SPCG ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ กำไรปี 63 เพิ่มขึ้น
SPCG ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ กำไรปี 63 เพิ่มขึ้น
SPCG ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ กำไรปี 63 เพิ่มขึ้น
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผยเศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคม 2564 ส่งสัญญาณชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า ทั้งในด้านการใช้จ่ายภายในประเทศ และในด้านการท่องเที่ยว
“อาคม” รมว.คลัง เผยเตรียมจัดเจ้าหน้าที่เคาะประตูบ้านรับลงทะเบียนให้กับคนไม่มีสมาร์ทโฟน เริ่ม 22 ก.พ.นี้ เพิ่มธนาคารออมสิน-ธ.ก.ส. ช่วยรับลงทะเบียน ระบุมีคนใช้เงินแล้วกว่า 2 หมื่นล้าน
เอกชนไม่กังวลอภิปรายไม่ไว้วางใจ เชื่อรัฐบาลชี้แจงข้อเท็จจริงได้ แต่ห่วงการเมืองลงถนนกระทบเชื่อมั่น
รมว.คลัง ระบุ เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นนับจากนี้ไปจะต้องมีวัคซีน 3 ตัว คือ วัคซีนเศรษฐกิจระดับประเทศ วัคซีนภาคการผลิตและบริการ และวัคซีนระดับประชาชน
ที่ประชุม กนง. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล โดยพบว่า ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2563 ผู้ประกอบการฯมีภาวะความเชื่อมั่นดีขึ้น จากการประกาศใช้มาตรการ LTV ได้สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการฯยังคงขาดความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย
บล.ไทยพาณิชย์ มองตลาดหุ้นไทยโดยรวมปี 2564 มีแนวโน้มสดใสแต่ยังคงผันผวนสูง ด้วยแรงหนุนจากสภาพคล่องตลาดการเงิน อิทธิพลเงินทุนต่างชาติไหลเข้า และความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของผลการดำเนินงานที่ต่อเนื่องถึงปีหน้า พร้อมประเมินเป้า SET Index ที่เหมาะสมอ้างอิงปัจจัยพื้นฐานอยู่ที่ 1,450 – 1,500 จุด
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ปรับลดการคาดหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2021 ไปอยู่ที่ร้อยละ 7.9 หลังจากเมื่อปีที่แล้วเกิดค่าใช้จ่ายในด้านทรัพยากรมนุษย์และเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤติการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
เศรษฐกิจของสิงคโปร์ประสบภาวะถดถอยครั้งรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2020 เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวอย่างหนัก
“พิชัย” คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2564 “ยากลำบากและเสื่อมถอยหนัก” ชี้ไทยต้องการผู้นำที่ทันโลก แนะพัฒนากรอบคิดก่อนไทยตกยุคไปไกล
กรุงเทพฯ 30 ธ.ค. – ธปท. เผย เศรษฐกิจ พ.ย. ฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ไม่ทั่วถึง เฝ้าระวังการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนพฤศจิกายน 2563 ทยอยฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวยังไม่ทั่วถึง และหลายเครื่องชี้เศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำในปีก่อนด้วย โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน การใช้จ่ายที่ปรับดีขึ้นในทุกหมวด สอดคล้องกับปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อที่มีทิศทางทยอยปรับดีขึ้น ทั้งการจ้างงาน รายได้ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมทั้งได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐและวันหยุดยาวพิเศษ ประกอบกับมีผลของฐานต่ำในปีก่อนทั้งในหมวดสินค้าคงทนและไม่คงทน ทั้งนี้ แม้เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนโดยรวมอยู่ในทิศทางการฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวของกำลังซื้อภาคครัวเรือนยังเปราะบางสะท้อนจากอัตราการว่างงานที่ยังสูง รวมทั้งยังมีความแตกต่างกันตามกลุ่มรายได้และพื้นที่ ด้านการลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการลงทุนหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุนที่ปรับดีขึ้นมากจากการนำเข้าโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่เปิดตัวช้ากว่าปีก่อน สำหรับการลงทุนหมวดก่อสร้างหดตัวน้อยลงจากยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่กลับมาขยายตัว ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนกลับมาขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน จากทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน ส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานต่ำในปีก่อนที่ พ.ร.บ. งบประมาณปี 2563 ประกาศใช้ล่าช้า โดยรายจ่ายประจำกลับมาขยายตัวจากการเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร และการเบิกจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ สำหรับรายจ่ายลงทุนขยายตัวสูงขึ้นตามการลงทุนของรัฐบาลกลางด้านคมนาคมและชลประทาน ขณะที่การลงทุนของรัฐวิสาหกิจหดตัว ขณะเดียวกัน การส่งออกสินค้า มูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัวร้อยละ 3.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน หดตัวน้อยลงสอดคล้องกับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ทยอยฟื้นตัว […]