“นาซา” แต่งตั้งหัวหน้าคณะวิจัยศึกษายูเอฟโอ

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือ นาซา ประกาศแต่งตั้งหัวหน้าคณะวิจัยคนใหม่ที่จะศึกษาสิ่งที่เรียกว่า “ปรากฏการณ์ผิดปกติที่ไม่สามารถระบุได้” หรือ ยูเอพี

รัสเซียฉายรอบปฐมทัศน์ภาพยนตร์ถ่ายทำในอวกาศเรื่องแรก

มอสโก 20 เม.ย.- โรงภาพยนตร์ในรัสเซียเปิดฉายรอบปฐมทัศน์ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในอวกาศเป็นเรื่องแรกแล้วในวันนี้ แซงหน้าวงการฮอลลีวูดของสหรัฐที่ประกาศเมื่อหลายปีก่อนว่าจะถ่ายทำภาพยนตร์ในอวกาศ ภาพยนตร์เรื่องเดอะชาเลนจ์ (The Challenge) เป็นเรื่องราวของศัลยแพทย์คนหนึ่งที่ถูกส่งขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติหรือไอเอสเอส (ISS) เพื่อรักษานักบินอวกาศบาดเจ็บคนหนึ่ง รัสเซียส่งนักแสดงหญิงและผู้กำกับภาพยนตร์ขึ้นไปถ่ายทำที่ไอเอสเอสเป็นเวลา 12 วันในเดือนตุลาคม 2564 และเปิดฉายรอบปฐมทัศน์ในวันนี้ แซงหน้าโครงการที่ทอม ครูซ นักแสดงชาวอเมริกันจากภาพยนตร์หลายภาคเรื่องมิชชั่น อิมพอสซิเบิ้ล (Mission Impossible) องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐหรือนาซา และสเปซเอ็กซ์ของอีลอน มัสก์ ประกาศในปี 2563 ว่าจะถ่ายทำภาพยนตร์ในอวกาศ ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียกล่าวว่า รัสเซียเป็นประเทศแรกที่ถ่ายทำภาพยนตร์ในอวกาศบนยานอวกาศ ถือเป็นการทำสิ่งที่เป็นครั้งแรกอีกแล้ว ซึ่งหมายถึงเรื่องที่รัสเซียบุกเบิกการเดินทางไปอวกาศตั้งแต่สมัยเป็นสหภาพโซเวียต ยูเลีย เปเรซิลด์ นักแสดงหญิงวัย 38 ปี และคลิม ชีเปนโก ผู้กำกับวัย 39 ปี ผ่านการฝึกนาน 4 เดือนก่อนขึ้นสู่อวกาศด้วยยานอวกาศโซยุซไปพร้อมกับนักบินอวกาศ 1 คน แคปซูลที่นำพวกเขากลับมาถึงพื้นโลกถูกนำมาจัดแสดงที่ใจกลางกรุงมอสโก ภาพยนตร์เรื่องนี้บันทึกภาพมาโดยมีความยาวทั้งหมด 30 ชั่วโมง แต่ตัดต่อเหลือความยาวสำหรับฉายเพียง 50 นาทีเท่านั้น.-สำนักข่าวไทย

