7 สายการบินประกาศแผนเข้าภูเก็ต

ททท. เผย 7 สายการบินมั่นใจเปิดบินภูเก็ต หลังรัฐบาลประกาศแผนภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ดีเดย์ 1 ก.ค.นี้ มั่นใจปีนี้ท่องเที่ยวสร้างรายได้เพิ่มอีก 10% เล็งนำอินฟลูเอนเซอร์ 200 รายดึงต่างชาติเที่ยวภูเก็ต

ผู้โดยสารพยายามบุกเข้าห้องนักบินเดลตา แอร์ไลน์ส

ผู้โดยสารชายรายหนึ่ง พยายามจะบุกเข้าไปในห้องนักบินของเที่ยวบินหนึ่งของสายการนบินเดลตา แอร์ไลน์ส ที่กำลังเดินทางจากรัฐแคลิฟอร์เนียไปยังรัฐเทนเนสซี ของสหรัฐ แต่ถูกลูกเรือและผู้โดยสารคนอื่น ๆ ช่วยกันระงับเหตุ ในขณะที่เครื่องบินต้องเปลี่ยนไปลงจอดที่รัฐนิวเม็กซิโกแทน

อนุมัติงบกลาง 168 ลบ.ให้กรมท่าอากาศยานจากกรณีโควิด-19

ทำเนียบรัฐบาล 1 มิ.ย.-คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบกลาง 168 ล้านบาทเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้กรมท่าอากาศยาน กรณีมีการลดค่าบริการขึ้น-ลงของสายการบินตามท่าอากาศยานต่าง ๆ จากผลกระทบจากโควิด-19   น.ส.ไตรศุลี  ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติอุดหนุนเงินทุนหมุนเวียนให้กรมท่าอากาศยาน วงเงิน  168 ล้านบาท ในส่วนของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน ดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบของสายการบินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ระยะที่ 3 โดยให้เบิกจ่ายตามส่วนลดค่าบริการในการขึ้น-ลงของอากาศยาน และค่าบริการที่เก็บอากาศยานที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การขยายเวลาการปรับลดค่าบริการในการขึ้น-ลงของอากาศยาน (Landing Charge)ในอัตราร้อยละ 50  สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศและเที่ยวบินระหว่างประเทศ ทำให้กรมท่าอากาศยานสูญเสียรายได้จำนวน 166 ล้านบาท และการยกเว้นการจัดเก็บค่าบริการที่เก็บอากาศยาน(Parking Charge)ให้แก่อากาศยานของสายการบิน ทำให้สูญเสียรายได้จำนวน 1.49 ล้านบาท รวมสูญเสียรายได้ 168 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25 ของรายได้-สำนักข่าวไทย

กบร.ขยายเวลามาตรการช่วยสายการบินสู้โควิด

กบร.เห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบของสายการบิน จากการระบาดของ COVID-19 ปรับลดและยกเว้นค่าบริการสนามบินของ ทอท. ถึง 31 ธ.ค.64 รวมทั้งลดและยกเว้นค่าบริการสนามบินของกรมท่าอากาศยาน

ANA จะเลิกใช้พลาสติกเสิร์ฟอาหารตั้งแต่ ส.ค.

โตเกียว 25 เม.ย.- ออลนิปปอนแอร์เวย์หรือเอเอ็นเอ (ANA) สายการบินใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นจะใช้ภาชนะทำจากวัสดุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนพลาสติก เสิร์ฟอาหารให้แก่ผู้โดยสารชั้นประหยัดเที่ยวบินระหว่างประเทศตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้ เอเอ็นเอระบุว่า จะเป็นสายการบินแรกของญี่ปุ่นที่นำวัสดุย่อยสลายได้มาใช้เป็นภาชนะเสิร์ฟอาหารให้แก่ผู้โดยสาร คาดว่าจะลดปริมาณขยะพลาสติกได้ถึง 317 ตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 30 ของพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งในปีการเงินสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2563 เจ้าหน้าที่สายการบินเผยว่า ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปได้จำกัดการใช้พลาสติกแล้ว เอเอ็นเอจึงดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้า โดยใช้ภาชนะเสิร์ฟอาหารที่ทำจากชานอ้อย ส่วนเที่ยวบินในประเทศใช้ภาชนะที่เป็นกล่องกระดาษอยู่ สายการบินยังไม่ตัดสินใจว่า จะเปลี่ยนเป็นชานอ้อยด้วยหรือไม่ เอเอ็นเอเริ่มใช้ช้อนส้อมทำจากไม้และหลอดทำจากพลาสติกย่อยสลายได้ตั้งแต่ปี 2563 เดินหน้าลดขยะพลาสติกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตภาชนะพลาสติกและเผาทำลายขยะพลาสติก นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะของญี่ปุ่นรับปากว่า จะบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2593 เริ่มจากลดการปล่อยก๊าซลงร้อยละ 46 ของปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2556 ให้ได้ภายในปี 2573.-สำนักข่าวไทย

