“นาซา” ตั้งเป้าปล่อยจรวด “SLS” ครั้งใหม่ 27 ก.ย.

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา ตั้งเป้าส่งจรวด ‘สเปซ ลอนช์ ซิสเท็ม’ หรือเอสแอลเอส ขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 27 กันยายน

“นาซา” ตั้งเป้าปล่อยจรวด “SLS” อีกครั้งวันเสาร์นี้

วอชิงตัน 31 ส.ค. – องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา ตั้งเป้าปล่อยจรวด “สเปซ ลอนช์ ซิสเท็ม” (Space Launch System) หรือเอสแอลเอส ขึ้นสู่อวกาศอีกครั้งในวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น หลังพบปัญหาเกี่ยวกับระบบเครื่องยนต์จนทำให้ต้องยกเลิกการปล่อยจรวดเมื่อวันจันทร์ เจ้าหน้าที่ของนาซาระบุในระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า นาซาตั้งเป้าปล่อยจรวดเอสแอลเอส ซึ่งมีความสูง 98 เมตร ขึ้นสู่อวกาศอีกครั้งในวันเสาร์นี้ และคาดว่าจะสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบเครื่องยนต์สำเร็จก่อนถึงกำหนดปล่อยจรวดครั้งใหม่ ก่อนหน้านี้ นาซาได้เตรียมปล่อยจรวดเอสแอลเอสเพื่อส่งแคปซูล ‘โอไรออน’ (Orion) ซึ่งไม่มีนักบินประจำการ เมื่อวันจันทร์ แต่ต้องประกาศระงับกิจกรรมนับถอยหลังและยกเลิกการปล่อยจรวด เนื่องจากพบปัญหาเกี่ยวกับกลไกการปรับอุณหภูมิที่ระบบเครื่องยนต์ของจรวดเอสแอลเอส สำนักข่าวรอยเตอร์สระบุว่า จรวดเอสแอลเอสและแคปซูลโอไรออนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘อาร์เทมิส วัน’ (Artemis I) ซึ่งเป็นโครงการสำรวจดวงจันทร์ครั้งใหม่ของนาซานับตั้งแต่โครงการอะพอลโลในช่วงคริสต์ทศวรรษหลังปี 1960 และ 1970 โดยตั้งเป้าส่งแคปซูลโอไรออน ที่มีน้ำหนัก 2.6 ล้านกิโลกรัมไปสำรวจดวงจันทร์จากศูนย์อวกาศเคนเนดีบนแหลมคะแนเวอรัลในรัฐฟลอริดาของสหรัฐ แคปซูลลำนี้จะขึ้นไปปฏิบัติภารกิจทดสอบโคจรรอบดวงจันทร์เป็นเวลา 6 สัปดาห์ก่อนเดินทางกลับโลก หากการทดสอบในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ ก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจมากขึ้นในการส่งนักบินอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ในครั้งต่อไป.-สำนักข่าวไทย

