สั่งวางแผนรับมือฤดูแล้ง-น้ำหลาก
“พล.อ.ประวิตร” ห่วงประชาชนได้รับผลกระทบช่วงฤดูแล้ง-น้ำหลาก สั่งกอนช.เร่งวางแผนระยุสั้น กลางยาว ย้ำน้ำอุปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรมต้องพอ
“พล.อ.ประวิตร” ห่วงประชาชนได้รับผลกระทบช่วงฤดูแล้ง-น้ำหลาก สั่งกอนช.เร่งวางแผนระยุสั้น กลางยาว ย้ำน้ำอุปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรมต้องพอ
สถานการณ์น้ำป่าทะลักท่วม อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ยังน่าห่วง น้ำไหลหลากเข้าท่วมเป็นบริเวณกว้าง “เดอะ เวโรนา แอท ทับลาน” อ่วม รถจมน้ำเกือบ 100 คัน วัวสูญหายจำนวนมาก ขณะที่ระดับน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้น
-กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เตือนเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและน้ำท่วมขังผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นโมลาเบ ช่วงวันที่ 28 – 30 ตุลาคม
เร่งช่วยน้ำท่วม
อิทธิพลของพายุโนอึล ส่งผลให้หลายจังหวัดได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก บ้านเรือน ไร่นา โบราณสถาน และสถานที่ราชการ ได้รับความเสียหาย
สถานการณ์น้ำท่วมสุโขทัย คลี่คลายแล้ว จังหวัดเริ่มเดินหน้าฟื้นฟูความเสียหายจากเหตุน้ำยมไหลหลาก
การขุดลอกตะกอนดินภายในบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ชะลอและรับมือน้ำหลาก และกักเก็บน้ำช่วงฤดูแล้ง คืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 90 สทนช. ยืนยันต้องการให้บึงบอระเพ็ดกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง
พิษณุโลก 28 ก.ค.- อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ต้องเจอกับปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งเป็นประจำทุกปี กรมทรัพยากรน้ำบาดาลนำนวัตกรรมระบบเติมน้ำใต้ดินเข้ามาแก้ปัญหา ช่วยให้น้ำที่มีมากในฤดูฝนลงไปสู่ระบบน้ำใต้ดินได้รวดเร็ว และกลายเป็นแหล่งน้ำสำรองที่ดึงกลับขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ในฤดูแล้ง ติดตามจากรายงาน ช่วงนี้เข้าสู่หน้าฝนเต็มตัวแล้ว ทำให้หลายพื้นที่ของไทยเริ่มมีปริมาณฝนตกสะสมมากขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงพื้นที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่มักประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำเมื่อเข้าสู่หน้าฝน ขณะที่หน้าแล้งกลับขาดแคลนน้ำ เนื่องจากไม่สามารถเก็บน้ำฝนไว้ใช้ได้มากพอ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลบอกว่า พื้นที่บางระกำมีชั้นดินผิวหน้าเป็นดินเหนียวหนากว่า 3-4 เมตร จึงทำให้น้ำฝนหรือน้ำหลากไม่สามารถซึมลงชั้นใต้ดินได้ในเวลาอันสั้น จึงต้องแก้ไขด้วยนวัตกรรมระบบเติมน้ำใต้ดินเข้ามาช่วยเพื่อเปิดทางให้น้ำฝนหรือน้ำหลากไหลลงสู่ระบบน้ำใต้ดิน เมื่อผ่านชั้นดินเหนียวแล้ว จะต้องเจาะดินต่อลงไปอีกจนถึงชั้นทราย รวมความลึกประมาณ 8-10 เมตร จากนั้นจึงวางท่อวงต่อเป็นชั้นสูงตั้งแต่ชั้นทรายจนพ้นขอบดินบนสุด โดยที่ด้านบนจะมีระบบกรองด้วยวัสดุธรรมชาติกรวด 3 ขนาด และถ่านไม้ ตามลำดับ เมื่อน้ำหลากลงมาจะผ่านระบบกรอง ได้เป็นน้ำสะอาดลงสู่ระบบน้ำใต้ดิน เป็นการเติมน้ำใต้ดินให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม อีกทั้งเป็นพื้นที่เก็บน้ำที่ช่วยลดผลกระทบจากน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการวิจัยพบว่าน้ำที่ลงไปสู่ระบบใต้ดินจะกระจายไปยังระบบน้ำใต้ดินรัศมีกว่า 1.5 กิโลเมตร สวนเกษตรลุงทองปาน เป็นพื้นที่แห่งแรกๆ ที่นำระบบเติมน้ำใต้ดินมาใช้ ที่นี้จึงไม่มีปัญหาขาดน้ำใช้เพาะปลูกทั้ง 20 ไร่ เลยตลอดทั้งปี สามารถดึงน้ำใต้ดินมาใช้ได้ตามต้องการ ส่วนหน้าฝนก็มีพื้นที่รับน้ำลงไปเก็บไว้ในระบบใต้ดิน จากน้ำที่เคยท่วมขังเป็นเวลานานจะไหลลงสู่ระบบในเวลาไม่กี่ชั่วโมง เป็นแก้มลิงที่มองไม่เห็นให้สวนและแปลงเกษตรโดยรอบ ล่าสุด รองนายกรัฐมนตรีส่งมอบบ่อเติมน้ำใต้ดิน […]
เร่งจัดทำแผนและมาตรการรับน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำบางระกำ และพื้นที่ลุ่มต่ำ 12 ทุ่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง รองรับน้ำหลากให้แล้วเสร็จ ก.ค.นี้
ยอมรับ ปัญหาแก้ยาก เพราะมีปริมาณมาก แต่เชื่อถ้าประชาชนริมแม่น้ำช่วยทำความสะอาดสม่ำเสมอ ปัญหาจะหมดไป
หลังระดับน้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านจังหวัดอ่างทองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบการตกปลา รวมตัวกันมาตั้งแคมป์ตกปลาริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงหน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทองกันกลุ่มใหญ่
กองอำนวยการป้องกันฯ จังหวัดสุโขทัยประเมินสถานการณ์แม่น้ำยม เตือนริมฝั่งรับมือขนย้ายสิ่งของไว้ล่วงหน้า คาดวันนี้ปริมาณน้ำฝนสะสมจากแพร่หลากมาถึง ขณะที่อำเภอศรีสำโรงเร่งป้องจุดเสี่ยงชุมชนวัดเกาะ