Nobel Prize in Chemistry

ชาวอเมริกันและ 2 ชาวอังกฤษคว้าโนเบลเคมีจากผลงานด้านโปรตีน

สตอกโฮล์ม 9 ต.ค.- นักเคมีชาวอเมริกันและนักเคมีชาวอังกฤษ 2 คน ได้รับการประกาศให้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2567 จากผลงานการถอดรหัสโครงสร้างโปรตีน ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการมีชีวิต ราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนประกาศให้นายเดวิด เบเกอร์ นักชีวเคมีชาวเมริกัน วัย 62 ปี จากมหาวิทยาลัยวอชิงตันของสหรัฐได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2567 ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ 2 คนจากกูเกิลดีปไมน์ ซึ่งเป็นห้องทดลองปฏิบัติการวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ในสหราชอาณาจักรที่อยู่ในเครือกูเกิล คือ นายเดมิส ฮาสซาบิส วัย 48 ปี และนายจอห์น เอ็ม จัมเปอร์ วัย 39 ปี นายเบเกอร์ได้รับรางวัลจากผลงานการออกแบบโปรตีนเชิงคำนวณ (computational protein design) ขณะที่นายฮาสซาบิสและนายจัมเปอร์ได้รับรางวัลจากผลงานการทำนายโครงสร้างโปรตีน (protein structure prediction) การประกาศผลรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในวันนี้เป็นรางวัลที่ 3 จากที่จะมีการประกาศทั้งหมด 6 สาขาด้วยกันประกอบด้วย สรีรวิทยาหรือการแพทย์ ฟิสิกส์ เคมี วรรณกรรม สันติภาพ และเศรษฐศาสตร์ แต่ละสาขาจะมีการมอบเหรียญและเงินรางวัล 11 […]

วิจัยใช้ลายนิ้วมือตรวจมะเร็งเต้านมแทนเมมโมแกรม

เชฟฟิลด์ 3 ม.ค.- คณะนักวิจัยในอังกฤษกำลังวิจัยการใช้ลายนิ้วมือตรวจมะเร็งเต้านมแทนการตรวจเมมโมแกรม ซึ่งจะรักษาชีวิตผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก เพราะค่าใช้จ่ายที่ลดลงจะเอื้อให้คนเข้ารับการตรวจเพิ่มขึ้น หนึ่งในคณะนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ ฮัลแลมเผยว่า ทำงานด้านนิติเวชมาร่วม 15 ปี ที่ผ่านมาใช้ลายนิ้วมือสืบหาตัวผู้ต้องสงสัยก่ออาชญากรรม เนื่องจากลายนิ้วมือมีเหงื่อ สามารถนำมาวิเคราะห์โมเลกุลด้วยเทคนิคแมสสเปกโตรเมตรี ที่ใช้วิเคราะห์ผลการวัดสัดส่วนมวลต่อประจุของอนุภาคที่มีประจุ เพื่อระบุมวลของอนุภาค ส่วนประกอบของธาตุในโมเลกุล และโครงสร้างทางเคมีของโมเลกุล แต่เพิ่งพบเมื่อไม่กี่ปีมานี้ว่า เหงื่อที่ลายนิ้วมือสามารถใช้หาตัวบ่งชี้มะเร็งได้ด้วย คณะนักวิจัยเผยว่า เหงื่อมีโมเลกุลหลายชนิด แต่ที่น่าสนใจคือโปรตีน เพราะสามารถบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยมีเนื้องอก เป็นมะเร็งระยะแรก หรือเป็นมะเร็งระยะแพร่กระจาย หวังว่าจะสามารถวิจัยจนพัฒนาให้การตรวจลายนิ้วมือเป็นวิธีตรวจมะเร็งเต้านมแทนการตรวจเมมโมแกรมได้ในอนาคต ซึ่งจะช่วยชีวิตคนได้เป็นจำนวนมาก เพราะสามารถเข้ารับการตรวจได้ง่ายขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง.-814.-สำนักข่าวไทย

