สธ. ห่วงเมาแล้วขับช่วงสงกรานต์ ย้ำ! “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ”

สธ. ห่วงสงกรานต์เมาแล้วขับ ย้ำปฏิเสธเป่าวัดเมา ต้องโดนเจาะเลือดวัดแอลกอฮอล์ ย้ำช่วง 7 วันอันตรายตรวจวัดแอลกอฮอล์ ให้ฟรี อนาคตเตรียมของบฯ สนับสนุนทำให้ไม่มีค่าใช้จ่าย หลังทุกปีต้องใช้งบฯ 20-30 ล้านบาท

ตร.ท้ายเหมือง แจงปมไม่ตรวจแอลกอฮอล์ “ไฮโซปลาวาฬ”

ตำรวจท้ายเหมืองชี้แจงไม่ตรวจแอลกอฮอล์ “ไฮโซปลาวาฬ” อ้างส่งเครื่องวัดแอลกอฮอล์ไปตรวจคุณภาพและไม่มีข้อสงสัยว่าเมา โดยแจ้งข้อหาขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นได้รับความเสียหาย และเปรียบเทียบปรับ 1,000 บาท

“แอลกอฮอล์วอช” ไม่ค้านปลดล็อกผลิตน้ำเมา

“แอลกอฮอล์วอช” ไม่ค้านปลดล็อกผลิตน้ำเมา ลดการผูกขาดทุนใหญ่ ทุนข้ามชาติ จี้ ส.ส.ในสภา ถกมาตรการคุ้มครอง สุขภาพ-สังคม ดึงคนผลิต คนขายร่วมรับผิดชอบตามกฎหมาย ลั่นอย่ามองแต่แง่ดี เล็งเพิ่มปริมาณอย่างเดียว

คณะกรรมการสุขภาพญี่ปุ่นเพิ่มพื้นที่เข้มโควิดอีก

โตเกียว 25 ม.ค.- ญี่ปุ่นเตรียมขยายพื้นที่ที่ต้องอยู่ภายใต้มาตรการเข้มงวดเพื่อจำกัดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 อีก 18 แห่ง จากปัจจุบัน 16 แห่ง หลังจากคณะกรรมการสุขภาพเห็นชอบให้ขยายพื้นที่ ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากญี่ปุ่นมียอดผู้ติดเชื้อและผู้ติดเชื้อเข้าโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเพราะเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน โดยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่า 44,000 คนเมื่อวันจันทร์ คณะกรรมการสุขภาพเห็นชอบให้ขยายพื้นที่ที่ต้องอยู่ภายใต้มาตรการเข้มงวดอีก 18 แห่ง เช่น จังหวัดทางตะวันตกอย่างโอซากาและเกียวโต เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่มีอยู่ 16 แห่ง รวมครอบคลุมพื้นที่มากกว่าร้อยละ 70 ของประเทศ มาตรการนี้ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดขอให้ร้านอาหารและบาร์ลดชั่วโมงการให้บริการและงดจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม-20 กุมภาพันธ์ นอกจากนี้คณะกรรมการสุขภาพยังเห็นชอบให้ขยายมาตรการกึ่งสถานการณ์ฉุกเฉินใน 3 ภูมิภาคออกไปจนถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ด้วย คณะทำงานเฉพาะกิจที่มีนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะเป็นประธานจะอนุมัติอย่างเป็นทางการภายในวันนี้ ขณะเดียวกันนายฮิโรกาซุ มัตสึโนะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขจะอนุญาตให้แพทย์วินิจฉัยผู้มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดโควิดและผู้มีอาการโควิดว่าเป็นผู้ติดเชื้อเช่นกันโดยไม่ต้องตรวจหาเชื้อ หากทางการท้องถิ่นพิจารณาแล้วว่าจำเป็นต้องทำ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อรับการตรวจและรักษาโดยทันที ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์มองว่า มาตรการนี้คล้ายกับการรับมือกับไข้หวัดใหญ่ระบาดในชุมชนที่เผชิญกับการระบาดหนัก.-สำนักข่าวไทย

ดื่มเหล้าทำภูมิต้านทานลดเสี่ยงโควิด

ศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด พบข้อมูลวิชาการยืนยันการดื่มแอลกอฮอล์ทำลายภูมิคุ้มกัน ผู้ที่ดื่มสุรามีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 ได้มากกว่าคนที่ไม่ดื่มสูงถึง 6 เท่า เสี่ยงอวัยวะอักเสบรุนแรง

ชัวร์ก่อนแชร์: ห้ามดื่มสุราเป็นเวลา 5 เดือนหลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

