fbpx

ออสเตรเลียยินดีสหรัฐจะกลับร่วมข้อตกลงปารีส-อนามัยโลก

ออสเตรเลียยินดีที่สหรัฐจะกลับเข้าร่วมเป็นสมาชิกข้อตกลงปารีส และองค์การอนามัยโลก ภายใต้รัฐบาลไบเดน

อนามัยโลกชี้เรมเดซิเวียร์ไม่ช่วยผู้ป่วยโควิด

องค์การอนามัยโลกเผยผลการศึกษาที่ระบุว่า ได้ข้อสรุปและน่าผิดหวังว่า เรมเดซิเวียร์มีผลน้อยมากหรือไม่มีผลเลยในการลดอัตราเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่รักษาตัวในโรงพยาบาล

จีนขอให้อนามัยโลกประเมินวัคซีนโควิดผลิตเอง

สิงคโปร์ 6 ต.ค.- เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกเผยว่า จีนกำลังเจรจาให้องค์การอนามัยโลกประเมินวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่จีนผลิตเอง เพื่อก้าวไปสู่การนำไปใช้ในระดับสากลต่อไป ผู้ประสานงานเรื่องยาที่จำเป็นและเทคโนโลยีสุขภาพในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกขององค์การอนามัยโลกแถลงข่าวทางออนไลน์วันนี้ว่า จีนได้หารือเบื้องต้นกับองค์การอนามัยโลกเรื่องบรรจุวัคซีนของจีนไว้ในรายชื่อการใช้ฉุกเฉิน กระบวนนี้เปิดทางให้วัคซีนหรือยาที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตได้รับการประเมิน เพื่อเร่งนำไปใช้ในเหตุฉุกเฉินทางสาธารณสุข ช่วยให้สมาชิกองค์การอนามัยโลกและหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างขององค์การอนามัยโลกตัดสินใจเรื่องการยอมรับวัคซีนได้เร็วขึ้น ผู้ประสานงานกล่าวว่า การได้บรรจุในรายชื่อการใช้ฉุกเฉินจะเปิดทางให้มีการประเมินคุณภาพและความปลอดภัยของวัคซีน จากนั้นจึงจะขอใบอนุญาตได้ต่อไป ขณะนี้จีนมีวัคซีนที่อยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิกขั้นสุดท้ายอย่างน้อย 4 ขนานในหลายประเทศ เช่น ปากีสถาน อินโดนีเซีย บราซิล รัสเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออี (UAE) สองขนานพัฒนาโดยหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติจีนหรือซีเอ็นบีจี (CNBG) หนึ่งขนานเป็นของชิโนแวกไบโอเทค และอีกหนึ่งขนานเป็นของกังชิโนไบโอโลจิกส์ จีนได้ให้บุคลากรทางแพทย์แนวหน้าและกลุ่มเสี่ยงสูงรับวัคซีนแล้วแม้ยังอยู่ระหว่างการทดลอง ทำให้ผู้เชี่ยวชาญห่วงเรื่องความปลอดภัย อย่างไรก็ดี เดือนที่แล้วยูเออีให้ใช้วัคซีนของซีเอ็นบีจีหนึ่งขนานเป็นการฉุกเฉินเป็นประเทศแรกของโลก ทั้งที่ทดลองทางคลินิกไปเพียง 6 สัปดาห์เท่านั้น.-สำนักข่าวไทย

อนามัยโลกชี้ทั้งโลกอาจติดโควิดแล้ว 1 ใน 10

องค์การอนามัยโลกคาดว่า ประชากรทั่วโลกอาจติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ไปแล้ว 1 ใน 10 หรือราว 800 ล้านคนจากประชากรทั้งโลก 7,800 ล้านคน

