จีนเล็งสร้าง “ยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์” แบบมีคนขับคันแรก

ปักกิ่ง, 29 พ.ค. (ซินหัว) — วันจันทร์ (29 พ.ค.) องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน ประกาศการเปิดรับข้อเสนอเกี่ยวกับยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์แบบมีมนุษย์ควบคุมคันแรกของประเทศ ซึ่งจะขับเคลื่อนโดยนักบินอวกาศ 2 คน ที่เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจเยือนดวงจันทร์ภายในปี 2030 การออกแบบภารกิจปัจจุบันบ่งชี้ว่ายานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์แบบมีมนุษย์ควบคุมจะมีหลายหน้าที่ เช่น การขับเคลื่อนแบบมีมนุษย์ควบคุม การเคลื่อนที่บนพื้นผิวดวงจันทร์ การสนับสนุนด้านการระบุตำแหน่ง รวมถึงความช่วยเหลือด้านความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยทีมนักบินอวกาศด้านการเคลื่อนไหว การสื่อสาร การสำรวจ และอื่นๆ องค์การฯ เปิดรับข้อเสนอจากสาธารณชนและจะคัดเลือกทีมที่ดีที่สุดเพื่อพัฒนาต้นแบบยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์แบบมีมนุษย์ควบคุมคันแรกของประเทศ เพื่อรวบรวมทรัพยากรคุณภาพสูงจากภาคสังคม สำรวจวิธีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่เหมาะสม และปรับปรุงประสิทธิภาพของยานดังกล่าว อนึ่ง ข้อเสนอควรครอบคลุมการสาธิตตามข้อกำหนดของพันธกิจ การออกแบบแผนการโดยรวม เทคโนโลยีหลักที่สำคัญ การออกแบบความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ กระบวนการพัฒนา การรับประกันคุณภาพและกำหนดการ รูปแบบธุรกิจ ตลอดจนการยื่นขอเงินทุน-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230529/df2086f044354b6b9c8d4137b4008356/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/360873_20230529ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนส่งพลเรือนคนแรกขึ้นสู่อวกาศแล้ว

จิ่วเฉวียน 30 พ.ค.- จีนส่งนักบินอวกาศ 3 คน ขึ้นสู่อวกาศเพื่อมุ่งหน้าไปยังสถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong) ของจีนแล้วในเช้าวันนี้ หนึ่งในนั้นเป็นพลเรือนคนแรกที่ได้เดินทางไปยังอวกาศ อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการส่งนักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ภายในสิ้นคริสต์ทศวรรษนี้ จวดลองมาร์ช ทูเอฟ (Long March 2F) นำยานอวกาศเสินโจว-16 (Shenzhou-16) ทะยานขึ้นจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนเมื่อเวลา 09:31 น.วันนี้ตามเวลาจีน ตรงกับเวลา 08:31 น.วันนี้ตามเวลาไทย ผู้อำนวยการศูนย์ฯ แจ้งว่า การปล่อยจรวดประสบความสำเร็จด้วยดี นักบินอวกาศทั้งหมดปลอดภัยดี ประกอบด้วยนายจิ่ง ไห่เผิง ผู้บัญชาการภารกิจที่ปฏิบัติภารกิจเป็นครั้งที่ 4 นายจู หยางจู้ วิศวกรที่เป็นลูกเรือคนที่ 3 และนายกุ้ย ไห่เฉา อาจารย์มหาวิทยาลัยการบินและอวกาศปักกิ่ง ซึ่งเป็นพลเรือนคนแรกที่ได้ขึ้นสู่อวกาศ ยานอวกาศเสินโจวจะเชื่อมต่อกับเทียนเหอ (Tianhe) ซึ่งเป็นโมดูลหลักของสถานีอวกาศเทียนกง เพื่อนำนักบินอวกาศทั้ง 3 คนไปปฏิบัติภารกิจเสินโจว-16 ต่อจากนักบินอวกาศ 3 คนที่จะเดินทางกลับโลกในอีกไม่กี่วัน หลังจากปฏิบัติภารกิจเสินโจว-15 อยู่นาน 6 เดือน นักบินอวกาศชุดใหม่จะทำการทดลองขนาดใหญ่ในวงโคจร […]

บริษัทญี่ปุ่นจะส่งยานไปสำรวจบนดวงจันทร์

บริษัทไอสเปซ สตาร์ทอัพด้านอวกาศของญี่ปุ่นจะพยายามในวันนี้ที่จะเป็นบริษัทเอกชนบริษัทแรกที่ส่งยานลงไปสำรวจบนดวงจันทร์