9 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Tempo CekFakta (อินโดนีเซีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จบางส่วน บทสรุป: แอลกอฮอล์ไม่มีผลต่อการทำงานของวัคซีน กระนั้น งานวิจัยพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากๆ อาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เว้นการดื่มสุราปริมาณมากๆ ในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนฉีดวัคซีนโดสแรก และช่วง 1 เดือนหลังฉีดวัคซีนโดสที่ 2 ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ข้อความทาง Facebook ในประเทศอินโดนีเซียว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว ห้ามดื่มสุราหรือรับประทานข้าวหมัก (tapai) เป็นเวลา 5 เดือน เพราะจะทำให้วัคซีนหมดประสิทธิภาพในการป้องกันโรคทันที FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Tempo CekFakta เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของอินโดนีเซียยืนยันว่า ข้อกล่าวอ้างนี้ไม่มีหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์ เพราะไม่พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อการป้องกันโรคของวัคซีนแต่อย่างใด ฮินดรา ซัตตารี ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติอินโดนีเซีย (Komnas KIPI) ยืนยันว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ส่งผลต่อการทำงานของวัคซีน และการฉีดวัคซีนไม่ส่งผลต่อการบริโภคของประชาชนแต่อย่างใด สิติ […]

“ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” สงกรานต์ 64

สธ.11 มี.ค.-คกก.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เห็นชอบมาตรการป้องกันควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2564 ภายใต้แนวคิด “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” บ่ายวันนี้ (11 มี.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับมอบหมายจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ประชุมคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ครั้งที่1/2564 โดยคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้เสนอให้ประสานงานกับศบค. เพื่อกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ให้ปลอดภัยจากโควิด 19 และอุบัติเหตุทางถนน (Free Alcohol Free Covid-19) โดยกำหนดให้สถานที่จัดกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์ต้องไม่มีการขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณสถานที่จัดงาน และมีจุดสกัดเพื่อคัดกรองผู้ดื่มแล้วขับ ตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า คณะกรรมการ ฯ เห็นชอบให้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด/กทม. ร่วมกับศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด สรรพสามิต และฝ่ายปกครอง จัดทำแผนมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดอุบัติเหตุทางถนน บูรณาการร่วมกับแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเข้มงวดการบังคับใช้กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เน้นการห้ามขายให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ห้ามขายในลักษณะการลด แลก […]

แค่หยอกสื่อฯ ไม่ควรเป็นเรื่องใหญ่

ทำเนียบ 11 มี.ค.- อนุทิน เผย นายกฯ หยอกสื่อฯ ชี้ แอลกอฮอล์ไม่ใช่สารพิษอันตราย เชื่อเหตุนี้จะทำสัมพันธ์ สื่อ-รัฐมนตรี ระมัดระวังมากขึ้น

ผบ.ตร.เผยปีใหม่ลดด่านเป่าแอลกอฮอล์

ผบ.ตร. เผยช่วงปีใหม่ลดการตั้งด่านเป่าแอลกอฮอล์ ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เชื่อไม่กระทบการป้องกันอุบัติเหตุในการเดินทาง

เสวนากฏหมายควบคุมน้ำเมา ไม่ลิดรอนสิทธิประชาชน

กรุงเทพฯ 2 ก.ย.-เวทีเสวนา ย้ำกฎหมายควบคุมน้ำเมาไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เครื่องมือกลั่นแกล้งคนทำมาหากิน และไม่ได้ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน วันนี้ (2ก.ย.) ที่เดอะฮอลล์ บางกออก ในเวทีเสวนาหัวข้อ “ผ่าความจริง…มาตรา32คุมโฆษณาน้ำเมาเพื่อใคร” จัดโดย เครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ และเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ ผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว นักวิจัยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา โฟนอินร่วมเวทีว่า จากกรณีมีการขยายประเด็นโจมตี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มาตรา32 ว่าจำกัดสิทธิเสรีภาพ ขัดต่อรัฐธรรมนูญเกิดกระแสแบนหรือห้ามโฆษณาสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอ้างว่ามีประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่มีกฎหมายนี้ ตนมองว่าเป็นขบวนหนึ่งของการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ เช่น กลุ่มธุรกิจ craft beer ที่ต้องการขยายตลาด เขามองว่าตัวกฎหมายจำกัดโอกาสขยายตลาด แม้ทุนใหญ่จะไม่กระทบมากนักแต่ถ้าแก้กฎหมายได้ ทุนใหญ่จะปลดล็อกและได้ประโยชน์มากขึ้น เพราะทุ่มโฆษณาและการตลาดได้เพิ่มขึ้น “ต้องสร้างความเข้าใจว่ากฎหมายนี้ ไม่ได้มีเพียงประเทศไทยที่บังคับใช้ แต่มีครอบคลุมประเทศต่างๆ ทั่วโลกถึง70%และอ้างอิงตามหลักการประกาศขององค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องสร้างความชัดเจนขั้นตอนบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งอาจแก้ไขในกฎหมายลูกหรือชัดเจนในแนวทางปฏิบัติ เพื่อช่วยลดแรงกดดันจากภาคประชาชน และช่วยสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนด้วย” นักวิจัยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าว ผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ประเทศฟินแลน์ ถือว่ามีกฎหมายกำกับสื่อโฆษณาที่เข้มแข็ง ทำให้การดื่มลดน้อยลง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในประเทศอเมริกา ที่แบ่งสื่อ 3 […]

1 2 3 4 8
...