“นาซา” เลื่อนส่งจรวด “SLS” หลังเจอปัญหาเชื้อเพลิงรั่ว

ฟลอริดา 29 ส.ค. – องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา เผยว่า กำหนดการปล่อยจรวดขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า ‘สเปซ ลอนช์ ซิสเท็ม’ (Space Launch System) หรือเอสแอลเอส ขึ้นสู่อวกาศในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ได้รับผลกระทบจากปัญหาเชื้อเพลิงรั่ว นาซาระบุว่า พบปัญหาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนรั่วจนทำให้ไม่สามารถปล่อยจรวดเอสแอลเอสที่จะส่งแคปซูล ‘โอไรออน’ (Orion) ซึ่งไม่มีนักบินประจำการ ไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ตามกำหนดเดิมในเวลา 08.33 น. ของวันนี้ตามเวลาในสหรัฐ หรือตรงกับเวลา 19.33 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยคาดว่ากำหนดการส่งจรวดเอสแอลเอสครั้งใหม่อาจมีขึ้นอย่างเร็วสุดในวันศุกร์นี้ สำนักข่าวเอพีรายงานว่า แม้ว่าจรวดและแคปซูลดังกล่าวจะไม่มีนักบินประจำการ แต่ก็มีผู้คนจำนวนมากเดินทางมาร่วมนับถอยหลังการปล่อยจรวดเอสแอลเอสที่บริเวณแหลมคะแนเวอรัลในรัฐฟลอริดา ซึ่งรวมถึง นางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐ และนายดักลาส เอ็มฮอฟฟ์ สามี ที่ได้เดินทางถึงเมืองออร์ลันโดในรัฐฟลอริดาเพื่อเข้าร่วมงานนับถอยหลังปล่อยจรวดในครั้งนี้ด้วย แต่ยังไม่ได้เดินทางถึงฐานปล่อยจรวดบนแหลมคะแนเวอรัล ทั้งนี้ จรวดเอสแอลเอส ซึ่งมีความสูง 98 เมตร เป็นจรวดที่ทันสมัยที่สุดที่นาซาพัฒนาขึ้น และจะเป็นรากฐานสำคัญของโครงการสำรวจดวงจันทร์ครั้งใหม่ของนาซาที่มีชื่อว่า ‘อาร์เทมิส’ (Artemis) ที่ตั้งเป้าส่งนักบินอวกาศกลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้งหลังจากที่หยุดสำรวจมานานถึง 50 ปี […]

‘นาซา’ เตรียมปล่อยจรวด ‘SLS’ สำรวจดวงจันทร์วันนี้

ฟลอริดา 29 ส.ค. – องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา เตรียมส่งจรวดขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า ‘สเปซ ลอนช์ ซิสเท็ม’ (Space Launch System) หรือเอสแอลเอส ขึ้นสู่อวกาศในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น โดยที่จรวดดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจดวงจันทร์ครั้งใหม่ของนาซา นาซาระบุว่า เอสแอลเอสเป็นจรวดที่ทันสมัยที่สุดที่นาซาพัฒนาขึ้น และจะเป็นรากฐานสำคัญของโครงการสำรวจดวงจันทร์ครั้งใหม่ของนาซาที่มีชื่อว่า ‘อาร์เทมิส’ (Artemis) ซึ่งตั้งเป้าส่งนักบินอวกาศกลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้งหลังจากที่หยุดสำรวจมานานถึง 50 ปี นาซามีกำหนดปล่อยจรวดเอสแอลเอสขึ้นสู่อวกาศจากศูนย์อวกาศเคนเนดีในรัฐฟลอริดาของสหรัฐ เวลา 08.33 น. ของวันนี้ตามเวลาในสหรัฐ หรือตรงกับเวลา 19.33 น. ของวันนี้ตามเวลาประเทศไทย จรวดเอสแอลเอส จะส่งแคปซูลชื่อ ‘โอไรออน’ (Orion) ซึ่งไม่มีนักบินประจำการ ไปโคจรรอบดวงจันทร์ก่อนตกสู่พื้นโลกในมหาสมุทรแปซิฟิกในอีก 6 สัปดาห์หน้า ทั้งนี้ นาซาตั้งเป้าว่าจะส่งนักบินอวกาศในโครงการอาร์เทมิสออกเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป นายแรนดี เบรสนิก นักบินอวกาศของนาซา เผยว่า นาซาจะศึกษาสิ่งต่าง ๆ ผ่านเลนส์ที่ติดอยู่บนแคปซูลดังกล่าวในภารกิจอาร์เทมิส 1 เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ […]