นักวิจัยจีนค้นพบวิธีสังเคราะห์ “แป้ง-โปรตีน” จากซังข้าวโพด

ปักกิ่ง, 16 ม.ค. (ซินหัว) — เมื่อไม่นานนี้ คณะนักวิจัยชาวจีนได้พัฒนาวิธีการสังเคราะห์แป้งเทียมและโปรตีนจากจุลินทรีย์ (microbial proteins) ที่มีประสิทธิภาพสูงด้วยการใช้ซังข้าวโพด ซึ่งวิธีการนี้สามารถลดต้นทุนการผลิตแป้งเทียมและนำเสนอทางเลือกใหม่ในการผลิตอาหาร รายงานระบุว่าจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อให้เกิดความท้าทายอย่างมากต่อความมั่นคงทางอาหาร ดังนั้นการเปลี่ยนของเสียทางการเกษตรให้กลายเป็นอาหารเทียมจึงนับเป็นวิธีการสำคัญในการบรรเทาวิกฤตการณ์ด้านอาหารและบรรลุการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน คณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรจีน (CAAS) และสถาบันอื่นๆ ในจีน ได้ใช้ระบบโมเลกุลเอนไซม์หลากชนิด (multi-enzyme) และยีสต์ของขนมปัง เพื่อเปลี่ยนเซลลูโลส (cellulose) ในซังข้าวโพดให้เป็นแป้งเทียม และผลิตโปรตีนจากจุลินทรีย์ด้วยกระบวนการหมักภายใต้สภาวะที่มีก๊าซออกซิเจน (aerobic conditions) ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการผลิตทั้งหมดใช้เงินลงทุนค่าอุปกรณ์เพียงเล็กน้อย และไม่ต้องใช้โคเอนไซม์ (coenzyme) หรือพลังงาน รวมถึงไม่นำไปสู่การสูญเสียน้ำตาล ซึ่งก่อให้เกิดความเป็นไปได้ในการผลิตแป้งเทียมและโปรตีนจากจุลินทรีย์ด้วยต้นทุนต่ำ อนึ่ง ผลการศึกษาข้างต้นได้รับการตีพิมพ์ในวารสารไซเอนซ์ บูลเลติน (Science Bulletin)- สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230116/bc66ed28cbdf49ca99ba3085fd0d1b73/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/332859_20230117ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ญี่ปุ่นอนุมัติใช้วัคซีน “โนวาแว็กซ์”

โตเกียว 19 เม.ย.- ญี่ปุ่นอนุมัติอย่างเป็นทางการในวันนี้ให้ใช้วัคซีนต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่พัฒนาโดยโนวาแว็กซ์ คาดว่าจะเริ่มฉีดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน นายชิเกยูกิ โกโตะ รัฐมนตรีสาธารณสุขแถลงข่าวหลังจากรัฐบาลได้รับวัคซีนมาแล้ว 150 ล้านโดสว่า รัฐบาลซื้อวัคซีนลอตนี้ เพื่อเพิ่มปริมาณวัคซีนให้มีเสถียรภาพและความหลากหลาย และจะเริ่มจัดส่งไปยังรัฐบาลท้องถิ่นตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมเพื่อให้เริ่มฉีดในเดือนเดียวกัน เว็บไซต์สำนักข่าวเกียวโดนิวส์รายงานว่า ทาเคดะ ฟาร์มาซูติคัล บริษัทยายักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นจะเป็นผู้ผลิตเพื่อใช้ในประเทศ โดยรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโนวาแว็กซ์ บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของสหรัฐ ถือเป็นวัคซีนขนานที่ 4 ที่กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติให้ใช้อย่างเป็นทางการ แต่เป็นวัคซีนผลิตจากโปรตีนขนานแรก เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนโควิดที่มีอยู่ในปัจจุบันเนื่องจากมีความเสี่ยง เช่น อาการแพ้ ใช้ฉีดให้แก่ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ และใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ไปแล้ว 6 เดือน.-สำนักข่าวไทย

บ.อิสราเอลพัฒนาวัคซีนต้านโควิดแบบกิน

เยรูซาเลม 1 ส.ค.- บริษัทยาในอิสราเอลกำลังพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 แบบรับประทาน เตรียมทดลองทางคลินิกระยะแรกในต้นเดือนสิงหาคมนี้ นาดาฟ คิดรอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอ (CEO) ของออราเมด (Oramed) กล่าวว่า ในขณะที่ประชากรโลกได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบโดสเพียงร้อยละ 15 การต่อสู้กับการระบาดนี้ยังอีกไกลกว่าจะสำเร็จ หากมีวัคซีนแบบรับประทาน ไม่ต้องมีบุคลากรทางการแพทย์มาฉีดให้และสามารถจัดส่งถึงบ้านเรือนได้โดยตรง จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพราะช่วยลดภาระด้านโลจิติกส์ลงได้มาก และอาจช่วยเพิ่มอัตราการรับวัคซีนในประเทศพัฒนาแล้วที่ประชาชนบางส่วนลังเลที่จะรับวัคซีนแบบฉีด ผลสำรวจเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ชาวอเมริกันเกือบ 19 ล้านคนที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนยินดีรับวัคซีนแบบรับประทาน นอกจากนี้ยังช่วยลดขยะทางการแพทย์อย่างเข็มและหลอดฉีด พลาสติก และอาจมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ปัจจุบันมีวัคซีนแบบรับประทานน้อยมาก เช่น วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอแบบหยอด เนื่องจากวัคซีนส่วนใหญ่ไม่ทนทานต่อสภาวะกรดในระบบย่อยอาหาร ออราเมดเชื่อว่า สามารถแก้ปัญหานี้ด้วยการออกแบบแคปซูลทนทานต่อสภาวะกรดดังกล่าว จึงได้ตั้งบริษัทใหม่ชื่อ ออราแวกซ์ (Oravax) ผลิตวัคซีนต้านโควิดแบบรับประทาน โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตแคปซูลแบบเดียวกับแคปซูลอินซูลินสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แคปซูลอินซูลินของออราเมดมีสารเคลือบคุณภาพสูงช่วยให้ละลายช้า มีตัวยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอสในลำไล้เล็กไม่ให้ย่อยอินซูลิน และมีตัวกระตุ้นการดูดซึมอินซูลินเข้าไปในกระแสเลือด ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิกระยะสุดท้ายกับผู้ป่วยจำนวนมากในสหรัฐ คาดว่าจะทราบผลได้ในเดือนกันยายน 2565 ส่วนวัคซีนที่จะกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโควิดจะเลียนแบบโครงสร้างสำคัญ 3 อย่างของเชื้อไวรัสประกอบด้วยโปรตีนส่วนที่เป็นหนามแหลม (spike protein) โปรตีนส่วนที่เป็นเปลือกหุ้ม (envelope […]