จีนจำลองวิธีสร้าง “ฐานปฏิบัติการ” บนดวงจันทร์ ผสานเทคนิคก่อสร้างจีนโบราณ

ปักกิ่ง, 22 เม.ย. (ซินหัว) — พลทหารหุ่นยนต์จำนวนมากกำลังวิ่งขวักไขว่อยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์ หุ่นยนต์บางตัวกำลังใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เพื่อเปลี่ยนทรัพยากรจากแหล่งกำเนิดบนดวงจันทร์ให้เป็นวัสดุก่อสร้าง ขณะที่บางตัวกำลังง่วนอยู่กับการก่ออิฐและการประกอบโครงสร้าง ภาพเหตุการณ์ข้างต้นไม่ใช่ฉากในภาพยนตร์ไซไฟแต่อย่างใด แต่เป็นไอเดียที่เกิดขึ้นในการทดลองจริงในห้องปฏิบัติการของนักวิทยาศาสตร์จีน ศาสตราจารย์ติงเลี่ยอวิ๋น ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวจง (Huazhong University of Science and Technology) ได้นำทีมเพื่อทำวิจัยเรื่องการสร้างฐานปฏิบัติการบนดวงจันทร์มาตั้งแต่ปี 2015 ทีมวิจัยของเขาได้เสนอแนวคิดในการผสมผสานการพิมพ์ 3 มิติเข้ากับเทคนิคการก่ออิฐ เซาะร่อง และทำเดือยแบบดั้งเดิมของจีน โดยใช้ดินจากดวงจันทร์ในการผลิตอิฐที่มีร่องและเดือย จากนั้นใช้หุ่นยนต์ประกอบโครงสร้างคล้ายกับการเล่นตัวต่อเลโก้ ติงกล่าวกับหนังสือพิมพ์ไชน่า ไซแอนซ์ เดลี (China Science Daily) ว่าวิธีนี้จะทำให้เราสร้างโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่บนดวงจันทร์ได้ ทั้งยังประหยัดพลังงานและช่วยลดต้นทุน การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างนอกโลกเช่นนี้ต้องเผชิญความท้าทายหลายประการ เนื่องจากดวงจันทร์มีสภาวะสุญญากาศระดับสูงยิ่งยวด และมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ต่างกันมากถึง 300-400 องศาเซลเซียส วิธีการก่อสร้างแบบดั้งเดิมจึงแทบไม่สามารถนำมาใช้ได้ ทั้งยังไม่สามารถรับประกันความเสถียรของโครงสร้างได้เช่นกัน นอกจากนี้ การที่ดวงจันทร์เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง มีรังสีคอสมิกสูง มีลมสุริยะ รวมถึงได้รับผลกระทบต่างๆ จากอุกกาบาตขนาดเล็ก บวกกับบนผิวดวงจันทร์นั้นมีสภาพภูมิประเทศที่ซับซ้อน การก่อสร้างในแหล่งกำเนิดบนพื้นผิวดวงจันทร์จึงเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนอย่างมากและต้องผสานความรู้หลากหลายสาขาวิขา ศาสตราจารย์ติงระบุว่าวัสดุต่างๆ เช่น […]

“สตาร์ชิพ” จรวดใหญ่ที่สุดในโลกระเบิดระหว่างทดสอบ

“สตาร์ชิพ” จรวดที่มีขนาดใหญ่และทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ระเบิดในระหว่างการทดสอบการปล่อยจากฐานเป็นเที่ยวบินแรกในวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่น แต่นายอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีและซีอีโอของสเปซเอ็กซ์ ซึ่งเป็นบริษัทเจ้าของจรวด กล่าวแสดงความยินดีกับทีมงานสเปนซเอ็กซ์ในการทดสอบที่ตื่นเต้นครั้งนี้

