ชัวร์ก่อนแชร์: ยาปลุกเซ็กซ์ทำให้ผู้ป่วยเอดส์เป็นมะเร็ง จริงหรือ?
แม้การใช้ป๊อปเปอร์จะมีผลต่อภูมิคุ้มกัน แต่สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเอดส์เป็นมะเร็งชนิดคาโปซิ ซาร์โคมา มาจากสภาวะระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
แม้การใช้ป๊อปเปอร์จะมีผลต่อภูมิคุ้มกัน แต่สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเอดส์เป็นมะเร็งชนิดคาโปซิ ซาร์โคมา มาจากสภาวะระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
แม้ยา AZT จะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้มากและทำให้เกิดไวรัสดื้อยาได้ง่าย แต่ก็ช่วยให้วงการแพทย์พบว่าการรักษาผู้ป่วยเอดส์จำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสหลายสูตร
สมมุติฐานดูสเบิร์กเคยถูกใช้กำหนดนโยบายรับมือโรคเอดส์ในแอฟริกาใต้ ทำให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคเอดส์มากกว่า 3 แสนราย
องค์การเภสัชกรรม (GPO) พัฒนายาต้านไวรัสสูตรใหม่ GPO-Hep C เพื่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและเข้าถึงยาอย่างเท่าเทียม สอดคล้องแนวคิด “Equalize ทำให้เท่าเทียม” เนื่องในวันเอดส์โลก
วอชิงตัน 23 ส.ค.- นพ. แอนโธนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อที่เป็นหัวหน้าคณะรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของสหรัฐประกาศเมื่อวันจันทร์ว่า จะลาออกจากการทำงานในหน่วยงานรัฐบาลในสิ้นปีนี้ หลังจากทำมานานกว่า 50 ปี นพ.เฟาชี ซึ่งจะมีอายุครบ 82 ปี ในเดือนธันวาคม ทำงานในรัฐบาลประธานาธิบดีสหรัฐมาแล้ว 7 คนตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติมาตั้งแต่ปี 2527 และรับตำแหน่งแพทย์ใหญ่ที่ปรึกษาประธานาธิบดีตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 เขาออกแถลงการณ์ว่า จะลาออกจากทั้งสองตำแหน่งในเดือนธันวาคมนี้ แต่ยังไม่เกษียณตัวเอง เพราะจะทำงานในวิชาอาชีพของตัวเองต่อไป ด้านประธานาธิบดีโจ ไบเดน แถลงขอบคุณ นพ.เฟาชีจากใจจริง เพราะเป็นผู้ที่ช่วยให้สหรัฐแข็งแรงขึ้น มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และมีสุขภาพที่ดีขึ้น นพ.เฟาชีเป็นคนตรงไปตรงมา จึงมีทั้งคนชอบและไม่ชอบ เขาเคยขัดแย้งกับอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เรื่องการรับมือโควิด และเป็นที่เกลียดชังของกลุ่มฝ่ายขวาที่ต่อต้านการใช้มาตรการป้องกันโควิด ถึงขั้นถูกข่มขู่คุกคามทั้งครอบครัว เขาเคยเป็นแกนนำวิจารณ์รัฐบาลสหรัฐเรื่องไม่หาทางหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเอชไอวีและโรคเอดส์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 และสามารถทำให้รัฐบาลหันมาให้ความสนใจในเรื่องนี้.-สำนักข่าวไทย
นิวเดลี 14 ส.ค.- ผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ในอินเดียเผยว่า กำลังประสบปัญหาในการได้รับยาต้านไวรัสที่รัฐแจกฟรี ซึ่งจำเป็นต้องรับประทานทุกวันเพื่อควบคุมปริมาณเชื้อในร่างกาย ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขอินเดียปฏิเสธว่าไม่มีปัญหายาขาดแคลน อินเดียมีผู้ติดเอชไอวีประมาณ 2 ล้าน 3 แสนคน มากเป็นอันดับ 3 ของโลก รัฐบาลเริ่มแจกยาต้านไวรัสฟรีตั้งแต่ปี 2547 หรือ 3 ปีหลังจากซิปลา (Cipla) บริษัทยารายใหญ่ของประเทศเริ่มผลิตยาสามัญของยาต้นตำรับสูตรผสม 3 ขนานที่ก่อนหน้านั้นมีราคาแพงมากและผลิตโดยบริษัทยาข้ามชาติ ค่ายาของยาต้นตำรับตกปีละ 12,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 423,876 บาท) ขณะที่ค่ายาของซิปลาเหลือปีละ 350 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 12,363 บาท) แต่ก็ยังมีผู้ติดเชื้อในอินเดียจำนวนมากที่ไม่สามารถจ่ายได้ และต้องพึ่งพายาแจกฟรีตามศูนย์รักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีอยู่ทั่วประเทศ หลายสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ติดเชื้อและนักเคลื่อนไหวพากันประท้วงหน้าสำนักงานองค์การควบคุมเอดส์แห่งชาติ (Naco) สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเรื่องยาขาดแคลนอย่างหนัก ผู้ติดเชื้อรายหนึ่งต้องรับประทานยาต้านสูตรสำหรับเด็กวันละ 11 เม็ด แก้ปัญหาขาดแคลนยาต้านแจกฟรีสูตรสำหรับผู้ใหญ่ที่รับประทานวันละ 2 เม็ด ผู้ติดเชื้ออีกรายเผยว่า ศูนย์รักษาด้วยยาต้านไวรัสเริ่มแจกยาเป็นรายสัปดาห์ จากเดิมที่แจกอย่างน้อย 1 เดือน เพิ่มภาระให้แก่ผู้ติดเชื้อในการเดินทางไปรับยา […]
สำนักงานอาหารและยาสหรัฐ หรือเอฟดีเอ (FDA) อนุมัติการใช้ยาฉีดป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ โดยเป็นยาฉีดขนานแรกที่ใช้สำหรับป้องกันก่อนสัมผัสโรค หรือเพร็บ (PrEP)
ปารีส 1 ธ.ค.- ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เชื้อไวรัสเอชไอวีและโรคเอดส์อุบัติขึ้นบนโลกนี้มานาน 40 ปี แล้ว แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าเรื่องวัคซีน เหตุผลหนึ่งคือ การขาดเจตนารมณ์ทางการเมืองและการลงทุนขนานใหญ่ดังที่เกิดขึ้นกับการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ปัจจุบันทั่วโลกมีคนติดเชื้อเอชไอวีที่ยังมีชีวิตอยู่ราว 38 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจนถึงปี 2563 รวมแล้วราว 36 ล้าน 3 แสนคน องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันเอดส์โลกมาตั้งแต่ปี 2531 เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องโรคเอดส์ที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี ซึ่งมีผู้ป่วยครั้งแรกในปี 2526 แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าเรื่องวัคซีนป้องกัน โอลิวิเยร์ ชวาร์ตซ์ หัวหน้าหน่วยไวรัสและภูมิต้านทานของสถาบันปาสเตอร์ในกรุงปารีสชี้ว่า คนส่วนใหญ่สามารถหายได้เองตามธรรมชาติเมื่อติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใหม่ ๆ และจะมีภูมิคุ้มกันหลังจากนั้น แต่สิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นกับการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี เพราะกลายพันธุ์ได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัสโคโรนา จึงยากที่จะทำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีตามธรรมชาติเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ด้านนิโคลาส์ มาเนล ผู้อำนวยการการวิจัย สถาบันสุขภาพและการวิจัยทางการแพทย์แห่งชาติของฝรั่งเศสชี้ว่า ตลาดวัคซีนป้องกันโรคเอดส์มีมูลค่าน้อยเกินไปสำหรับกลุ่มเวชภัณฑ์ จึงขาดการลงทุนอย่างน่าผิดหวัง นักวิจัยจำนวนมากมีความกระตือรือร้น แต่ต้องทำตามงบประมาณที่มี ดังนั้นในเมื่อไม่มีความคืบหน้าเรื่องวัคซีน จึงมีแต่เพียงการรณรงค์ให้ป้องกันการติดเชื้อด้วยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย งดใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน และเพิ่มการเข้าถึงการดูแลสุขภาพให้แก่กลุ่มด้อยโอกาส.-สำนักข่าวไทย
