IMF ชี้เยนอ่อนค่าเร็วอาจกระทบเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัว

วอชิงตัน 25 เม.ย.- กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) เตือนว่า เงินเยนญี่ปุ่นที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ อาจเป็นอุปสรรคต่อการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัวอย่างมั่นคงจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 นายรานิล ซัลกาโด หัวหน้าคณะทำงานด้านญี่ปุ่นของไอเอ็มเอฟให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเกียวโดนิวส์ของญี่ปุ่นเมื่อไม่นานมานี้ว่า เยนที่อ่อนค่าที่สุดในรอบ 20 ปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วสะท้อนภาพธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือบีโอเจ (BOJ) ที่ยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย สวนทางกับธนาคารกลางเศรษฐกิจใหญ่อื่น ๆ ที่พากันดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด เขามองว่า บีโอเจควรคงนโยบายนี้ต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะบรรลุเป้าหมายที่ร้อยละ 2 เพราะอัตราเงินเฟ้อจะลดลงทันทีที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์นำเข้าเริ่มลดลง อัตราเงินฟ้อญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากปีก่อน เร็วที่สุดในช่วง 2 ปี แต่ยังคงห่างจากเป้าหมายอยู่มาก อย่างไรก็ดี เยนที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็วอาจทำให้ความต้องการในประเทศลดลง และสินค้านำเข้ามีราคาแพงขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เยนเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงแล้วเกือบร้อยละ 15 ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม โดยหลุดแนวรับที่ 129 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐไปเมื่อวันพุธที่แล้ว ปกติแล้วเยนที่อ่อนค่าจะเป็นผลดีต่อการส่งออก เพราะจะทำให้ได้กำไรมากขึ้นเมื่อแลกเงินต่างประเทศกลับเป็นเงินเยน และทำให้สินค้าญี่ปุ่นมีราคาถูกเมื่อเทียบกับสินค้าประเทศอื่น แต่ขณะเดียวกันจะเป็นผลเสียต่อญี่ปุ่นที่ต้องนำเข้าพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ เพราะต้องจ่ายแพงขึ้น คาดว่าบีโอเจจะคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปในการประชุมวันพุธและวันพฤหัสบดีนี้.-สำนักข่าวไทย

ชี้ฝรั่งเศสกำลังเข้าสู่ “ยุคของเงินเฟ้อสูง”

ปารีส 22 เม.ย.- นายบรูโน เลอ แมร์ รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศสระบุว่า ฝรั่งเศสและประเทศหุ้นส่วนกำลังจะเข้าสู่ “ยุคของเงินเฟ้อสูง” โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงในปีนี้ แต่จะลดลงอย่างมากในปีหน้า นายเลอ แมร์ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ในประเทศวันนี้ว่า เขาเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2566 จะลดลงอย่างมาก จากการบริหารจัดการให้อุปสงค์และอุปทานในภาคพลังงานเกิดความสมดุล แต่มีสิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักให้ชัดเจนคือ ฝรั่งเศสและประเทศหุ้นส่วนกำลังจะเข้าสู่ยุคของเงินเฟ้อสูง และว่าราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นปัจจัยร้อยละ 60 ที่ทำให้ฝรั่งเศสซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเขตยูโรโซนมีเงินเฟ้อสูงในปัจจุบัน เงินเฟ้อของฝรั่งเศสอยู่ที่ร้อยละ 5.1 ในเดือนมีนาคม ขณะที่เงินเฟ้อของประเทศในเขตยูโรโซนในเดือนมีนาคมต่ำกว่าที่รายงานก่อนหน้านั้นเล็กน้อย แต่ก็ยังคงสูงเป็นประวัติการณ์ อันเป็นผลจากราคาพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากโลกเริ่มมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น หลังจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 มานาน 2 ปี และนับตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุขึ้น ราคาพลังงานก็ยิ่งถีบตัวสูงขึ้นไปอีก.-สำนักข่าวไทย

เตรียมออกมาตรการช่วยปชช.หลังพิษเงินเฟ้อ

นายกฯ เตรียมออกมาตรการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ชี้ 10 มาตรการแก้พลังงาน ช่วยกลุ่มเปราะบางได้หลายล้านคน เผยท่องเที่ยวกำลังไปได้ดี เร่งแก้ปัญหาแออัดที่สนามบิน

แบงก์ชาติส่งจดหมายถึงคลัง แจง ‘เงินเฟ้อ’ หลุดกรอบ

แบงก์ชาติ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง รมว.คลัง แจงเหตุเงินเฟ้อทั่วไปสูงกว่ากรอบเป้าหมาย คาดเงินเฟ้อจะทยอยเข้ากรอบได้ปลายปี 2565