เตือนยอดตายโควิดทั่วโลกอาจแตะ 2 ล้านคน

เจนีวา 26 ก.ย.- องค์การอนามัยโลกเตือนว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 2 ล้านคน หากไม่มีการร่วมกันต่อสู้กับการแพร่ระบาด ยอดผู้ป่วยสะสมทั่วโลกจนถึงขณะนี้อยู่ที่ 32,397,479 คน เสียชีวิต 985,748 คน นพ.ไมเคิล ไรอัน ผู้อำนวยการโครงการสุขภาพฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลกตอบผู้สื่อข่าวเรื่องตัวเลขผู้เสียชีวิตจะไปถึงจุดใดว่า ตัวเลข 1 ล้านคนถือว่าแย่มากแล้ว จึงต้องพิจารณาทบทวนก่อนที่ตัวเลขจะผ่านไปถึง 2 ล้านคน หากไม่ดำเนินมาตรการร่วมกันก็อาจจะได้เห็นตัวเลขนี้ ด้านนายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสันของออสเตรเลียกล่าวต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) ทางออนไลน์วานนี้ว่า ใครก็ตามที่พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้จะต้องแบ่งปันให้ผู้อื่น เพราะเป็นความรับผิดชอบระดับโลกและความรับผิดชอบทางจริยธรรม บางคนอาจมองแค่ประโยชน์ระยะสั้นหรือถึงขั้นคิดหากำไร ขอเตือนว่ามนุษยชาติจะจดจำยาวนานและจะพิพากษาสถานหนัก ขอยืนยันว่าออสเตรเลียจะแบ่งปันวัคซีนหากพัฒนาได้และจะสนับสนุนโคแวกซ์ (Covax) โครงการวัคซีนโควิดโลกที่เป็นความริเริ่มของยูเอ็น ซึ่งตั้งเป้าจะผลิตวัคซีนให้ได้ 2,000 ล้านโดสเพื่อแจกจ่ายอย่างทั่วถึงภายในปลายปี 2564 ผู้นำออสเตรเลียพูดเรื่องนี้เนื่องจากประเทศใหญ่อย่างสหรัฐ จีน และรัสเซียพัฒนาวัคซีนของตัวเองโดยไม่สนใจเข้าร่วมโครงการนี้.-สำนักข่าวไทย

อนามัยโลกเตือนโควิดในยุโรปน่าเป็นห่วง

องค์การอนามัยโลกประจำยุโรปเตือนว่า ตัวเลขผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในยุโรปที่เพิ่มขึ้นมากเป็นสัญญาณเตือนให้ต้องตื่นตัวเพราะสถานการณ์กำลังร้ายแรงมาก

ยูเอ็นผ่านญัตติโควิดให้อนามัยโลกเป็นแกนนำ

สหประชาชาติ 12 ก.ย.- สมาชิกสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) ผ่านความเห็นชอบอย่างท่วมท้นต่อญัตติรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 โดยให้องค์การอนามัยโลกเป็นแกนนำ มีเพียงสหรัฐและอิสราเอลที่คัดค้าน ญัตติดังกล่าวหารือมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม สมาชิกยูเอ็นผ่านความเห็นชอบเมื่อวานนี้ 169 ประเทศจากทั้งหมด 193 ประเทศ ครอบคลุมหลากหลายแง่มุมเกี่ยวกับการแพร่ระบาด ยอมรับบทบาทนำขององค์การอนามัยโลก และบทบาทพื้นฐานของยูเอ็นในการวิเคราะห์และประสานการรับมือแบบครอบคลุมในระดับโลก ขอให้เพิ่มความร่วมมือระดับสากลและร่วมใจกันควบคุม บรรเทา และเอาชนะการแพร่ระบาดและผลที่ติดตามมา ญัตติยังสนับสนุนตามที่นายอันโตนีโอ กูแตร์เรส เลขาธิการยูเอ็นขอให้แต่ละประเทศหยุดยิงเพื่อเปิดทางให้แก่การต่อสู้กับการแพร่ระบาด เรียกร้องให้ขจัดอุปสรรคอันไม่ชอบธรรมซึ่งหมายถึงการคว่ำบาตรเพื่อให้สามารถเข้าถึงเครื่องไม้เครื่องมือที่ต้องใช้รับมือกับเชื้อไวรัสโคโรนาได้ดีขึ้น ขอให้นานาชาติรักษาห่วงโซ่อุปทานอาหารและผลผลิตการเกษตร สนับสนุนให้นานาชาติมียุทธศาสตร์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกันเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ.-สำนักข่าวไทย

ไทยได้รับเลือกเป็นปธ.คกก.อนามัยโลกฯ

“อนุทิน” เผย ไทยได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังประสบความสำเร็จจัดการโควิด-19 ได้ดีติดอันดับโลก

