กรมวิทย์ฯ เปิดเผยผลตรวจวัตถุกันเสียในอาหารประเภทเส้น

กรมวิทย์ฯ เผยผลตรวจวัตถุกันเสียในอาหารประเภทเส้น 240 ตัวอย่าง พบกรดเบนโซอิก 117 ตัวอย่าง เกินมาตรฐาน 29 ตัวอย่าง ส่วนกรดซอร์บิกเกินมาตรฐาน 23 ตัวอย่าง และพบกรดทั้งสองชนิดเกินมาตรฐาน 8 ตัวอย่าง

กรมวิทย์ฯ จับมือเอกชนวิจัยกัญชงกัญชา

กรมวิทย์ฯ จับมือภาคเอกชนและวิสาหกิจชุมชน พัฒนาความร่วมมือด้านการปลูก สกัด และวิจัยพืชกัญชากัญชง เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และเชิงพาณิชย์

กรมวิทย์ฯ แจงอาการสายพันธุ์ BA.2.75 ที่ตรัง ไม่ต่างจากสายพันธุ์อื่น

กรมวิทย์ฯ แจงสุ่มตรวจ BA.2.75 ที่ จ.ตรัง เป็นเรื่องปกติของระบบ อาการไม่ได้แตกต่างจากสายพันธุ์ย่อยอื่น ขณะนี้ผู้ป่วยรักษาทานยาตามอาการและกักตัวจนครบแล้ว เนื่องจากเจอตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.

สธ.ปรับลดเตือนภัยโควิดเหลือระดับ 3

สธ.ปรับลดระดับเตือนภัยเหลือ 3 หลังภาพรวมการติดเชื้อของไทยลดลง 23 จว. ทรงตัว ส่วนอีก 54 จว. ดีขึ้น ย้ำไทยพ้นการระบาดใหญ่ กำลังเข้าสู่โรคประจำถิ่น แต่ตัวชี้วัดสำคัญคือการรับวัคซีน ส่วนสายพันธุ์ที่พบในไทย เป็นโอไมครอน BA.2 แต่ยังต้องมีการเฝ้าระวังตรวจหาเชื้อต่อไป

กรมวิทย์ฯ เผยโอไมครอนยึดไทย 96.4% กระจายทุกจังหวัด

กรมวิทย์ฯ เผยผลถอดรหัสพันธุ์โควิดพบไอโมครอนยึดไทย 96.4% ยังคงเป็นสายพันธุ์หลัก (BA1) 81.5%, BA 2 ถึง 18% หวั่นเพิ่มสัดส่วนหลังทั่วโลก ทั้งอินเดีย สวีเดน เดนมาร์ก ติดเชื้อ BA2 เพิ่มสูง จับตาใกล้ชิดเพราะแพร่เร็วกว่าเดิมแต่รุนแรงหรือหลบภูมิต้องติดตาม

ยังไม่พบสายพันธุ์มิว (Mu) ในไทย

ศูนย์จีโนม รามา แจงโควิดสายพันธุ์มิวที่ WHO เฝ้าระวังเพราะหลบภูมิคุ้มกันได้ แต่ยังไม่พบในไทย สัปดาห์หน้ากรมวิทย์ฯ เตรียมแถลงการตรวจ การสุ่มตรวจหาโควิดในสายพันธุ์ต่างๆ ทั้ง AY, C.1.2 และมิว

ฉีดวัคซีนไขว้ภูมิคุ้มกันสูง ไม่แนะประชาชนตรวจภูมิ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไม่แนะนำประชาชนตรวจภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนโควิดครบ 2 เข็ม ชี้การปรับสูตรฉีดไขว้สร้างภูมิคุ้มกันโรคได้เร็ว ลดเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้

พบ 1 รายใน 5 ล้านคน ภาวะเกล็ดเลือดต่ำร่วมหลอดเลือดอุดตันหลังรับวัคซีน

กรมวิทย์ฯ เผยคนไทยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ร่วมกับหลอดเลือดอุดตัน หลังได้รับวัคซีนเพียง 1 รายใน 5 ล้านคน พบน้อยกว่าชาติตะวันตกถึง 5-40 เท่า และยังรักษาได้ถ้าพบแพทย์ทันท่วงที

ห่วงใช้ Antigen Test Kit ไม่ถูกวิธี ทำผลลบลวง

อธิบดีกรมวิทย์ ห่วงใช้ Antigen Test Kit ไม่ถูกวิธี ทำผลลบลวง ชะล่าใจใช้ชีวิตปกติ ทั้งที่ติดเชื้อ ย้ำต้องตรวจซ้ำใน 3-5 วัน และตรวจต้องได้มาตรฐานแยงโพรงจมูกต้องลึกพอ