นาซาเผยจีนไม่ปันข้อมูลเรื่องเศษชิ้นส่วนจรวดตก

วอชิงตัน 31 ก.ค.- องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐหรือนาซา (NASA) เผยว่า จีนไม่ได้แบ่งปันข้อมูลเรื่องแนววิถีที่เจาะจงของเศษชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช 5 บี (5B) ที่จะตกลงสู่โลก ทั้งที่มีความจำเป็นต้องรู้ว่าเศษชิ้นส่วนอาจจะตกลงที่ใด นาซาระบุว่า ทุกประเทศที่มีกิจกรรมทางอวกาศควรยึดตามแนวปฏิบัติที่ดีที่มีการกำหนดไว้แล้ว และทำหน้าที่ในส่วนของตนเองด้วยการแบ่งปันข้อมูลประเภทนี้เป็นการล่วงหน้า เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ สามารถคาดการณ์ได้อย่างน่าเชื่อถือเรื่องความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากเศษชิ้นส่วนตกลงสู่โลก เป็นการแสดงความรับผิดชอบในการใช้อวกาศและรับประกันความปลอดภัยให้แก่คนบนพื้นโลก ขณะที่แอโรสเปซคอร์ป ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยไม่แสวงหากำไรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐระบุว่า การปล่อยให้ส่วนประกอบหลักของจรวดที่มีน้ำหนักราว 22.5 ตันกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกโดยไม่มีการควบคุมทิศทางเป็นเรื่องที่เลินเล่ออย่างยิ่ง ขณะที่ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในมาเลเซียโพสต์คลิปที่ดูเหมือนจะเป็นเศษชิ้นส่วนจรวด กองบัญชาการอวกาศสหรัฐแจ้งว่า จรวดลองมาร์ช 5 บีกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกเหนือมหาสมุทรอินเดียราวเวลา 12:45 น.วันเสาร์ตามเวลาตะวันออกสหรัฐ ตรงกับเวลา 23:45 น.วันเสาร์ตามเวลาในไทย ส่วนคำถามเชิงเทคนิคของการกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก เช่น สถานที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากเศษชิ้นส่วน ขอให้ไปสอบถามจากจีน ด้านจีนเผยเมื่อต้นสัปดาห์ว่า จะติดตามการตกของเศษชิ้นส่วนจรวดอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะเป็นอันตรายน้อยมากต่อพื้นโลก จรวดลองมาร์ช 5 บีทะยานขึ้นจากฐานปล่อยเมื่อวันที่ 24 กรฎาคมเพื่อนำเวิ่นเทียน (Wentian) ซึ่งเป็นโมดูลที่ 2 และเป็นโมดูลสำหรับทดลองปฏิบัติการขึ้นไปเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศเทียนเหอ (Tianhe) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จรวดลองมาร์ช 5 บีอีกลำหนึ่งของจีนเคยมีเศษชิ้นส่วนตกที่โกตดิวัวร์หรือไอวอรีโคสต์ […]