ดาการ์ 3 พ.ย.- สหประชาชาติเตือนว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ระบาดอาจทำให้แอฟริกาตะวันตกและตอนกลางมีผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีและผู้เสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์เพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปี เพราะระบบสาธารณสุขสะดุด ผู้อำนวยการโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอดส์ (UNAIDS) เผยว่า กำลังประเมินว่าโควิด-19 ระบาดมีผลต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีอย่างไร แต่ได้เห็นการสะดุดบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้น จึงค่อนข้างกังวลว่า เมื่อได้รับข้อมูลทั้งหมดของปีนี้อาจได้เห็นยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น และอาจได้เห็นผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปี เพราะหลายประเทศมีคนรับการป้องกันการติดเชื้อและตรวจหาเชื้อลดลง และมีผู้ไม่ได้รับการรักษาเพิ่มขึ้น ระบบสาธารณสุขในแอฟริกาตะวันตกและตอนกลางตึงตัว เพราะรัฐบาลต้องนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปรับมือกับโควิด-19 ขณะที่มาตรการจำกัดการระบาด เช่น ล็อกดาวน์ ทำให้คนถูกจำกัดการเข้าถึงการป้องกันและรักษา ข้อมูลของยูเอ็นเอดส์ระบุว่า ปี 2563 แอฟริกาตะวันตกและตอนกลางมีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์มากถึงร้อยละ 22 ของทั้งหมด และมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ราว 200,000 คน จากทั้งหมด 1 ล้าน 5 แสนคน ผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเปราะบางอย่างเด็กหญิง สตรี ชายรักเพศเดียวกัน ผู้ขายบริการทางเพศ ผู้เสพยาเสพติด และผู้ต้องขัง.-สำนักข่าวไทย
กรุงเทพฯ 11 มี.ค.-กรมบัญชีกลางปรับปรุงหลักเกณฑ์ค่ารักษาพยาบาล ผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคไตวายเรื้อรัง เริ่ม 15 มีนาคมนี้ นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า โครงการเบิกจ่ายตรงค่ารักษา พยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังด้วยวิธีการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียมมาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว เบิกจ่ายตรงค่าฟอกเลือด จากโรงพยาบาลของรัฐและ รพ.เอกชนที่เข้าร่วมโครงการ ไม่เกินครั้งละ 2,000 บาท ส่วนมีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง แต่เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ยังเข้าไม่ถึงฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เพราะค่าใช้จ่ายสูง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงได้ปรับอัตราการจ่ายเงินชดเชยค่าบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้มากขึ้นด้วย เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาล สอดคล้องกับสิทธิ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพฯ กรมบัญชีกลางจึงปรับปรุงหลักเกณฑ์ และค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หากเป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีด้วย และมีความจำเป็นต้องล้างไต เบิกจ่ายได้ครั้งละไม่เกิน 4,000 บาท เพื่อความเหลื่อมล้ำในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของทั้ง 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม และกรมบัญชีกลางเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ตรวจสอบการให้บริการกับสถานพยาบาลเอกชนได้จากแอพพลิเคชั่น “CGD.iHealthCare” เลือกเมนูสถานพยาบาลที่เข้าร่วม เลือกกลุ่มเฉพาะโรค […]
องค์การอนามัยโลกชี้ต้องยกเครื่องระบบสาธารณสุขทั่วโลกให้ควบคุมการแพร่เชื้อและรับมือกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ให้เหมือนกับที่รับมือกับโรคเอดส์และเชื้อไวรัสเอชไอวี
บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อมูลว่า ทุกคนที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้วหาย จะไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกเลย เพราะเชื้อโควิด-19 ประกอบด้วยโรคซาร์ส และโรคเอดส์ ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์