้ว่าวัคซีน Pfizer ทำให้ติดโควิด 19 สายพันธุ์เบต้าได้มากกว่าคนทั่วไป ผู้วิจัยย้ำว่าการฉีดวัคซีนเป็นการป้องกันโควิด 19 กลายพันธุ์ที่ดีที่สุด ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีคลิปวิดีโอสร้างความเข้าใจผิดต่อประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 เผยแพร่ในประเทศยูเครน โดยอ้างว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer จะมีโอกาสติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เบต้าหรือแอฟริกาใต้ (B.1.351) มากกว่าคนที่ไม่ฉีดวัคซีนถึง 8 เท่า FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: คลิปดังกล่าวอ้างงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Tel Aviv University ที่ทำการตรวจสอบประสิทธิผลในการป้องกันโควิด 19 กลายพันธุ์ของวัคซีนโควิด 19 ทีมวิจัยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 400 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ชาวอินเดียขับไล่หมอ เพราะไม่ต้องการวัคซีน จริงหรือ?

8 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Animal Politico (เม็กซิโก)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นการนำภาพเหตุชุลมุนในตลาดนัดมาเชื่อมโยงกับวัคซีนอย่างไม่ถูกต้อง ภาพดังกล่าวคือการขับไล่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาระงับการรวมตัวของคนในหมู่บ้าน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อความเท็จพร้อมคลิปวิดีโอที่ระบุว่า ชาวบ้านในอินเดียขับไล่บุคลากรทางการแพทย์พร้อมวัคซีน เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนในประเทศจำนวนมาก FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: จากการตรวจสอบข้อมูลของ Animal Politico พบคลิปว่าคลิปดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศอินเดียตามที่กล่าวอ้าง แต่เป็นการชุลมุนที่เกิดขึ้นในตลาดนัด และไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนแต่อย่างใด จากรายงานข่าวของ Times Of India และทีมผู้ตรวจสอบของ India Today ระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2021 ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในรัฐฌารขัณฑ์ โดยเจ้าหน้าที่ตำตรวจต้องเดินทางไประงับการรวมตัวของชาวบ้านจำนวน 200 คนที่มาร่วมงานตลาดนัดของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการละเมิดคำสั่งห้ามรวมตัวในที่สาธารณะท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้ชาวบ้านที่ไม่พอใจลุกฮือขึ้นขับไล่เจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยการขว้างปาก้อนหินและทุบตีด้วยท่อนไม้ ชาวอินเดียที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 จะต้องลงทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุขของอินเดียก่อน การบังคับให้ชาวบ้านฉีดวัคซีนด้วยการส่งทีมแพทย์ไปตามหมู่บ้านอย่างที่กล่าวอ้างจึงไม่เป็นความจริง ข้อมูลจากเว็บไซต์ Worldometers เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้เป็นผู้แพร่เชื้อแบบไม่มีอาการ จริงหรือ?

7 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จบางส่วน บทสรุป: แม้วัคซีนโควิด 19 ในปัจจุบันจะยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ 100% แต่งานวิจัยหลายชิ้นยืนยันตรงกันว่าการฉีดวัคซีนช่วยลดโอกาสการแพร่เชื้อได้อย่างมาก ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการนำวิดีโอรายการโทรทัศน์ที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 มาแชร์ทาง Facebook ในประเทศจอร์เจีย โดยอ้างว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 จะกลายเป็นผู้แพร่เชื้อแบบไม่มีอาการ (asymptomatic transmitters) เนื่องจากวัคซีนโควิด 19 ยังไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อหรือติดเชื้อได้ 100% ดังนั้นผู้รับวัคซีนโควิด 19 จึงมีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปยังผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แม้วัคซีนโควิด 19 หลายยี่ห้อจะสามารถป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ แต่ประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อแบบไม่มีอาการยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม แต่การวิจัยหลายชิ้นที่ออกมาในปี 2021 พบว่าวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer, Moderna, และ AstraZeneca สามารถลดโอกาสการแพร่เชื้อแบบไม่มีอาการได้ วารสารการแพทย์ Nature […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนคือสาเหตุไวรัสกลายพันธุ์และการระบาดในอินเดีย จริงหรือ?

7 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Newtral (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วารสารการแพทย์ The Lancet ยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ไม่ใช่สาเหตุการเกิดโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า ต้นเหตุการแพร่ระบาดในอินเดียมาจากปัญหาสุขอนามัยและการฉีดวัคซีนที่ไม่ทั่วถึง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในอินเดีย โดยเนื้อหาอ้างว่านับตั้งแต่รัฐบาลอินเดียเริ่มฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับประชาชน สถานการณ์การแพร่ระบาดมีแต่เลวร้ายลงเรื่อยๆ ทั้งตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นและการอุบัติของไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2) แสดงว่าสาเหตุทั้งหมดมาจากวัคซีนโควิด 19 พร้อมนำบทสัมภาษณ์ของ อมาเยีย ฟอร์เซส แพทย์หญิงชาวสเปนที่เคยทำงานในอินเดียมาสนับสนุนการกล่างอ้าง โดยอ้างว่าแพทย์หญิงให้ความเห็นว่ามีแต่ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เท่านั้นที่ติดเชื้อโควิด 19 FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: องค์การยาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์สเปน (AEMPS) ยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ที่ผ่านการตรวจสอบด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย ไม่มีทางก่อให้เกิดโรคหรือแพร่เชื้อโควิด 19 AEMPS ยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนโควิด 19 กับการเกิดไวรัสกลายพันธุ์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โอกาสเสียชีวิตเพราะโควิดมีไม่มาก ไม่ควรเสี่ยงกับวัคซีน จริงหรือ?