รัสเซียเล็งถอนตัวจากสถานีอวกาศนานาชาติ

มอสโก 27 ก.ค. – รัสเซียระบุว่า จะถอนตัวจากสถานีอวกาศนานาชาติ หรือไอเอสเอส หลังปี 2567 และจะสร้างสถานีอวกาศเป็นของตัวเอง นายยูริ บอริซอฟ ผู้อำนวยการองค์การอวกาศสหพันธ์รัสเซีย หรือรอสคอสมอส ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งในเดือนนี้ เผยในระหว่างการหารือกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียว่า รอสคอสมอสได้ตัดสินใจถอนตัวจากสถานีอวกาศนานาชาติตั้งแต่หลังปี 2567 เป็นต้นไป และจะเริ่มสร้างสถานีอวกาศของรัสเซียเอง ทั้งยังระบุว่า โครงการสร้างสถานีอวกาศเป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุดของรอสคอสมอส ขณะที่ประธานาธิบดีปูตินกล่าวสั้น ๆ หลังจากที่นายบอริซอฟพูดจบว่า “ดีแล้ว” บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานว่า ขณะนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการตัดสินใจถอนตัวของรัสเซียจะส่งผลกระทบต่ออนาคตของสถานีอวกาศนานาชาติอย่างไร ขณะที่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา ระบุว่า ยังไม่ได้รับเอกสารแจ้งเรื่องการถอนตัวของรัสเซียอย่างเป็นทางการ ส่วน ดร. เลรอย เจียว อดีตหัวหน้าสถานีอวกาศนานาชาติและอดีตนักบินอวกาศของสหรัฐ เชื่อว่า การถอนตัวจากสถานีอวกาศนานาชาติของรัสเซียเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้นได้และเป็นการเล่นแง่ของรัสเซีย เพราะรัสเซียไม่มีเงินมากพอที่จะสร้างสถานีอวกาศเป็นของตัวเอง นอกจากนี้ การสร้างสถานีอวกาศต้องใช้เวลานานหลายปี หากรัสเซียเลือกที่จะถอนตัวจริง ก็เป็นทางเลือกที่ไม่เหลืออะไรเลย สถานีอวกาศนานาชาติเป็นโครงการร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านอวกาศ 5 หน่วยจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ นาซาของสหรัฐ […]

“ไบเดน” เผยภาพแรกจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์

วอชิงตัน 12 ก.ค. – ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐ เผยแพร่ภาพถ่ายห้วงอวกาศที่ลึกและคมชัดที่สุดของจักรวาลยุคแรกเริ่มเมื่อ 13,000 ล้านปีก่อน จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (James Webb Space Telescope) เมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐ ได้เผยแพร่ภาพถ่ายห้วงอวกาศของจักรวาลยุคแรกเริ่มจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ของนาซา ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นกลุ่มกาแล็กซีจำนวนมาก รวมถึงวัตถุหลากหลายสี ภาพถ่ายนี้ยังเผยให้เห็นกลุ่มกาแล็กซี SMACS 0723 ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เลนส์โน้มถ่วงจนทำให้ขยายแสงของกาแล็กซีที่อยู่ห่างไกลออกไปด้านหลัง นอกจากนี้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ได้ติดตั้งกล้อง NIRCam ที่ช่วยให้ภาพถ่ายกลุ่มกาแล็กซีคมชัดมากยิ่งขึ้น ประธานาธิบดีไบเดนกล่าวในระหว่างการประชุมที่ทำเนียบขาวว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ถือเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ด้านวิศวกรรมของมนุษยชาติ กล้องโทรทรรศน์ดังกล่าวสามารถถ่ายภาพอวกาศได้สำเร็จในเวลาเพียง 12.5 ชั่วโมง ซึ่งนับว่ารวดเร็วมากเมื่อเทียบกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่ต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ ทั้งนี้ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา มีกำหนดเผยแพร่ภาพถ่ายอวกาศชุดอื่น ๆ ในวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น. -สำนักข่าวไทย

นาซาจะจัดตั้งทีมเพื่อศึกษายูเอฟโอ

สำนักงานบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือ นาซา กล่าววานนี้ว่า ทางสำนักงานฯ มีแผนที่จะจัดตั้งทีมนักวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจสอบและศึกษา “ปรากฏการณ์ทางอากาศที่ไม่สามารถระบุได้” ซึ่งเป็นสัญญาณล่าสุดที่แสดงให้เห็นถึงความจริงจังของรัฐบาลสหรัฐในเรื่องเกี่ยวกับวัตถุบินไม่สามารถระบุได้ หรือ ยูเอฟโอ

