จีนเผยวัคซีนโควิดอาจพร้อมใช้เดือน พ.ย.
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีนหรือซีดีซีเผยว่า วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่ได้รับการพัฒนาในจีนอาจพร้อมใช้ในวงกว้างอย่างเร็วที่สุดในเดือนพฤศจิกายนนี้
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีนหรือซีดีซีเผยว่า วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่ได้รับการพัฒนาในจีนอาจพร้อมใช้ในวงกว้างอย่างเร็วที่สุดในเดือนพฤศจิกายนนี้
สำนักข่าวไทย 14 ก.ย.-“นพ.ยง” ลุ้นประวัติศาสตร์การผลิตวัคซีนโควิด-19 สิ้นปีนี้รู้ผล เร็วกว่าปกติถึง 10 เท่า ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า โควิด-19 การพัฒนาวัคซีน ถ้ามองย้อนไปถึงสมัย เอดเวิร์ด เจนเนอร์ ได้ปลูกฝีให้กับเด็กคนแรก ในปี 2339 เพื่อป้องกันฝีดาษ โดยสังเกตจากหญิงรีดนมที่เป็น ฝีดาษวัว แล้วไม่เป็นฝีดาษคน และเป็นผู้ใช้ศัพท์คำว่าวัคซีน ซึ่งมาจากภาษาลาตินแปลว่า วัว ต่อมาในสมัย หลุยส์ ปาสเตอร์ เมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว ได้มีคิดค้นวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สามารถสร้างภูมิต้านทานป้องกันโรคได้ ทั้งที่ท่านไม่ได้เป็นแพทย์ ท่านก็ไม่ได้มีวิธีการขั้นตอน เริ่มจากสัตว์ทดลอง แล้วมาทดลองในคนระยะที่ 1 2 3 แต่วัคซีน ที่ใช้แบบสมัยของหลุยส์ ปาสเตอร์ หลายคนคงเคยรู้ว่า ฉีดรอบสะดือ 17-21 เข็ม และมีอาการข้างเคียงมากสามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ แต่อาการข้างเคียงก็อาจทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน […]
บุ๊คกิ้งดอทคอม เว็บไซต์บริการท่องเที่ยวรายใหญ่ชี้ว่า วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ไม่สามารถทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้โดยเร็ว แม้จะช่วยให้คนรู้สึกปลอดภัยที่จะเดินทางอีกครั้งก็ตาม
กรุงเทพฯ 10 ก.ย. – ทูตจีนยืนยัน หากวัคซีนโควิด-19 สำเร็จ กลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงได้ใช้ภูมิภาคแรก นายหยาง ซิน รักษาการแทนเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมรายการ “กาแฟดำ” สนทนากับ “สุทธิชัย หยุ่น” ในประเด็นความสัมพันธ์ 45 ปี ไทย-จีน และความร่วมมือคลี่คลายปัญหาโควิด-19 พร้อมให้คำมั่นหากจีนผลิตวัคซีน โควิด-19 สำเร็จ ประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะได้ใช้เป็นภูมิภาคแรก! ติดตามได้คืนนี้ (10 ก.ย. 63) 22.30 น. ทาง ช่อง 9 MCOT HD หมายเลข 30 .- สำนักข่าวไทย
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐมั่นใจว่า จะมีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ก่อนสิ้นปี หลังจากบริษัทยาอังกฤษระงับการทดลองวัคซีนระยะสามซึ่งเป็นระยะสุดท้าย
บริษัท แคนซิโน ไบโอโลจิกส์ ของจีนแถลงปกป้องวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของตน หลังจากผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสงสัย
ทางการเม็กซิโกเผยว่า แผนการจำหน่ายวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาที่พัฒนาโดยบริษัทแอสตราเซเนกาอาจประสบปัญหาล่าช้า หลังบริษัทยาดังกล่าวประกาศหยุดทดลองวัคซีน
กรุงเทพฯ 4 ก.ย.-“นพ.ยง” ชี้การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของไทย อุปสรรคคือการศึกษาในคน ระยะที่ 3 ซึ่งต้องใช้กลุ่มประชากรหลักหมื่นและทำในแหล่งระบาดของโรค ต้องไปจ้างต่างประเทศผลิต มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า โควิด-19 กับการพัฒนาวัคซีน ในยามปกติการพัฒนาวัคซีน จะใช้กับป้องกันโรคให้กับคนปกติ จะมี ลำดับขั้นตอน ดังนี้ การศึกษาในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน เพื่อพิสูจน์หลักการทดสอบในสัตว์ทดลองที่เป็นสัตว์ขนาดเล็กก่อน เช่น หนู กระต่าย ทดสอบความปลอดภัยและผลของภูมิต้านทานในสัตว์ใหญ่ เช่นลิง ทดสอบประสิทธิภาพในสัตว์ เช่น ให้วัคซีนในสัตว์ แล้วให้เชื้อที่ทำให้เกิดโรค ดูว่าป้องกันโรคได้ หรือไม่ (ถ้าทำได้) ทุกขั้นตอนจะต้องทำในสถานที่ที่ได้มาตรฐาน GLP (Good Laboratory Practice) และวัคซีนที่ผลิตมาทดลอง ก็จะต้องได้มาตรฐานคงที่ จากห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐาน GLP ข้อมูลทั้งหมดจะต้องถูกนำมาขึ้นทะเบียน องค์กรอาหารและยา FDA เป็น […]