เลื่อนปล่อย “สตาร์ชิป” หลังขัดข้องทางเทคนิค

สตาร์เบส 18 เม.ย.- สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) บริษัทผู้ผลิตยานอวกาศของสหรัฐเลื่อนกำหนดการปล่อยสตาร์ชิป (Starship) ที่จะทดสอบขึ้นสู่อวกาศเป็นเที่ยวแรกจากวันจันทร์เป็นวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่น หลังจากมีปัญหาขัดข้องทางเทคนิค สเปซเอ็กซ์แถลงว่า การปล่อยสตาร์ชิปถูกเลื่อนก่อนถึงกำหนดเวลาไม่ถึง 10 นาที เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบควบคุมแรงดันของจรวดท่อนแรกหรือบูสเตอร์ แต่ยังคงนับถอยหลังเพื่อทดสอบการบรรจุเชื้อเพลิงเหลวโดยไม่มีการจุดระเบิดเครื่องยนต์ และได้กำหนดปล่อยครั้งใหม่ในเวลา 08:28 น.วันที่ 20 เมษายนตามเขตเวลาตอนกลางของสหรัฐ ตรงกับเวลา 20:28 น.วันเดียวกันตามเวลาไทย ทั้งนี้ก่อนที่จะประกาศกำหนดการปล่อยครั้งใหม่ สเปซเอ็กซ์ได้แจ้งว่า การทดสอบเที่ยวแรกจะต้องล่าช้าอย่างน้อย 48 ชั่วโมงเพื่อรีไซเคิลมีเทนเหลวและออกซิเจนเหลวที่เป็นเชื้อเพลิงของจรวด อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์ทวีตว่า กำหนดการปล่อยสตาร์ชิปขึ้นจากสตาร์เบส (Starbase) ซึ่งเป็นฐานปล่อยของสเปซเอ็กซ์ในเมืองโบคาชิกา รัฐเทกซัส ในเวลา 08:20 น.วันที่ 17 เมษายนตามเขตเวลาตอนกลางของสหรัฐ ตรงกับเวลา 20:20 น.วันเดียวกันตามเวลาไทยต้องถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากวาล์วควบคุมแรงดันมีปัญหาเย็นจัด ทีมงานได้เรียนรู้มากมายและจะพยายามอีกครั้งในอีกไม่กี่วัน สตาร์ชิปเป็นยานอวกาศขนาดใหญ่ ประกอบด้วยยานสูง 50 เมตรสำหรับบรรทุกนักบินอวกาศและสิ่งของ และบูสเตอร์ชื่อซูเปอร์เฮฟวี (Super Heavy) สูง 70 เมตร ได้รับเลือกจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐหรือนาซาให้นำนักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ในปลายปี […]

นาซาเปิดตัวนักบินอวกาศที่จะสำรวจรอบดวงจันทร์

องค์การบริการการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ของสหรัฐ เปิดตัวนักบินอากาศ 4 คนที่จะปฏิบัติภารกิจส่งมนุษย์กลับไปสำรวจดวงจันทร์เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 50 ปี ซึ่งนักบินอวกาศชุดนี้จะมีสตรีรายแรกและคนผิวดำคนแรกที่เข้าร่วมในปฏิบัติการสำรวจดวงจันทร์ด้วย

จีนเผยแพร่ข้อมูล “ตัวอย่างจากดวงจันทร์” ชุดใหม่ ผ่านระบบออนไลน์

ปักกิ่ง, 15 มี.ค. (ซินหัว) — องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ได้เผยแพร่ฐานข้อมูลตัวอย่างจากดวงจันทร์ชุดที่ 6 ซึ่งนำกลับสู่โลกโดยยานฉางเอ๋อ-5 (Chang’e-5) องค์การฯ ระบุว่าคณะนักวิจัยและสาธารณชนสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์การสำรวจดวงจันทร์และอวกาศห้วงลึกและระบบปล่อยตัวอย่างข้างต้น ผ่านทางเว็บไซต์ www.clep.org.cn โดยสามารถสมัครขอข้อมูลและตัวอย่างได้ อนึ่ง ยานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ-5 ของจีนกลับสู่โลกเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2020 พร้อมตัวอย่างดวงจันทร์ น้ำหนักรวม 1,731 กรัม ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินและดินจากพื้นผิวดวงจันทร์ – สำนักข่าวซินหัว อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/345217_20230315ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนเล็งเดินหน้าโครงการ “สำรวจดวงจันทร์” ระยะ 4 ในปี 2023