กรมวิทย์ฯ ตรวจพบเชื้อโควิดสายพันธุ์ลูกผสมคนงานในแคมป์ กทม.7 คน

สธ. 12ก.ค.-อธิบดีกรมวิทย์ฯ เผยข้อมูลน่าตกใจ ตรวจหาเชื้อโควิดในแคมป์คนงาน กทม.พบเชื้อลูกผสม 2 สายพันธุ์ในคนๆ เดียว มากถึง 7 คน เป็นอัลฟาผสมเดลตา และคาดว่าอีกไม่นานสายพันธุ์เดลตายึดพื้นที่ไทยทั้งหมด จึงเป็นเหตุผลทำไมต้องเซมิล็อกดาวน์ หยุดเชื้อเพื่อชาติ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการตรวจหาหาสายพันธุ์การระบาดของโควิด-19 ในไทย โดยมีการตรวจสอบไปกว่า15,000 ตัวอย่าง พบว่าขณะนี้สายพันธุ์การระบาดของไทย แม้จะยังเป็นอัลฟา ร้อยละ 74 แต่พบว่าสัดส่วนของเดลตา อยู่ที่ร้อยละ 46 คาดว่าไม่นานก็จะค่อยๆ กระจายเพิ่มสัดส่วนและเข้ามาแทนที่อัลฟาได้ไม่นาน โดยการพบเชื้อเดลตา ขณะนี้พบมากสุดในแถบอีสาน อุดรธานี และนครสวรรค์ จังหวัดละ 40 คน รองลงมา ชลบุรี 32 คน นอกจากนี้มีสายพันธุ์เบตาจะพบในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่ แต่ปรากฏว่าไปพบในผู้ป่วยรายหนึ่งในจังหวัดบึงกาฬ มีประวัติเดินทางกลับมาจากไต้หวัน แต่เมื่อตรวจหาสายพันธุ์และเทียบกับไต้หวันก็ไม่พบ และเทียบกับพื้นที่ภาคใต้ก็ไม่พบเช่นกัน จึงต้องมีการสอบสวนโรคต่อไป แต่ที่น่าตกใจ และต้องเฝ้าระวัง และเป็นเหตุผลทำไมต้องมีการเซมิล็อกดาวน์ ในการตรวจหาเชื้อในแคมป์คนงานก่อสร้างขนาดใหญ่แห่งหนึ่งใน กทม.พบว่ามีคนงาน […]

กรมวิทย์ฯ เผยผลเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิดในรอบสัปดาห์

อธิบดีกรมวิทย์ฯ เผยผลตรวจสายพันธุ์โควิด-19 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เฉพาะพื้นที่ กทม. เป็นสายพันธุ์เดลตา (สายพันธุ์อินเดีย) สูงถึงร้อยละ 52 ส่วนสายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ) ร้อยละ 47.8

กรมวิทย์ฯพัฒนาชุดตรวจแอนติบอดีเชื้อโควิด

สธ.6 พ.ย.-อธิบดีกรมวิทย์ แจงการตรวจหาภูมิคุ้มกัน ใช้การตรวจร่วมในการลดการกักตัว 10 วัน หาทั้งภูมิตอบสนอง IgM และภูมิคุ้มกัน IgG นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ล่าสุด กรมวิทย์ฯได้พัฒนาชุดตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ SARS-CoV-2 เป็นผู้ผลิตแรกของประเทศไทยที่ผ่านการทดสอบว่ามีความไว ความจำเพาะและความแม่นยำต่อโรคโควิด-19 มากกว่าร้อยละ 90 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1เดือน หากผ่านกรมวิทย์ฯจะผลิตเพื่อนำ มาใช้ในการสุ่มตรวจหาภูมิคุ้มกันคนไทย 60,000 คนทั่วประเทศ กระจายไปใน 12เขตสุขภาพ พื้นที่ละ 5,000 ชุด ใช้ตรวจได้ 5,000 คน เพื่อสรุปข้อมูลความชุกของโรคโควิด-19 ของไทย หากผลออกมาความชุกต่ำแสดงว่าต้องคงการ์ดสูงต่อไป เพราะแสดงว่าอัตราติดยังต่ำ ซึ่งกรมวิทย์ฯ มีกำลังการผลิตชุดตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ SARS-CoV-2ได้ 3,000 เทสต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ยังพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เอกชนที่สนใจ นำไปผลิตเพื่อจำหน่ายได้ ซึ่งการผลิตได้เองในประเทศทำให้ต้นทุนต่ำเพียงกว่า 150 บาทต่อเทสเท่านั้น ขณะที่หากนำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาอยู่ที่ 300-500 บาท นพ.ศุภกิจ […]

1 2
...