บังกลาเทศจะซื้อข้าวจากเมียนมาแก้วิกฤติขาดแคลน

ธากา 24 ม.ค.- บังกลาเทศจะซื้อข้าว 100,000 ตัน จากเมียนมา เพราะต้องเร่งแข่งกับเวลาแก้ไขวิกฤติขาดแคลนข้าวที่เป็นอาหารหลักของประชากรกว่า 160 ล้านคน ปลัดกระทรวงอาหารของบังกลาเทศแถลงวันนี้ว่า บังกลาเทศจะนำเข้าข้าวขาวจากเมียนมาตามข้อตกลงแบบรัฐบาลกับรัฐบาล ในราคาตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 14,550 บาท) ครอบคลุมราคา ค่าประกัน และค่าขนส่ง จุดประสงค์หลักคือ ต้องการทำให้ราคาข้าวถูกลง โดยจะมีการลงนามโดยเร็ว และทยอยส่งมาภายในเดือนเมษายน ปลัดกระทรวงเสริมด้วยว่า รัฐบาลอาจสั่งซื้อข้าวมากถึง 10 ล้านตัน ขณะที่ผู้ค้าเอกชนได้รับอนุญาตให้ซื้ออีก 10 ล้านตัน ในปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนมิถุนายนนี้ นอกจากนี้จะซื้อข้าว 150,000 ตัน จากองค์กรของทางการอินเดียตามข้อตกลงแบบรัฐบาลกับรัฐบาล และกำลังเจรจากับอีกหลายหน่วยงานของทางการอินเดีย ปกติแล้วบังกลาเทศผลิตข้าวได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก เฉลี่ยปีละ 35 ล้านตัน เกือบทั้งหมดเป็นการบริโภคในประเทศ หลายครั้งต้องนำเข้าเพราะเกิดภัยแล้งหรือน้ำท่วม ปีที่แล้วเกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ผลผลิตข้าวเสียหายจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาข้าวปรับขึ้นไปทำสถิติสูงสุด.-สำนักข่าวไทย

อินเดียส่งวัคซีนโควิดให้ประเทศเพื่อนบ้านเป็นของขวัญ

นิวเดลี 22 ม.ค. – อินเดียได้จัดส่งวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย หรือที่รู้จักกันในชื่อ โควิชิลด์ให้แก่เมียนมา เซเชลส์ และมอริเชียส ภายใต้โครงการบริจาควัคซีนให้ประเทศเพื่อนบ้านก่อน (Neighbourhood First) รัฐบาลอินเดียได้จัดส่งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านและพันธมิตรที่สำคัญ ได้แก่ ภูฏาน 150,000 โดส มัลดีฟส์ 100,000 โดส บังกลาเทศ 2 ล้านโดส เนปาล 1 ล้านโดส เซเชลส์ 50,000 โดส เมียนมา 1.5 ล้านโดส และมอริเชียส 150,000 โดส อีกทั้งยังเตรียมวางแผนจัดส่งวัคซีนให้แก่อัฟกานิสถานและศรีลังกาอีกด้วย นอกจากนี้ อินเดียจะเริ่มจัดส่งวัคซีนโควิชิลด์ให้อีกหลายประเทศที่ทำข้อตกลงซื้อวัคซีนจากสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยที่ในช่วงเช้าตรู่ของวันนี้มีเครื่องบิน 2 ลำที่ขนส่งวัคซีนลำละ 2 ล้านโดสไปยังบราซิลและโมร็อกโก นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดียกล่าวว่า รัฐบาลอินเดียจะยังคงให้ความสำคัญด้านความต้องการดูแลสุขภาพของชาวอินเดียเป็นลำดับแรก รวมถึงมนุษยชาติเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากรัฐบาลทั่วโลกต่างพยายามที่จะควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 เช่นเดียวกัน ขณะนี้ […]

วอนคริสตชนในเมียนมาบริจาคเงินซื้อวัคซีนโควิด

ย่างกุ้ง 18 ม.ค.- สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งเมียนมาหรือซีบีซีเอ็ม (CBCM) วอนชาวคาทอลิกทั่วประเทศบริจาคเงินเพื่อนำไปจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ซีบีซีเอ็มออกหนังสือลงวันที่ 17 มกราคมว่า ขอให้ชาวคาทอลิกบริจาคเงินผ่านสังฆราชในสังฆมณฑล เพื่อให้ซีบีซีเอ็มส่งต่อให้รัฐบาลนำไปจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 การที่นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาวัคซีนขึ้นมาได้ ถือเป็นแสงแห่งความหวังที่จะพ้นจากโรคโควิด-19 ขณะเดียวกันการแพร่ระบาดในขณะนี้เป็นสัญญาณเตือนว่า ทุกคนจำเป็นต้องอยู่กับธรรมชาติผู้เป็นมาตุภูมิอย่างสันติและกลมกลืน ทุกคนในฐานะพ่อแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งต่อโลกที่เป็นธรรมชาติให้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน โดยไม่ล้างผลาญทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมด ซีบีซีเอ็มย้ำเตือนให้คริสตชนในเมียนมาปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข และขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 เว็บไซต์สำนักข่าวซินหัวของจีนอ้างกระทรวงสาธารณสุขและกีฬาของเมียนมาว่า เมื่อวานนี้เมียนมามีผู้ป่วยโรคโควิด-19 รายใหม่ 449 คน ทำให้ยอดสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 134,318 คน มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 13 คน รวมเป็น 2,955 คน และมีการตรวจหาเชื้อไปแล้วกว่า 2.13 ล้านคน.-สำนักข่าวไทย