เลื่อนปล่อย “สตาร์ชิป” หลังขัดข้องทางเทคนิค

สตาร์เบส 18 เม.ย.- สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) บริษัทผู้ผลิตยานอวกาศของสหรัฐเลื่อนกำหนดการปล่อยสตาร์ชิป (Starship) ที่จะทดสอบขึ้นสู่อวกาศเป็นเที่ยวแรกจากวันจันทร์เป็นวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่น หลังจากมีปัญหาขัดข้องทางเทคนิค สเปซเอ็กซ์แถลงว่า การปล่อยสตาร์ชิปถูกเลื่อนก่อนถึงกำหนดเวลาไม่ถึง 10 นาที เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบควบคุมแรงดันของจรวดท่อนแรกหรือบูสเตอร์ แต่ยังคงนับถอยหลังเพื่อทดสอบการบรรจุเชื้อเพลิงเหลวโดยไม่มีการจุดระเบิดเครื่องยนต์ และได้กำหนดปล่อยครั้งใหม่ในเวลา 08:28 น.วันที่ 20 เมษายนตามเขตเวลาตอนกลางของสหรัฐ ตรงกับเวลา 20:28 น.วันเดียวกันตามเวลาไทย ทั้งนี้ก่อนที่จะประกาศกำหนดการปล่อยครั้งใหม่ สเปซเอ็กซ์ได้แจ้งว่า การทดสอบเที่ยวแรกจะต้องล่าช้าอย่างน้อย 48 ชั่วโมงเพื่อรีไซเคิลมีเทนเหลวและออกซิเจนเหลวที่เป็นเชื้อเพลิงของจรวด อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์ทวีตว่า กำหนดการปล่อยสตาร์ชิปขึ้นจากสตาร์เบส (Starbase) ซึ่งเป็นฐานปล่อยของสเปซเอ็กซ์ในเมืองโบคาชิกา รัฐเทกซัส ในเวลา 08:20 น.วันที่ 17 เมษายนตามเขตเวลาตอนกลางของสหรัฐ ตรงกับเวลา 20:20 น.วันเดียวกันตามเวลาไทยต้องถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากวาล์วควบคุมแรงดันมีปัญหาเย็นจัด ทีมงานได้เรียนรู้มากมายและจะพยายามอีกครั้งในอีกไม่กี่วัน สตาร์ชิปเป็นยานอวกาศขนาดใหญ่ ประกอบด้วยยานสูง 50 เมตรสำหรับบรรทุกนักบินอวกาศและสิ่งของ และบูสเตอร์ชื่อซูเปอร์เฮฟวี (Super Heavy) สูง 70 เมตร ได้รับเลือกจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐหรือนาซาให้นำนักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ในปลายปี […]

นาซาเปิดตัวนักบินอวกาศที่จะสำรวจรอบดวงจันทร์

องค์การบริการการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ของสหรัฐ เปิดตัวนักบินอากาศ 4 คนที่จะปฏิบัติภารกิจส่งมนุษย์กลับไปสำรวจดวงจันทร์เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 50 ปี ซึ่งนักบินอวกาศชุดนี้จะมีสตรีรายแรกและคนผิวดำคนแรกที่เข้าร่วมในปฏิบัติการสำรวจดวงจันทร์ด้วย

นักบินอวกาศอายุมากที่สุดของญี่ปุ่น กลับถึงโลกแล้ว

วอชิงตัน 12 มี.ค.- โคอิจิ วากาตะ นักบินอวกาศที่มีอายุมากที่สุดของญี่ปุ่น เดินทางกลับถึงโลกแล้ว พร้อมกับนักบินอวกาศอีก 3 คน ด้วยยานอวกาศของสเปซเอ็กซ์ หลังจากใช้เวลาอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ หรือไอเอสเอส (ISS) นาน 5 เดือน วากาตะ วัย 59 ปี เป็นนักบินอวกาศอายุมากที่สุดของญี่ปุ่นและปฏิบัติภารกิจในอวกาศมากที่สุดของประเทศ โดยใช้เวลาในอวกาศรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 500 วัน ในภารกิจทั้งหมด 5 ครั้ง ยานแคปซูลเอ็นดูรานซ์ (Endurance) ของสเปซเอ็กซ์ ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน นำวากาตะพร้อมนักบินอวกาศ 2 คนขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือนาซา ของสหรัฐ และนักบินอวกาศของรัสเซีย 1 คน เดินทางออกจากไอเอสเอสเมื่อวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ และลงจอดนอกชายฝั่งรัฐฟลอริดาของสหรัฐในค่ำวันเดียวกัน พวกเขาทะยานขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2565 เพื่อทำการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ เช่น การเคลื่อนที่ของของเหลว อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับภารกิจไปดวงจันทร์และดาวอังคารในอนาคต.-สำนักข่าวไทย

จรวดสเปซ เอ็กซ์ ดรากอน นำนักบินอวกาศไปยังไอเอสเอสแล้ว

จรวดสเปซ เอ็กซ์ ฟอลคอน 9 ถูกป่ล่อยขึ้นสู่อวกาศแล้วในวันนี้เพื่อเดินทางไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ไอเอสเอส พร้อมนำนักบินอวกาศของนาซา 2 คน นักบินอวกาศรัสเซีย 1 คนและนักบินอวกาศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์คนที่ 2 ออกเดินทางไปด้วย