จีนอนุมัติซิโนฟาร์มทดลองวัคซีนโควิดระยะ 3

ปักกิ่ง 10 เม.ย.- ไชนา เนชันแนล ไบโอเทค กรุ๊ป หรือซิโนฟาร์ม รัฐวิสาหกิจจีนแจ้งว่า ได้รับอนุมัติให้เดินหน้าทดลองระยะสามวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในจีนแล้ว ซิโนฟาร์มเผยว่า วัคซีนขนานนี้ประกอบด้วยโปรตีนของเชื้อไวรัสที่เพาะขึ้นเองในห้องทดลอง จึงไม่มีข้อกำหนดเรื่องต้องมีความปลอดภัยทางชีววิทยาสูง สามารถผลิตได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับวัคซีนอีก 2 ขนานของบริษัทที่ทำจากเชื้อยังมีชีวิต และทางการจีนนำไปฉีดให้แก่ประชาชนจำนวนมาก ขณะนี้จีนอนุมัติให้ใช้วัคซีนที่พัฒนาขึ้นเองแล้ว 4 ขนาน เป็นของซิโนฟาร์ม 2 ขนาน ซิโนแวก 1 ขนาน และกังซิโน ไบโอโลจิกส์อีก 1 ขนาน ส่วนวัคซีนของสถาบันจุลชีววิทยาแห่งสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ จีนที่ประกอบด้วยโปรตีนของเชื้อไวรัสได้รับอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีวัคซีนที่นักวิทยาศาสตร์จีนกำลังทดลองระยะต่าง ๆ มากกว่า 10 ขนาน จีนมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 สะสมราว 90,400 คน เสียชีวิตกว่า 4,630 คน.-สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ : 4 ประโยชน์ของการกินกุ้ง จริงหรือ?

บนโซเชียลแชร์แผ่นภาพเรื่องกุ้งประโยชน์เยอะกว่าที่คิด เปิด 4 ข้อคุณประโยชน์จากการกินกุ้ง เช่น เป็นแหล่งโปรตีน ลดความอ้วน บำรุงทารกในครรภ์ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ค้นพบโปรตีนที่ทำให้ผิวอ่อนเยาว์

คณะนักวิจัยญี่ปุ่นค้นพบโปรตีนที่ทำให้ผิวคงสภาพดังเดิม อ่อนเยาว์ ไม่โรยราไปตามวัย ตั้งเป้านำไปผลิตผลิตภัณฑ์ยับยั้งผิวเสื่อมสภาพและช่วยฟื้นฟูผิว

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใช้หัวปลีแทนเนื้อสัตว์ได้ จริงหรือ?

บนโซเชียลแชร์แนะนำว่า ต่างชาติกำลังฮิตหัวปลีไทย ใช้แทนเนื้อสัตว์สำหรับคนกินมังสวิรัติได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

นักเคมีอเมริกันสองคน อังกฤษหนึ่งคนคว้าโนเบลเคมีปีนี้

นักเคมีชาวอเมริกันสองคนและอังกฤษหนึ่งคนคว้ารางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปีนี้จากผลงานการนำพลังแห่งวิวัฒนาการมาพัฒนาโปรตีนที่สามารถแก้ปัญหาทางเคมีของมนุษยชาติ

ชัวร์ก่อนแชร์ : สุดยอดประโยชน์ของปลาทู จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำว่า ปลาทูมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีประโยชน์ต่อผู้รับประทานอย่างมาก เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

1 2
...