สธ.3 ก.ย.-โฆษก สธ.แถลงความคืบหน้าวัคซีนโควิด ไทยเตรียมลงนามความร่วมมือเพิ่มช่องทางเข้าถึงวัคซีน ร่วมกับกาวีและองค์การอนามัยโลก นอกจากรอการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากออกฟอร์ด และวัคซีน mRNA พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงผลการประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ว่า ที่ประชุมมีความห่วงใยเรื่องการจัดหาวัคซีนโควิด-19ให้เพียงพอใช้ภายในประเทศ โดยมี 3 แนวทาง ได้แก่1.ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี 2.การพัฒนาและผลิตวัคซีน ชนิด mRNA ของไทย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ3.เตรียมร่วมมือ ผ่านโครงการความร่วมมือนวัตกรรม องค์กรวัคซีนกาวี (Gavi) (จัดตั้งเพื่อให้เกิดการเข้าถึงวัคซีนในประเทศต่างๆในโลก)และองค์การอนามัยโลกที่จะนำบริษัทผู้ผลิตวัคซีนที่มีความก้าวหน้าในโลก 10บริษัท มาร่วมกันในผลิตวัคซีน และแจกจ่ายวัคซีนให้กับประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อให้เกิดการเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง เช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเตรียมลงนามสัญญาในกลางเดือนกันยายนนี้ ซึ่งขณะนี้อยู่การศึกษาข้อตกลง และรายละเอียดต่างๆ เพราะทำในนามรัฐบาลไทย พญ.พรรณประภา กล่าวว่า ส่วนเรื่องของสถานการณ์โควิด-19 ในไทย วันนี้พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น2 คน ทำให้ภาพรวมไทยมีการติดเชื้อโควิด 3,429 คน เป็นคนไทยที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ทั้งอินโดนีเซีย และ สหรัฐอเมริกา ขณะพักอยู่ state quarantine ส่วนสถานการณ์ในเมียนมา […]
กรุงเทพฯ 3 ก.ย.-“นพ.ยง” คาดสิ้นปีนี้ทั่วโลกติดเชื้อโควิด-19 กว่า 50 ล้านคน ความหวังหยุดยั้งการระบาด คือวัคซีน หวังให้มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่า 60% ชี้หากไม่มีวัคซีนมาช่วยเลย การระบาดจะนานกว่า 2 ปี ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า โควิด-19 ประเทศไทยสามารถควบคุมไม่ให้มีการระบาดในประเทศได้ถึง 100 วันแล้ว ขณะเดียวกัน จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกรวม 26 ล้านคนแล้ว มีผู้ป่วยเสียชีวิตมากกว่า 800,000 คน จะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 4 วัน หนึ่งล้านคน ภายในสิ้นปีนี้น่าจะมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 ล้านคน และมีการสูญเสียชีวิตมากกว่าล้านแน่นอน ความหวังที่จะหยุดยั้งการระบาดของโรคได้ ทุกคนตั้งความหวังไว้ที่วัคซีนแต่การให้วัคซีนกับคนทั้งโลกไม่ใช่เรื่องง่าย การจะหยุดยั้งการระบาดของโรคได้ จะต้องมีคนติดเชื้อไปแล้ว รวมทั้งเกิดภูมิต้านทานที่ได้จากวัคซีนรวมกันแล้ว ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50-60 ของประชากร วัคซีนจะต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค […]
แหล่งข่าวเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาเรื่องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ให้แก่ประชาชนทุกคนฟรี เพื่อจำกัดการเสียชีวิตและการป่วยหนัก
กทม.29ส.ค.-แพทย์จุฬาฯ เผยบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทย ประสบความสำเร็จพัฒนา “วัคซีนโควิด-19”สร้างภูมิคุ้มกันในลิง เป้าหมายตอนนี้ คือทำโรงงานวัคซีน เพื่อผลิตเองในประเทศ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง รพ.จุฬาลงกรณ์ หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” วันนี้ (29 ส.ค.) ว่า บริษัทใบยาประสบความสำเร็จวัคซีนโควิด-19 สร้างภูมิคุ้มกันในลิงทั้งระบบแอนติบอดีและการกระตุ้นระบบเซลล์ บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทย โดยนักวิจัยไทย บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม สามารถพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำจากใบยาพืช โดยการใส่รหัสพันธุกรรมที่กำหนดการสร้างโปรตีนของไวรัสและภายใน “หนึ่ง”สัปดาห์ พืชจะทำการสร้างโปรตีนที่ต้องการ ทั้งนี้ลักษณะโครงสร้างและลำดับของโปรตีนไม่ได้ผิดเพี้ยนไปเมื่อเทียบกับการสร้างวัคซีนด้วยกลวิธีอื่นๆ วัคซีนใบยาผ่านการทดสอบในหนูและในที่สุดในลิง ด้วยการฉีดสองเข็มห่างกันสามสัปดาห์ และลิงมีความปลอดภัยไม่ปรากฏมีผลข้างเคียง ผลเลือดในลิง ค่าเอนไซม์ตับปกติ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ สิ่งที่น่ายินดีก็คือ ลิงมีระดับภูมิคุ้มกันสูงมาก ที่เรียกว่าNeutralizing antibody ซึ่งสามารถยับยั้งไวรัสได้ ทั้งนี้ทำการตรวจสอบด้วยการวัดระดับจากการตรวจทางElisa surrogate […]