6 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Factcheck (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นการนำอัตราการรอดชีวิตจากโควิด 19 มาสร้างความเข้าใจผิด แม้เปอร์เซนต์การเสียชีวิตจากโควิด 19 จะน้อย แต่ชาวโลกต้องเสียชีวิตจากโควิด 19 แล้วกว่า 4 ล้านคน ทางการอังกฤษเปิดเผยว่า วัคซีนช่วยชีวิตผู้สูงอายุในอังกฤษนับหมื่นคน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นการเผยแพร่ข้อมูลเท็จผ่านมีมใน Instagram ที่สหรัฐอเมริกา เป็นการแสดงภาพ รอน เดอแซนติส ผู้ว่าการรัฐฟลอริด้าจากพรรครีพับลิกัน กำลังถือป้ายแสดงตารางที่ระบุว่าโอกาสเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในแต่ละช่วงอายุมีไม่ถึง 1% รวมถึงข้อความที่ตั้งคำถามถึงความปลอดภัยของวัคซีน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ภาพต้นฉบับของมีมดังกล่าว ถูกถ่ายขึ้นเมื่อครั้งที่ รอน เดอแซนติส รณรงค์ให้ยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ในสหรัฐอเมริกาเมื่อช่วงเดือนกันยายนปีที่แล้ว แต่ข้อมูลโจมตีความปลอดภัยของวัคซีนเป็นข้อความที่ตัดต่อขึ้นมาใหม่ โดยปัจจุบัน รอน เดอแซนติส เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว และยังรณรงค์ให้ประชาชนร่วมฉีดวัคซีนอีกด้วย ดร.สเทน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: แพทย์ไทย-เยอรมัน เตือนวัคซีนโควิดไม่ได้ผล-เป็นอันตราย จริงหรือ?

6 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Facta (อิตาลี)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นบทสัมภาษณ์ของ สุจริต ภักดี แพทย์ชาวเยอรมันเชื้อสายไทย ที่อ้างว่าวัคซีนโควิด 19 ป้องกันการติดเชื้อไม่ได้และเป็นอันตราย สวนทางกับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่าวัคซีนด้วยป้องกันการป่วยและเสียชีวิตจากโควิด 19 ได้จริง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการนำข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 ไปเผยแพร่บนสื่อออนไลน์ทั้งในหลายประเทศ โดยเป็นความเห็นของ สุจริต ภักดี นักจุลชีววิทยาชาวเยอรมันเชื้อสายไทย ระหว่างให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ New American สื่อแนวคิดอนุรักษ์นิยมของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2021 จากการสำรวจของเว็บไซต์ CrowdTangle พบว่าจนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม มีผู้รับชมการสัมภาษณ์รวมกันกว่าล้านครั้ง และมียอดแชร์ไปแล้วกว่า 53,000 ครั้ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: อย่างไรก็ดี คำกล่าวอ้างของ สุจริต ภักดี เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้เป็นเริมที่อวัยวะเพศ จริงหรือ?

5 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นความเข้าใจผิดว่าไวรัสที่ทำให้เกิดโรคงูสวัดทำให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศ โรคอีสุกอีใส, โรคงูสวัด หรือเริมที่อวัยวะเพศ ล้วนไม่ใช่อาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 ทั้งสิ้น ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกาที่อ้างว่า วัคซีนโควิด 19 ทำให้เป็นเริมที่อวัยวะเพศ และสามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: โดยผู้โพสต์อ้างบทความของหนังสือพิมพ์ New York Post เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2021 ที่อ้างว่า โรคงูสวัดอาจเป็นอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 นอกจากจะไม่เป็นความจริงแล้ว ในบทความยังสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่านให้เชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus) ที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสและโรคงูสวัด เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศด้วย ซึ่งแท้จริงแล้วเริมที่อวัยวะเพศเกิดมาจากการติดเชื้อไวรัสเริม (HSV) แม้ ไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ และ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้เป็นโรคงูสวัด จริงหรือ?

5 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: ผู้ที่จะเป็นโรคงูสวัด ต้องเคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนเท่านั้น โดยมีสาเหตุจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอ งานวิจัยไม่อาจยืนยันได้ว่าวัคซีนโควิด 19 มีส่วนกระตุ้นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคงูสวัดหรือไม่ ข้อมูลที่ถูกแชร์: ข้อมูลจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ New York Post เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2021 อ้างว่าโรคงูสวัดอาจเป็นอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 จนกลายเป็นไวรัลที่มียอดแชร์, ยอดไลค์ และคอมเมนต์ ผ่านทาง Facebook และ Instagram รวมกันหลายแสนครั้ง ตามรายงานจากเว็บไซต์ Crowdtangle FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: บทความของ New York Post อ้างงานวิจัยของฟิวเรอร์และคณะที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Rheumatology จุดประสงค์ของงานวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลด้านความปลอดภัยของวัคซีนโควิด 19 ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรครูมาติกจากภูมิคุ้มกันตนเอง (autoimmune inflammatory rheumatic […]

1 19 20 21 22 23 25
...