โควิดทำโรงแรมเมียนมาปิดชั่วคราวร่วมพันแห่ง

ย่างกุ้ง 17 ม.ค.- เมียนมาแจ้งว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทำให้โรงแรมต้องปิดให้บริการชั่วคราวราว 1,000 แห่ง มีคนว่างงานราว 30,000 คน เว็บไซต์อิรวดีรายงานอ้างกระทรวงการท่องเที่ยวเมียนมาว่า โรงแรมประมาณ 1,000 แห่ง คิดเป็นครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่ทั้งหมด ปิดให้บริการชั่วคราวเพราะมาตรการจำกัดการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ส่งผลให้พนักงานโรงแรมว่างงานราว 30,000 คน ตัวเลขก่อนเกิดโรคโควิด-19 เมียนมามีโรงแรมและเกสต์เฮาส์มากกว่า 2,000 แห่ง จ้างงานคนกว่า 64,000 คน ขณะที่ตัวเลขจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ธุรกิจนี้จ้างงานคนลดลงเหลือกว่า 36,000 คน ล่าสุดโรงแรมระดับห้าดาวแห่งหนึ่งในนครย่างกุ้งประกาศปิดให้บริการชั่วคราวเป็นเวลา 9 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางการเงินจากโรคโควิด-19 หลังจากขาดทุนยืดเยื้อมาตั้งแต่ปีก่อน ขณะที่โรงแรมในเมืองพุกาม ดินแดนแห่งทะเลเจดีย์และแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกก็ประกาศจะปิดชั่วคราวราว 2 ใน 3 เพราะเดือดร้อนหนักในการหาทางอยู่รอด.-สำนักข่าวไทย

รับคนไทยจากบ่อนเมียวดีกลับไทยอีก 50 คน

วันนี้ ฝ่ายความมั่นคงอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก รับตัวคนไทยกลุ่มเสี่ยงสูงจากบ่อนกาสิโนเมียนมา ข้ามกลับมาอำเภอแม่สอดเป็นชุดที่ 4 อีก 50 คน

“หวัง อี้” เยือนเมียนมาให้คำมั่นเรื่องจัดหาวัคซีนโควิด

นายหวัง อี้ มนตรีเเห่งรัฐเเละรัฐมนตรีประเทศจีนเดินทางเยือนเมียนมาเพื่อหารือเกี่ยวกับการกระชับความร่วมมือ

สกัดจับแก๊งขนคนข้ามแดน-คนไทยหนีตายเมียนมาเข้าไทย

คนไทยที่เข้าไปทำงานในกาสิโนฝั่งเมียนมา ก็ยังขอข้ามเข้ามาฝั่งไทย เพราะอยากหนีตายจากโควิด-19 ล่าสุดเข้ามา 40 คน ตรวจพบติดเชื้อถึง 17 คน และจากข้อมูลยังพบว่ามีคนไทยอีกหลายร้อยคนกำลงขอข้ามกลับมา

ตำรวจเมียนมาบุกจับชาวโรฮิงญาเกือบร้อยคน

ย่างกุ้ง 7 ธ.ค. – ตำรวจเมียนมาจับกุมชาวโรฮิงญาเกือบ 100 คนที่หลบหนีมาจากรัฐยะไข่ทางตะวันตก มายังนครย่างกุ้ง ขณะที่ชาวโรฮิงญากำลังถูกส่งตัวไปยังมาเลเซีย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับขบวนการค้ามนุษย์ ตำรวจนครย่างกุ้งนำกำลังบุกเข้าตรวจสอบบ้าน 2 หลังในเมืองชเว-ปยีตาและพบชาวโรฮิงญา 99 คนที่หลบหนีมาจากรัฐยะไข่ รองผู้กำกับการตำรวจเมืองชเว-ปยีตากล่าวว่า ชาวโรฮิงญากลุ่มนี้หลบหนีมาจากเมืองหม่องดอว์ บูตีด่อง ซิตตเว และเจ๊าตอของรัฐยะไข่เพื่อไปทำงานในมาเลเซีย ทั้งยังระบุว่า ตำรวจเมียนมาจะดำเนินการสืบสวนว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการลักลอบพาชาวโรฮิงญาหนีไปมาเลเซียในครั้งนี้ แต่เขาไม่สามารถยืนยันได้ว่า ชาวโรฮิงญากลุ่มนี้จะถูกส่งตัวกลับไปรัฐยะไข่หรือไม่ สื่อท้องถิ่นของเมียนมาเผยแพร่ภาพชาวโรฮิงญาที่ถูกจับกุมยืนเท้าเปล่าและสวมหน้ากากอนามัยบริเวณหน้าบ้านพักที่ใช้เป็นที่หลบซ่อนตัวมานานหลายเดือน กลุ่มชาวโรฮิงญาดังกล่าวมีผู้หญิง 73 คนที่เดินทางมาพร้อมกับเด็กอีกหลายคนที่มีอายุระหว่าง 5–10 ปี ขณะที่เครือข่ายความร่วมมือแห่งอาระกัน ซึ่งเป็นกลุ่มช่วยเหลือชาวโรฮิงญาเผยว่า ขณะนี้ชาวโรฮิงญากลุ่มดังกล่าวเข้าสู่มาตรการกักตัวในมหาวิทยาลัยท้องถิ่นแห่งหนึ่งเพื่อรอรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. -สำนักข่าวไทย

