พาณิชย์ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อปี 61 สูงขึ้นร้อยละ 0.7-1.7

พาณิชย์เผยเงินเฟ้อ ม.ค.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.68 ปรับคาดการณ์ปีนี้สูงขึ้นร้อยละ 0.7- 1.7 หลังเศรษฐกิจดี ค่าแรงขึ้น ดันกำลังซื้อเพิ่ม

ชาวเวเนซุเอลาใช้บิทคอยน์หนีเงินเฟ้อสูงจัด

ชาวเวเนซุเอลาหันมาขุดบิทคอยน์ซึ่งเป็นสกุลเงินเสมือนจริง เป็นความพยายามเลี่ยงผลกระทบในยามที่อัตราเงินเฟ้อสูงจัด

ผู้ว่าการ ธปท. ยืนยันเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจน

ธปท. 2 ต.ค. – ผู้ว่าการธปท.  ยืนยันเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจน เห็นการจ้างงานเพิ่มในภาคส่งออก ยังจับตานโยบายการเงินสหรัฐและความตึงเครียดเกาหลี กดดันเงินทุนไหลเข้า   นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง. ) ปรับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ( จีดีพี) ปีนี้ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.8 จากร้อยละ 3.5 และ ปรับจีดีพีปี 2561 เพิ่มเป็นโตร้อยละ 3.8 จากร้อยละ 3.7 สะท้อนถึงแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากขึ้นโดยเฉพาะภาคการส่งออก ที่ขยายตัวทุกหมวดสินค้าและในตลาดที่หลากหลายมากขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวปรับตัวดี ส่งผลให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ประกอบกับการบริโภคฟื้นตัว ทำให้ กนง. ปรับเพิ่มจีดีพีครั้งนี้ นอกจากนี้ยังพบว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลในกลุ่มภาคการส่งออกมีสัญญาณดีขึ้น และการขอสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ก็ขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่มีการปรับลดลง อยู่ที่ร้อยละ 0.6 เนื่องมาจากราคาสินค้าเกษตรในปีก่อน มีฐานสูงเพราะเผชิญสถานการณ์ภัยแล้ง แต่ในปีนี้ราคาสินค้าเกษตรปรับลดลงจึงทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับลง ส่วนสถานการณ์ค่าเงินบาทที่มีการเปลี่ยนแปลงแข็งค่าขึ้น เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า ซึ่งยังต้องติดตามการเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด โดยเงินทุนต่างชาติจะไหลเข้า-ออก มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมุมมองต่อเศรษฐกิจประเทศขนาดใหญ่  […]

พาณิชย์ปรับเงินเฟ้อทั้งปีใหม่เป็น รัอยละ 0.4-1

พาณิชย์เผยเงินเฟ้อเดือน ก.ย. ขยายตัวร้อยละ 0.86 ขณะที่ 9 เดือน โตร้อยละ 0.59 พร้อมปรับประมานการณ์เงินเฟ้อทั้งปีใหม่เป็นร้อยละ 0.4-1 จากเดิมร้อยละ 0.7-1.7 หลังราคาน้ำมันโลกไม่สูงตามคาด

ราคาสินค้าดันเงินเฟ้อส.ค.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.32

เงินเฟ้อเดือน สิงหาคม พุ่งขึ้นร้อยละ 0.32 ผลจากราคาน้ำมันขึ้น กระทบค่าโดยสารเรือ ค่าไฟฟ้า อาหารสำเร็จรูป ปรับขึ้นทั้งหมด

ครึ่งปีหลังประชาชนยังกังวลค่าครองชีพหนี้สินรายได้

กรุงเทพฯ 13 ส.ค.- ผลสำรวจศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุ ครึ่งปีหลังครัวเรือนร้อยละ 53 กังวลเรื่องค่าครองชีพ ปัญหาหนี้สิน และรายได้ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า จากการสำรวจมุมมองภาวะการครองชีพของครัวเรือนในภาวะปัจจุบันที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนถึงระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่รายได้ครัวเรือนที่ไม่ปรับเพิ่มขึ้นหรือบางกลุ่มมีรายได้ลดลง ส่งผลให้ครัวเรือนมีความกังวลต่อประเด็นเรื่องค่าครองชีพ โดย พบว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2560  ครัวเรือน ร้อยละ 53 ที่ทำการสำรวจ กังวลประเด็นค่าครองชีพ ปัญหาหนี้สิน และเรื่องรายได้  ทั้งนี้ หากแบ่งตามกลุ่มรายได้ จะพบว่า ครัวเรือนกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท/เดือน มีความกังวลเรื่องรายได้มากกว่าเรื่องภาระหนี้สิน ในทางกลับกัน ครัวเรือนกลุ่มผู้มีรายได้สูงกว่า 15,000 บาท/เดือน จะกังวลเรื่องปัญหาหนี้สินมากกว่าปัญหาเรื่องรายได้ หากแบ่งตามกลุ่มอาชีพ จะพบว่า ครัวเรือนกลุ่มอาชีพที่มีความไม่แน่นอนสูงต่อการถูกเลิกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นอาชีพรับจ้าง (รายวัน) รวมถึงพนักงานบริษัทเอกชนจะมีความกังวลต่อประเด็นรายได้และภาวะการมีงานทำมากกว่าประเด็นเรื่องภาระหนี้สิน ในขณะที่ครัวเรือนกลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการถูกเลิกจ้าง เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ประกอบกิจการส่วนตัว รวมถึงค้าขาย กลับกังวลเรื่องภาระหนี้สินมากกว่าประเด็นเรื่องรายได้และภาวะการมีงานทำ  สอดคล้องกับความเชื่อมั่นของครัวเรือนในเดือนก.ค. 2560 […]

1 19 20 21 22
...