จีนวางแผนใช้ระบบป้องกันดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก

ปักกิ่ง 25 เม.ย.-จีนวางแผนพัฒนาระบบเฝ้าระวังดาวเคราะห์น้อยที่เป็นภัยคุกคามต่อโลกเพื่อป้องกันดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก โดยคาดว่าจะส่งยานอวกาศขึ้นไปสกัดดาวเคราะห์น้อยได้ในปี 2568 หรือ 2569 เพื่อศึกษาและเปลี่ยนวงโคจรของดาวเหล่านี้ สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานอ้างบทสัมภาษณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ของนายหวู่ หยานหัว รองผู้อำนวยการองค์การอวกาศแห่งชาติของจีนว่า จีนกำลังศึกษาหาวิธีกำจัดดาวเคราะห์น้อยที่เป็นภัยคุกคามต่อโลก และคาดว่าจะทดสอบระบบป้องกันดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกด้วยการส่งยานอวกาศขึ้นไปสกัดดาวเคราะห์น้อยได้ในปี 2568 หรือ 2569 เพื่อศึกษาและเปลี่ยนวงโคจรของดาวเหล่านี้ แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีเปลี่ยนวงโคจร ขณะนี้ จีนได้เดินหน้าแผนการเกี่ยวกับโครงการด้านอวกาศจำนวนมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นายหวู่ยังระบุว่า จีนได้ลงนามในข้อตกลงกับรัสเซียเมื่อเดือนมกราคมเพื่อสร้างสถานีวิจัยบนดวงจันทร์ร่วมกัน ส่วนเมื่อปีที่แล้วภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของจีนได้เดินทางกลับสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัยพร้อมด้วยตัวอย่างวัตถุที่เก็บมาจากดวงจันทร์ อย่างไรก็ดี โครงการด้านอวกาศที่ก้าวหน้าของจีนได้ทำให้ความสัมพันธ์ของจีนกับสหรัฐตึงเครียดมากขึ้น โดยที่จีนเคยกล่าวหาว่า ฝูงดาวเทียมของบริษัทสเปซเอ็กซ์ของอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน มีวงโคจรเข้าใกล้สถานีอวกาศของจีนจนทำให้จีนต้องปรับตำแหน่งของสถานีอวกาศเพื่อหลบการชนกับฝูงดาวเทียมดังกล่าว ขณะที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐเผยเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ว่า จีนกับรัสเซียยังคงพยายามใช้อาวุธโจมตีฝูงดาวเทียมของสหรัฐอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา ได้ติดตั้งระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยดาวเคราะห์น้อยด้วยกล้องโทรทรรศน์ไว้ที่รัฐฮาวายของสหรัฐ ชิลี และแอฟริกาใต้ และเพิ่งได้รับการปรับปรุงระบบใหม่ในช่วงต้นปีนี้เพื่อให้สามารถตรวจสอบท้องฟ้าสำเร็จทุก ๆ 24 ชั่วโมง. -สำนักข่าวไทย

นาซาเปิดตัวจรวดสำรวจดวงจันทร์รุ่นใหม่สูงเท่าตึก 32 ชั้น

ฟลอริดา 18 มี.ค. – องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา เปิดตัวจรวดรุ่นใหม่ที่มีความสูงเท่าตึก 32 ชั้นในโครงการสำรวจดวงจันทร์ และได้เริ่มปฏิบัติการขนย้ายจรวดดังกล่าวไปยังแท่นส่งจรวดในรัฐฟลอริดาเพื่อเตรียมทดสอบในขั้นสุดท้ายในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า นาซาได้เปิดตัวจรวดสำหรับระบบการส่งจรวด หรือเอสแอลเอส (Space Launch System) ที่มีความสูงเท่าตึก 32 ชั้น และแคปซูลโอไรออน (Orion) ที่ใช้บรรทุกลูกเรือในโครงการ ‘อาร์เทมีส’ (Artemis) ซึ่งเป็นโครงการสำรวจดวงจันทร์ครั้งใหม่ของนาซาและถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของสหรัฐในการฟื้นโครงการดังกล่าว หลังประสบปัญหาขัดข้องมาเป็นเวลาหลายปี นอกจากนี้ นาซายังได้เริ่มปฏิบัติการขนย้ายจรวดเอสแอลเอสที่มีน้ำหนักราว 2,600 ตันออกจากอาคารประกอบยานพาหนะของศูนย์อวกาศ จอห์น เอฟ เคนเนดี ในรัฐฟลอริดาเมื่อเวลา 17.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับเวลา 04.30 น. ของวันนี้ตามเวลาประเทศไทย ไปยังแหลมคะแนเวอรัลที่ใช้เป็นฐานส่งจรวด โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านทางช่องโทรทัศน์และเว็บไซต์ของนาซา ทั้งนี้ นาซาได้ใช้งบราว 37,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.2 ล้านล้านบาท) ในการพัฒนาจรวดเอสแอลเอสและระบบภาคพื้นดิน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของโครงการอาร์เทมีส นายบิล เนลสัน ผู้อำนวยการของนาซา กล่าวต่อสาธารณชนหลังเริ่มปฏิบัติการขนย้ายจรวดเอสแอลเอสไปยังฐานส่งจรวดว่า […]