เกาหลีใต้จะฉีดแอสตราฯให้ผู้ดูแลและ พนง.การบิน

โซล 18 เม.ย.-เกาหลีใต้จะเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของแอสตราเซนเนกาให้แก่ผู้ดูแลผู้อื่นอย่างคนชรา คนพิการ ทหารผ่านศึก และพนักงานสายการบินตั้งแต่วันจันทร์ที่จะถึงนี้ เพื่อเร่งป้องกันการแพร่ระบาด สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคเกาหลีหรือเคดีซีเอ (KDCA) แถลงว่า โครงการนี้จะยกเว้นผู้มีอายุไม่ถึง 30 ปี เพราะเกรงเรื่องเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ส่วนแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และผู้ป่วยฟอกไตจะสามารถรับวัคซีนของแอสตราเซนเนกาได้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 26 เมษายน เกาหลีใต้ระงับการใช้วัคซีนขนานนี้ระหว่างวันที่ 8-11 เมษายน หลังจากมีรายงานผู้ฉีดวัคซีนไปแล้วเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ก่อนกลับมาให้ใช้อีกครั้งเมื่อวันที่ 12 เมษายน ศูนย์ฉีดวัคซีน 175 แห่งทั่วประเทศสามารถฉีดวัคซีนได้วันละ 105,000 เข็ม ขณะนี้กำลังฉีดวัคซีนของแอสตราเซนเนกาและไฟเซอร์ให้แก่ผู้มีอายุ 75 ปีขึ้นไป ลูกจ้างและผู้อาศัยในบ้านพักคนชรา วัคซีนทั้งสองขนานนี้ต้องฉีดให้ครบ 2 เข็มจึงจะมีประสิทธิภาพ เกาหลีใต้ตั้งเป้าจะฉีดวัคซีนให้ประชากร 12 ล้านคนจากทั้งหมดกว่า 51 ล้านคนภายในสิ้นเดือนมิถุนายน และมีภูมิคุ้มกันหมู่ภายในเดือนพฤศจิกายน แต่มีความกังวลว่าการฉีดวัคซีนอาจล่าช้า หลังจากสหรัฐระงับการใช้วัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันหรือเจแอนด์เจเพราะกังวลเรื่องภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เกาหลีใต้มีผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 114,100 คน เสียชีวิตกว่า 1,790 […]

สายการบินตบเท้า ยอมให้ลูกค้าคืนตั๋วยกเลิกเดินทาง

ยอมแล้ว! ก.คมนาคม กล่อมสายการบินในประเทศ ยอมคืนตั๋วให้ผู้โดยสารที่ไม่สะดวกเดินทาง หรือเปลี่ยนแปลงวันเดินทาง เก็บวงเงินไว้ใช้ ไม่เสียค่าธรรมเนียม พร้อมเตรียมออกประกาศห้ามเสิร์ฟอาหารบนเครื่องอีกรอบ ลดเสี่ยงติดโควิด

ททท.เปิดตัวฝูงบินท่องเที่ยวไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม

ททท. ร่วมกับพันธมิตร เปิดตัว “ฝูงบินท่องเที่ยวไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม” จัดโปรโมชั่น 6 สายการบิน กระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ

ออสเตรเลียเผยงบโครงการเงินสนับสนุนการท่องเที่ยว

ซิดนีย์ 11 มี.ค. – ออสเตรเลียเผยโครงการเงินสนับสนุนการท่องเที่ยวที่ใช้งบประมาณ 1,200 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (28,400 ล้านบาท) เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ในขณะที่เส้นทางบินระหว่างประเทศยังคงปิดให้บริการ เนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน ของออสเตรเลียกล่าวว่า โครงการเงินสนับสนุนการท่องเที่ยวจะช่วยให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปโรงแรมหรือคาเฟ่ และออกไปสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น แนวทางนี้จะทำให้เกิดการจ้างงานและการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบินในขณะที่ออสเตรเลียกำลังพยายามควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหลายแห่ง อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจออสเตรเลีย และสร้างรายได้ราว 60,800 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (1.4 ล้านล้านบาท) ในผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือจีดีพี อีกทั้งยังมีอัตราการจ้างงานคิดเป็นร้อยละ 5 ของประเทศ อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เมื่อรัฐบาลออสเตรเลียประกาศใช้มาตรการปิดพรมแดนระหว่างประเทศเมื่อหนึ่งปีก่อน เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงการปิดพรมแดนระหว่างรัฐและดินแดนในช่วงที่พบการระบาดในชุมชน ซึ่งทำให้สถานการณ์ของอุตสาหกรรมดังกล่าวย่ำแย่ลง โครงการเงินสนับสนุนการท่องเที่ยวดังกล่าวจะมอบเงิน 200 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (4,730 ล้านบาท) ให้แก่สายการบินแควนตัส และสายการบินเวอร์จิน ออสเตรเลีย ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงตุลาคม เพื่อเป็นค่าบำรุงรักษาเครื่องบินที่ต้องจอดไว้ ค่าใช้จ่ายในการนำเครื่องบินออกจากโรงเก็บเครื่องบิน และค่าจ้างพนักงานฝ่ายการบินระหว่างประเทศ รวมถึงการมอบส่วนลดตั๋วเครื่องบินร้อยละ 50 […]

ปีที่แล้วผู้โดยสารเครื่องบินเกาหลีใต้ลดลง 68%

โซล 14 ก.พ.- กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และคมนาคมเกาหลีใต้แจ้งวันนี้ว่า ปีที่แล้วยอดผู้โดยสารเครื่องบินของเกาหลีใต้ลดลงถึงร้อยละ 68 เพราะสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ระบาด แถลงการณ์ของกระทรวงระบุว่า จำนวนผู้โดยสารเครื่องบินในประเทศและต่างประเทศลดลงจาก 123.3 ล้านคนในปี 2562 เหลือ 39.4 ล้านคนในปี 2563 เนื่องจากประเทศต่าง ๆ เข้มงวดการเข้าประเทศเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด หากแยกเฉพาะผู้โดยสารระหว่างประเทศลดลงถึงร้อยละ 84 จาก 90.4 ล้านคนเหลือ 14.2 ล้านคน รัฐบาลจะยังคงให้การสนับสนุนสายการบินในประเทศต่อไป เนื่องจากโรคโควิด-19 ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ต่อธุรกิจสายการบินในปีนี้ หลังจากสายการบินเหล่านี้ระงับเส้นทางบินระหว่างประเทศตั้งแต่ต้นปีก่อน เพราะการเดินทางลดลงมาก สายการบินใหญ่ของเกาหลีใต้อย่างโคเรียนแอร์และเอเชียนาแอร์ไลน์หันมาเน้นบริการขนส่งสินค้า ชดเชยจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง โคเรียนแอร์ต้องจำหน่ายธุรกิจรองเพื่อให้มีทุนดำเนินธุรกิจต่อไป และเริ่มขนส่งสินค้าด้วยถุงใส่สินค้าที่ผูกกับที่นั่งผู้โดยสาร เช่นเดียวกับสายการบินอื่นทั่วโลกที่ปรับเปลี่ยนเครื่องบินโดยสารเป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าด้วยการติดตั้งถุงใส่สินค้าหรือถอดที่นั่งผู้โดยสารออก ขณะที่สายการบินราคาประหยัดอย่างจินแอร์ เชจูแอร์ แอร์ปูซาน แอร์โซล อีสตาร์เจ็ท และทีเวย์แอร์มีปัญหามากกว่าเนื่องจากพึ่งพาผู้โดยสารเป็นหลัก.-สำนักข่าวไทย

1 8 9 10 11 12 22
...