เจ้าของคริปโทเกือบครึ่งเพิ่งซื้อครั้งแรกเมื่อปี 64

นิวยอร์ก 4 เม.ย.- ผลสำรวจพบว่า เจ้าของคริปโทเคอร์เรนซีเกือบครึ่งในสหรัฐ ลาตินอเมริกาและเอเชียแปซิฟิกเพิ่งซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลนี้เป็นครั้งแรกในปี 2564 เจมิไน บริษัทแลกเปลี่ยนคริปโทในสหรัฐสำรวจกับคนเกือบ 30,000 คนใน 20 ประเทศระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบว่า ปี 2564 ถือเป็นปีทำเงินของคริปโท เพราะภาวะเงินเฟ้อทำให้หลายประเทศที่ค่าเงินอ่อนหันมายอมรับสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทนี้ เจ้าของคริปโทร้อยละ 79 เพิ่งซื้อเมื่อปีก่อนเพื่อโอกาสในการลงทุนระยะยาว ผลสำรวจพบว่า คนในบราซิลและอินโดนีเซียถือครองคริปโทมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41 ของผู้ตอบแบบสำรวจในแต่ละประเทศ ตามมาด้วยสหรัฐร้อยละ 20 และสหราชอาณาจักรร้อยละ 18 ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ถือครองคริปโทและอยู่ในประเทศที่ค่าเงินอ่อนมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐมีแผนจะซื้อเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อมากกว่าคนในประเทศที่ไม่มีปัญหาค่าเงินอ่อนถึง 5 เท่า เช่น อินโดนีเซียที่เงินรูเปียห์อ่อนค่าลงถึงครึ่งหนึ่งช่วงปี 2554-2563 และอินเดียที่เงินรูปีอ่อนค่าลงร้อยละ 17.5 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีคนอยากซื้อคริปโทเป็นครั้งแรกถึงร้อยละ 64 เทียบกับคนในสหรัฐและยุโรปที่คิดเช่นนี้เพียงร้อยละ 16 และ 15 ตามลำดับ บิทคอยน์ ซึ่งเป็นคริปโทยอดนิยมที่สุดทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดมีมูลค่ามากกว่าหน่วยละ 68,000 ดอลลาร์สหรัฐ […]

ราคาพลังงานพุ่ง-สงคราม ฉุด GDP ขณะที่เงินเฟ้อจ่อพุ่ง

เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ เผยปัญหาราคาพลังงานพุ่ง และความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ฉุดจีดีพีไทย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อจ่อพุ่ง

สงครามยูเครนอาจเปลี่ยนเศรษฐกิจ-การเมืองโลกครั้งใหญ่

วอชิงตัน 16 มี.ค.- กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ชี้ว่า สงครามในยูเครนจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกทั้งหมด และอาจทำให้เศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์โลกเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นฐาน ไอเอ็มเอฟโพสต์บทความในไอเอ็มเอฟบล็อกเมื่อวันอังคารว่า นอกเหนือจากความทุกข์ยากของผู้คนและการมีคลื่นผู้ลี้ภัยมากเป็นประวัติการณ์แล้ว สงครามนี้ยังทำให้ราคาอาหารและพลังงานแพงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น มูลค่าของรายได้ลดลง การค้า ห่วงโซ่อุปทาน และการส่งเงินกลับประเทศของประเทศเพื่อนบ้านยูเครนถูกกระทบ ความมั่นใจของภาคธุรกิจลดลงทำให้นักลงทุนเกิดความไม่แน่ใจ ส่งผลกดดันต่อราคาสินทรัพย์ ภาวะการเงิน และอาจทำให้เงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวลดลง สินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้น ในระยะยาวแล้วสงครามยูเครนอาจทำให้พื้นฐานเศรษฐกิจโลกและระเบียบภูมิรัฐศาสตร์โลกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการค้าพลังงาน ห่วงโซ่อุปทาน เครือข่ายการชำระเงิน และการถือครองสกุลเงินสำรอง ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั่วโลกว่า เศรษฐกิจรัสเซียและยูเครนจะถดถอยหนัก ยุโรปจะติดขัดเรื่องการนำเข้าก๊าซธรรมชาติและห่วงโซ่อุปทาน ยุโรปตะวันออกที่รับผู้ลี้ภัยชาวยูเครนส่วนใหญ่จากทั้งหมด 3 ล้านคนจะแบกรับค่าจ่ายมากขึ้น ดินแดนคอเคซัสและเอเชียกลางที่มีการค้าและระบบชำระเงินเชื่อมโยงกับรัสเซียจะได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ตะวันออกกลางและแอฟริกาที่พึ่งพาภาวะการเงินภายนอกอาจมีเงินทุนไหลออกและมีภาระเพิ่มขึ้นสำหรับประเทศที่มีหนี้สูง ซีกโลกตะวันตกจะต้องซื้ออาหารและพลังงานแพงขึ้น ลาตินอเมริกา แคริบเบียนและสหรัฐจะมีเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะสินค้าโภคภัณฑ์แพงขึ้น ขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และประเทศเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกที่นำเข้าน้ำมันจะได้รับผลกระทบหนักที่สุดในเอเชีย.-สำนักข่าวไทย

พาณิชย์ยันรัฐบาลจะควบคุมราคาสินค้าให้กระทบผู้บริโภคน้อยที่สุด

รมว.พาณิชย์ ยืนยัน ประเมินสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ใกล้ชิด ย้ำรัฐบาลจะดูแลและควบคุมราคาสินค้าในประเทศทุกหมวดที่จำเป็นต่อค่าครองชีพให้กระทบประชาชนน้อยที่สุด สินค้ารายการใดจำเป็นต่อการครองชีพจะขอให้ตรึงไปก่อน

“กรณ์” จี้รัฐเร่งตัดวงจรของแพง หลังเงินเฟ้อพุ่ง

“กรณ์” จี้ต้องเร่งตัดวงจรของแพงโดยเร็ว หลังแบงก์ชาติประกาศอัตราเงินเฟ้อ ก.พ. เพิ่มขึ้นถึง 5.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

กกร.หั่นกรอบจีดีพี 2565 เหลือ 2.5-4.5% ขณะที่เงินเฟ้อเพิ่มเป็น 2-3%

กกร.หั่นกรอบจีดีพี 2565 เหลือ2.5-4.5% ขณะที่เงินเฟ้อเพิ่มเป็น2-3% พร้อมเสนอขอให้ภาครัฐจัดตั้งคณะทำงานร่วม (รัฐ-เอกชน) เพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด

1 12 13 14 15 16 22
...