นักบินอวกาศหญิงคนแรกของซาอุฯ เตรียมปฏิบัติภารกิจในอวกาศ

ริยาด 14 ก.พ.- ซาอุดีอาระเบียเตรียมตัวส่งนักบินอวกาศหญิงคนแรกของประเทศขึ้นไปปฏิบัติภารกิจในอวกาศในปีนี้ สำนักข่าวเอสพีเอ (SPA) ของทางการซาอุดีอาระเบียรายงานว่า รียานา บาร์นาวี นักบินอวกาศหญิงคนแรกของประเทศวัย 33 ปีจะร่วมกับอาลี อัล-การ์นี นักบินอวกาศชายขึ้นไปปฏิบัติภารกิจแอกเซียม มิชชัน ทู (Axiom Mission 2) หรือเอเอ็กซ์ทู (Ax-2) เป็นเวลา 10 วันที่สถานีอวกาศนานาชาติหรือไอเอสเอส (ISS) ในฤดูใบไม้ผลินี้ โดยจะเดินทางไปด้วยยานอวกาศสเปซเอ็กซ์ดรากอน (SpaceX Dragon) ของบริษัทสเปซเอ็กซ์ ภายใต้การดูแลของบริษัทแอกเซียมสเปซ (Axiom Space) นอกจากนี้ยังจะมีผู้ที่เดินทางไปด้วยอีก 2 คน คือ เพ็กกี้ วิตสัน อดีตนักบินอวกาศหญิงขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐหรือนาซา วัย 63 ปีที่จะเดินทางไปไอเอสเอสเป็นเที่ยวที่ 4 และจอห์น ชอฟฟ์เนอร์ นักธุรกิจชาวอเมริกันที่จะทำหน้าที่นักบินของเที่ยวบินนี้ ยานอวกาศสเปซเอ็กซ์ดรากอนจะทะยานขึ้นจากศูนย์อวกาศเคนเนดีของนาซาในรัฐฟลอริดา ซาอุดีอาระเบียจะเป็นอาหรับประเทศที่ 2 ที่ส่งพลเรือนขึ้นสู่อวกาศ หลังจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออีเป็นอาหรับประเทศแรกที่ส่งพลเรือนขึ้นสู่อวกาศในปี 2562 แต่ชาวอาหรับมุสลิมคนแรกที่ได้ขึ้นสู่อวกาศคือ เจ้าชายสุลต่าน […]

ยานสำรวจดวงจันทร์ของนาซากลับสู่พื้นโลกแล้ว

ยานโอไรออน (Orion capsule) ของสำนักงานบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือ นาซา เดินทางกลับถึงพื้นโลกแล้วเมื่อวานนี้

ยานสำรวจดวงจันทร์ของนาซาจะกลับสู่พื้นโลกวันนี้

ยานโอไรออน (Orion capsule) ของสำนักงานบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือ นาซา กำลังเดินทางกลับสู่พื้นโลกในวันนี้ หลังจากโคจรใกล้ดวงจันทร์และสำรวจอวกาศในจุดที่ไม่เคยมียานอวกาศลำไหนเคยไปมาก่อน ซึ่งเป็นการทดสอบครั้งสุดท้ายก่อนที่จะนำมนุษย์อวกาศกลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง

จรวดยักษ์ของนาซาทะยานขึ้นไปสำรวจดวงจันทร์แล้ว

ฟลอริดา 16 พ.ย.- จรวดที่ทรงพลังที่สุดขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐหรือนาซา (NASA) ทะยานจากฐานปล่อยขึ้นไปปฏิบัติภารกิจอาร์ทิมิสวัน (Artemis 1) ซึ่งเป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์แล้วในวันนี้ จรวดเอสแอลเอส (SLS) ความสูงเท่าตึก 32 ชั้นที่นาซาใช้เวลาพัฒนากว่าทศวรรษ ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยที่ศูนย์อวกาศเคนเนดีในรัฐฟลอริดาเมื่อเวลา 01:47 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 13:47 น.วันนี้ตามเวลาไทย มีแรงขับจรวดมากเป็นประวัติการณ์ถึง 39 เมกะนิวตัน เพื่อนำยานโอไรอัน (Orion) ที่ไร้นักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ เป็นเที่ยวบินทดสอบสำหรับนำร่องเที่ยวบินที่จะมีนักบินอวกาศหญิงคนแรกและนักบินอวกาศผิวสีคนแรกขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ภายในกลางคริสต์ทศวรรษ 2020 หลังจากสหรัฐส่งนักบินอวกาศขึ้นไปบนดวงจันทร์ครั้งหลังสุดในช่วงปี 2512-2515 นาซาวาดหวังว่า จะสามารถตั้งถิ่นฐานมนุษย์และสถานีอวกาศดวงจันทร์เพื่อเตรียมการสำหรับภารกิจไปดาวอังคารในคริสต์ทศวรรษหลังปี 2030 ช่วงเวลานับถอยหลังปล่อยจรวดที่เริ่มตั้งแต่เวลา 01:04 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 13:04 น.วันนี้ตามเวลาไทย เป็นช่วงเวลาตื่นเต้นเนื่องจากทีมงานต้องแก้ไขปัญหาวาล์วรั่วที่ทำให้วิศวกรต้องระงับการปล่อยเชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหลวเข้าไปที่จรวดท่อนกลางเมื่อคืนวันอังคาร ทีมงานใช้เวลาแก้ไขที่ฐานปล่อยประมาณ 1 ชั่วโมงด้วยการไขสลักเกลียวให้แน่นขึ้น ยานโอไรอันทะยานขึ้นจากฐานปล่อยด้วยจรวดเพิ่มแรงส่งหรือบูสเตอร์ 2 ตัวและเครื่องยนต์ทรงพลัง 4 ตัวที่อยู่ใต้จรวดท่อนกลาง ก่อนที่จรวดท่อนกลางจะแยกตัวออกไปภายในไม่กี่นาที ขณะที่จรวดท่อนบนจะนำยานเข้าสู่เส้นทางไปดวงจันทร์ โดยต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะถึงจุดหมาย ยานโอไรอันจะไม่ลงจอดบนดวงจันทร์ แต่จะโคจรอยู่ห่าง ๆ ถัดจากด้านมืดของดวงจันทร์ออกไป […]