ปักกิ่ง, 7 ก.พ. (ซินหัว) — เมื่อวันจันทร์ (6 ก.พ.) อู๋เหว่ยเหริน หัวหน้าทีมออกแบบโครงการสำรวจดวงจันทร์ของจีน เปิดเผยว่าจีนจะเดินหน้าผลักดันโครงการสำรวจดวงจันทร์ระยะที่ 4 ในปี 2023 ซึ่งรวมถึงภารกิจการนำตัวอย่างหนัก 2 กิโลกรัมที่เก็บรวบรวมจากด้านไกลของดวงจันทร์กลับมายังโลก อู๋กล่าวว่าจีนจะดำเนินการวิจัยดวงจันทร์อย่างต่อเนื่องผ่านภารกิจฉางเอ๋อ-6 ฉางเอ๋อ-7 และฉางเอ๋อ-8 โดยภารกิจฉางเอ๋อ-6 มีกำหนดปฏิบัติงานส่งกลับตัวอย่างสู่โลกให้เสร็จสิ้น ส่วนภารกิจฉางเอ๋อ-7 จะเกี่ยวข้องกับการลงจอดบนขั้วใต้ของดวงจันทร์และตรวจหาแหล่งน้ำ อู๋เผยว่าภารกิจฉางเอ๋อ-8 จะเปิดตัวประมาณปี 2028 และจะทำงานร่วมกับฉางเอ๋อ-7 เพื่อสร้างแบบจำลองพื้นฐานของสถานีวิจัยทางวิทยาศาสตร์บนขั้วใต้ของดวงจันทร์ รวมถึงเครื่องมือสำรวจหลายรายการ อาทิ ยานโคจร ยานลงจอด ยานสำรวจ และยานบิน อนึ่ง ฉางเอ๋อ-5 ซึ่งเปิดตัวในปี 2020 เป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์ครั้งล่าสุดของจีน โดยยานสำรวจสามารถเก็บตัวอย่างดินจากด้านใกล้ของดวงจันทร์ทั้งหมด 1,731 กรัม – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230206/10408e89573d4ca5bd8db3d84054fab1/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/337218_20230207ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนวางแผนส่งจรวดสู่อวกาศกว่า 60 ครั้ง ในปี 2023

ปักกิ่ง, 12 ม.ค. (ซินหัว) — จีนวางแผนปล่อยจรวดขึ้นสู่ห้วงอวกาศกว่า 60 ครั้งในปี 2023 โดยคาดการณ์ว่าบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบินและอวกาศแห่งประเทศจีน (CASC) จะปล่อยจรวดมากกว่า 50 ครั้ง และบริษัทอวกาศจีนแห่งอื่นจะปล่อยจรวดมากกว่า 10 ครั้ง ในจำนวนนี้ จรวดขนส่งลองมาร์ช-2เอฟ (Long March-2F) และลองมาร์ช-7 (Long march-7) จะปฏิบัติภารกิจสำหรับปฏิบัติการของสถานีอวกาศจีน ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการตามปกติและเข้าสู่ขั้นแรกของการประยุกต์ใช้และพัฒนาแล้ว มีการคาดว่าจรวดขนส่งลองมาร์ช-6 (Long March-6) รุ่นปรับปรุง จะขึ้นบินเที่ยวแรกในปี 2023 โดยจรวดซึ่งขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงเหลวที่ทำจากออกซิเจนเหลวและเคโรซีนนี้ ถือเป็นจรวดขนส่งรุ่นแรกของจีนที่ใช้เชื้อเพลิงที่ไม่เป็นพิษและไม่ก่อให้เกิดมลพิษ พีอาร์-1 (PR-1) เป็นจรวดเชื้อเพลิงแข็งขนาดใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน และส่งดาวเทียมจำนวน 6 ดวงขึ้นสู่วงโคจรที่กำหนดสำเร็จเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่วนจรวดพีอาร์-2 (PR-2) คาดว่าจะถูกปล่อยสู่อวกาศช่วงครึ่งแรกของปี 2023 จีนจะเดินหน้าส่งเสริมโครงการสำรวจดวงจันทร์และดาวเคราะห์ต่อไป รวมถึงดำเนินการพัฒนายานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ-7 (Chang’e-7) ยานสำรวจดาวอังคารเทียนเวิ่น-2 (Tianwen-2) และยานสำรวจรุ่นอื่นๆ ในปี 2023 อนึ่ง วันที่ 3 […]

ยานสำรวจดวงจันทร์ของเกาหลีใต้ถ่ายภาพโลก-ดวงจันทร์

“ทานูรี” (Danuri) ยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกของเกาหลีใต้ ส่งภาพถ่ายขาว-ดำ ที่เป็นภาพพื้นผิวของดวงจันทร์และโลกกลับมา

1 3 4 5 6 7 9
...