นาซาทดสอบส่งยานอวกาศชนดาวเคราะห์น้อยป้องกันโลก

ลอสแอนเจลีส 24 พ.ย. – องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา ได้ทดสอบการปล่อยยานอวกาศที่มีเป้าหมายพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งถือเป็นการสาธิตภารกิจป้องกันโลกครั้งแรกของนาซาเพื่อปกป้องโลกจากการถูกดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนในอนาคต นาซาเผยว่า ได้ปล่อยยานอวกาศชื่อ ‘ดาร์ต’ (DART) ซึ่งมีน้ำหนักบรรทุกเท่ากับรถยนต์ขนาดเล็ก ขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อเวลา 01.21 น. ตามเวลาในสหรัฐจากศูนย์ปล่อยยานอวกาศแวนเดนเบิร์กที่ตั้งอยู่ห่างจากเมืองลอลแอนเจลีสในรัฐแคลิฟอร์เนียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 150 กิโลเมตร ยานดังกล่าวจะปฏิบัติภารกิจเป็นเวลา 10 เดือนในการเดินทางไปในห้วงอวกาศที่อยู่ห่างจากโลกราว 11 ล้านกิโลเมตร เพื่อทดสอบความสามารถในการเปลี่ยนวิถีโคจรของดาวเคราะห์น้อยด้วยแรงเสียดทานจลน์ ซึ่งคือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ และเปลี่ยนเส้นทางของดาวเคราะห์น้อยไม่ให้พุ่งชนโลก เป้าหมายของยานอวกาศดาร์ตในครั้งนี้ คือ ดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอส ซึ่งเป็นดวงจันทร์ขนาดเล็กและมีขนาดใหญ่เท่ากับสนามฟุตบอลที่โคจรรอบหินอวกาศที่มีขนาดใหญ่กว่าถึง 5 เท่าในระบบดาวเคราะห์น้อยคู่ ทั้งนี้ การปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายและยานอวกาศก็มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับอุกกาบาตชิกซูลุบที่พุ่งชนโลกเมื่อ 66 ล้านปีก่อนจนทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์หลายรายให้ความเห็นว่า ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเล็กนั้นเป็นภัยต่อโลกมากกว่าในอนาคตอันใกล้และพบได้บ่อยครั้งกว่าอุกกาบาตขนาดใหญ่.-สำนักข่าวไทย

เผยรัสเซียทดสอบขีปนาวุธที่เกิดอันตรายต่อสถานีอวกาศ

เจ้าหน้าที่ของสหรัฐระบุว่า การทดสอบยิงขีปนาวุธต่อต้านดาวเทียมของรัสเซียเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นทำให้เกิดขยะอวกาศในวงโคจรต่ำของโลกที่เป็นอันตรายต่อสถานีอวกาศนานาชาติ และจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางอากาศเป็นเวลานานหลายปี

1 2 3 4 5 8
...