นาซาพร้อมส่งจรวดสำรวจดวงจันทร์หลังเลื่อนมา 3 ครั้ง

ฟลอริดา 16 พ.ย.- องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐหรือนาซา (NASA) พร้อมส่งจรวดสำรวจดวงจันทร์ขนาดใหญ่ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยที่รัฐฟลอริดาในวันนี้ หลังจากเลื่อนการปล่อยมาแล้ว 3 ครั้ง นาซากำหนดเริ่มการปล่อยจรวดในภารกิจอาร์ทิมิสวัน (Artemis 1) ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดีในเวลา 01:04 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 13:04 น. วันนี้ตามเวลาในไทย ท่ามกลางสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยราวร้อยละ 90 โดยจะดำเนินการตามกำหนดได้ หากแก้ไขปัญหาวาล์วรั่วที่ฐานปล่อยได้เรียบร้อย ภารกิจนี้เป็นเที่ยวบินทดสอบแบบไร้นักบินอวกาศ เป็นก้าวแรกของแผนการตั้งถิ่นฐานมนุษย์บนดวงจันทร์ และนำบทเรียนมาใช้เตรียมการสำหรับการเดินทางไปดาวอังคารในคริสต์ทศวรรษหลังปี 2030 นอกจากนี้ยังเป็นการกลับไปดวงจันทร์ครั้งแรกหลังจากนักบินอวกาศไปฝากรอยเท้าไว้เมื่อ 50 ปีก่อน และเป็นการปฏิบัติภารกิจครั้งแรกของจรวดเอสแอลเอส (SLS) ที่เป็นจรวดขนาดใหญ่สูงเทียบเท่าตึก 32 ชั้น และทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา นาซายืนยันว่า มีความเสี่ยงต่ำมาก หลังจากเฮอริเคนนิโคลพัดผ่านฐานปล่อยเมื่อสัปดาห์ก่อนและสร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อย หากจำเป็นก็อาจเลื่อนไปปล่อยในวันที่ 19 หรือ 25 พฤศจิกายน ภารกิจครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก คาดว่าจะมีคนเรือนแสนทั้งนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่ไปรอชมการปล่อยจรวดบริเวณชายฝั่ง หลังจากที่ต้องเลื่อนการปล่อยมาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 สิงหาคมเพราะเซ็นเซอร์มีปัญหา ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ […]

สเปซเอ็กซ์นำนักบินอวกาศ 4 คนกลับโลกอย่างปลอดภัย

คณะนักบินอวกาศ 4 คน ที่เดินทางด้วยยานของบริษัทสเปซเอ็กซ์ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ไอเอสเอส เดินทางกลับสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัยเมื่อวานนี้ โดยแคปซูลของพวกเขาตกลงในมหาสมุทรแอตแลนติก นอกชายฝั่งฟลอริดาของสหรัฐ หลังจากไปปฎิบัติหน้าที่ในการวิจัยบนไอเอสเอสมานานเกือบ 6 เดือน ตั้งแต่ 27 เมษายนที่ผ่านมา

1 2 3 4 8
...