อนามัยโลกเตือนวัคซีนชาตินิยมทำโควิดระบาดนานขึ้น

อนามัยโลก 5 ก.ย. – ผอ.องค์การอนามัยโลก เตือนประเทศต่างๆ ให้ผนึกกำลังกันต่อสู้กับโควิด-19 เพราะการไม่ร่วมมือกัน และหันมาผลิตวัคซีนกันเอง จะทำให้การต่อสู้กับโรคระบาดยาวนานขึ้น นายทีโดรส อัดฮานอม กรีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ออกมาเรียกร้องประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ผนึกกำลังกันต่อสู้กับโควิด-19 เพราะการไม่ร่วมมือกัน และหันมาผลิตวัคซีนกันเอง มีแต่จะทำให้การต่อสู้กับโรคระบาดยาวนานขึ้น ซึ่งขณะนี้มีชาติที่เข้าร่วมแผนโคแวกซ์ หรือผลิตวัคซีนโลกถึง 170 ชาติแล้ว ขณะเดียวกัน นางซูมยา สวามินาธาน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก กล่าวย้ำว่า จะไม่มีวัคซีนป้องกันโควิด-19 ใดออกไปสู่ประชาชนได้ จนกว่าจะมั่นใจว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัย คาดว่าวัคซีนดังกล่าวจะออกมาได้เร็วที่สุดในกลางปีหน้า. – สำนักข่าวไทย

สหรัฐไม่ร่วมโครงการวัคซีนโควิดของอนามัยโลก

ทำเนียบขาวสหรัฐยืนยันว่า สหรัฐจะไม่เข้าร่วมโครงการระดับโลกเรื่องการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ให้คนเข้าถึงอย่างทั่วถึง โดยอ้างว่าโครงการนี้โยงกับองค์การอนามัยโลกที่ไม่สุจริต

อนามัยโลกเตือนอย่าฝากความหวังกับภูมิคุ้มกันหมู่

องค์การอนามัยโลกเตือนว่า ยังไม่มีวี่แววที่คนบนโลกจะมีภูมิคุ้มกันหมู่ต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่จะสามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้ จึงไม่ควรฝากความหวังไว้กับเรื่องนี้ในขณะที่ยอดผู้ป่วยสะสมทั่วโลกเกิน 22 ล้านคนแล้ว

คนวัยไม่ถึง 50 ทำโควิดระบาดในเอเชียแปซิฟิก

มะนิลา 18 ส.ค.- องค์การอนามัยโลกเตือนว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในเอเชียแปซิฟิกกำลังแพร่ระบาดโดยคนวัยไม่ถึง 50 ปีที่อาจไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อแล้ว และเตือนว่าการแพร่ระบาดได้เข้าสู่ระยะใหม่แล้ว ดร.นพ.ทาเคชิ คาไซ ผู้อำนวยการภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกขององค์การอนามัยโลกแถลงข่าวทางออนไลน์ในวันนี้ว่า คนจำนวนมากไม่รู้ตัวเพราะมีอาการของโรคโควิด-19 ปานกลางหรือไม่มีเลย เสี่ยงทำให้ผู้สูงวัยและผู้อ่อนแอติดเชื้อได้ สถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้กำลังเปลี่ยนไป คนวัย 20 ปีเศษ 30 ปีเศษและ 40 ปีเศษกำลังเร่งให้ความเสี่ยงสูงขึ้น สิ่งที่ต้องระวังจึงไม่ใช่แค่การกลับมาระบาดใหม่ แต่มีสัญญาณว่าการแพร่ระบาดในเอเชียแปซิฟิกได้เข้าสู่ระยะใหม่แล้ว จึงต้องเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่าในการยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสโคนาแพร่เข้าไปในกลุ่มคนอ่อนแอ ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยการระบาดในระยะปัจจุบันชี้ว่า สองในสามของการติดเชื้อในญี่ปุ่นเป็นคนอายุต่ำกว่า 40 ปี ขณะที่กว่าครึ่งของการติดเชื้อในฟิลิปปินส์และออสเตรเลียก็เป็นคนในวัยนี้ ผู้อำนวยการภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกขององค์การอนามัยโลกมองว่า การใช้วิธีแทรกแซงแบบเจาะจงในภูมิภาคนี้ได้ผลน่าพอใจเพราะช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการใช้มาตรการจำกัด และมีความยั่งยืนมากกว่า อย่างไรก็ดี ความท้าทายยังคงมีอยู่ตราบใดที่เชื้อไวรัสโคโรนายังคงอยู่และคนยังไม่มีภูมิต้านทาน.-สำนักข่าวไทย

1 3 4 5 6 7 13
...