เตือนระวังยารักษาโควิดที่ บ.เมียนมาอ้างผลิตได้เอง

ย่างกุ้ง 2 ม.ค.- ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ยารักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่บริษัทแห่งหนึ่งในเมียนมาเผยว่าผลิตได้เองในประเทศ เป็นยาที่ใช้ในการทดลองที่ญี่ปุ่นและยังไม่ได้ข้อสรุปว่ามีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เมียนมาไทมส์รายงานว่า บริษัทยาแห่งหนึ่งเผยว่าผลิตยาฟาวิแพก (FAVIPAC) ที่มีชื่อสามัญว่า ฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาเม็ดขนาด 200 มิลลิกรัม นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเองในประเทศ ถือเป็นยารักษาโรคโควิด-19 ขนานแรกในประเทศ มีสรรพคุณช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและลดอาการรุนแรง บริษัทกล่าวอ้างว่า ได้รับอนุญาตจากสำนักงานอาหารและยาให้ใช้ยานี้รักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางแล้ว หลังจากยื่นขอช่วงต้นเดือนตุลาคม และจะบริจาคยาจำนวน 60,000 เม็ด มูลค่า 58.5 ล้านจ๊าต (ราว 1.3 ล้านบาท) ให้แก่โรงพยาบาลทหารผ่านคณะกรรมการกลางเพื่อการป้องกัน ควบคุมและรักษาโรคโควิด-19 ด้านผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เตือนให้ระมัดระวังการใช้ยาขนานนี้ เพราะเป็นยาที่ใช้ในการทดลองในญี่ปุ่นเท่านั้น มีชื่อทางการค้าว่าอาวิแกน ใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ในญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นยังไม่ได้ข้อสรุปว่า มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคโควิด-19 จริงหรือไม่เพราะยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคโควิด-19 คือการหมั่นล้างมือ ปกปิดใบหน้า และรักษาระยะห่างทางสังคม.-สำนักข่าวไทย

ปตท.สผ. ได้รับอนุมัติสิทธิ์พัฒนารฟฟ.ก๊าซฯในเมียนมา

กรุงเทพฯ, 30 ธันวาคม 2563 – บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลเมียนมาให้เดินหน้าพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติในเมียนมา (Integrated Domestic Gas to Power) 600 เมกะวัตต์

เมียนมายกเลิกคำสั่งอยู่บ้านในหลายเขต

ย่างกุ้ง 28 ธ.ค.- ทางการเมียนมาประกาศยกเลิกคำสั่งอยู่บ้านเป็นเวลา 2 สัปดาห์ใน 6 เขตและรัฐแล้ว มีผลตั้งแต่เมื่อวานนี้ เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เมียนมาไทมส์รายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขและกีฬาประกาศคำสั่งหลายฉบับที่รัฐมนตรีลงนามเมื่อค่ำวันที่ 26 ธันวาคม ยกเลิกคำสั่งอยู่บ้าน 2 สัปดาห์ใน 6 เขตและรัฐ จากที่มีเขตปกครองทั้งหมด 7 เขต 7 รัฐ 1 ดินแดนสหภาพ 5 พื้นที่ปกครองตนเอง และ 1 เขตปกครองตนเอง มีผลตั้งแต่เวลา 08.00 น.วันที่ 27 ธันวาคม เมียนมาไทมส์ระบุว่า รัฐบาลเมียนมาประกาศมาตรการจำกัด 17 อย่างมีผล 2 สัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม ผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับ 5,000 จ๊าต (ราว 112 บาท) หลังจากนั้นเขตมัณฑะเลย์มีรายงานอัตราติดเชื้อใหม่ลดลงถึง 6 จังหวัดจากทั้งหมด 7 จังหวัด คำสั่งยกเลิกนี้ครอบคลุมทุกจังหวัดในเขตมัณฑะเลย์ […]

1 70 71 72 73 74 127
...