เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวต่อเนื่อง
เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค
เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค
ผู้ว่าการ ธปท. คาดว่า จีดีพี ปี 2565 และ 2566 จะเติบโต 3.3% และ 4.2% นักท่องเที่ยวต่างชาติฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ จากต้นปีมีเกิน 2 ล้านคน ทั้งปีคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว 6 ล้านคน ผู้ว่างงานและเสมือนว่างงาน ปี 2565 คาดว่าจะมีราว 2.5 ล้านคน เงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าปีนี้จะอยู่ที่ 6.2% โดยเดือนมีนาคม คาดไว้ 4.9%
สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก หรือดับเบิลยูทีทีซี (WTTC) คาดการณ์ว่า การเดินทางและการท่องเที่ยวโลกจะฟื้นตัวกลับไปอยู่ระดับก่อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระบาดได้ภายในปี 2566 ส่วนอาเซียนจะฟื้นตัวเต็มที่อย่างช้า ๆ
เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ เผยปัญหาราคาพลังงานพุ่ง และความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ฉุดจีดีพีไทย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อจ่อพุ่ง
ครม. รับทราบรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจไทย กนง.คาดเศรษฐกิจปี 65 ขยายตัวร้อยละ 3.4 และปี 66 ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
“ศักดิ์สยาม” เปิดแผนลงทุนปี 65 ทุ่มงบ 1.4 ล้านล้านบาท ดันคนไทยมีงานกว่า 1.54 แสนคน กระตุ้นจีดีพีกว่า 4 แสนล้านบาท หรือโต 2.35% ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย เพิ่มความสะดวก-ปลอดภัย-รวดเร็วในการเดินทาง
โซล 15 พ.ย.- เกาหลีใต้มีหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) สูงที่สุดในบรรดา 37 เขตเศรษฐกิจ รวมทั้งไทย สถาบันการเงินสากล ซึ่งเป็นสมาคมสำหรับอุตสาหกรรมบริการการเงินโลก เผยรายงานในวันนี้ว่า นับถึงสิ้นเดือนมิถุนายนปีนี้ เกาหลีใต้มีหนี้ครัวเรือนสาธารณะร้อยละ 104.2 ของจีดีพี มากที่สุดในบรรดา 37 เขตเศรษฐกิจ รองลงมาคือฮ่องกงร้อยละ 92 ของจีดีพี อังกฤษร้อยละ 89.4 ของจีดีพี สหรัฐร้อยละ 79.2 ของจีดีพี ไทยร้อยละ 77.5 ของจีดีพี มาเลเซียร้อยละ 73.4 และญี่ปุ่นร้อยละ 63.9 เกาหลีใต้เป็นประเทศเดียวในโลกที่หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีมากกว่าขนาดเศรษฐกิจประเทศ และเพิ่มขึ้นต่อปีเร็วที่สุดในโลก คือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6 จากปีก่อน ข้อมูลของธนาคารกลางเกาหลีใต้ระบุว่า สินเชื่อครัวเรือนทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1,805.9 ล้านล้านวอน (ราว 50 ล้านล้านบาท) ในเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 41.2 ล้านล้านวอน (ราว 1.14 ล้านล้านบาท) จากเมื่อ […]
โตเกียว 15 พ.ย.- เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ของปีนี้หดตัวร้อยละ 3 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและการผลิตยานยนต์ได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 สำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นแถลงวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ที่วัดมูลค่าสินค้าและบริการของประเทศ ในไตรมาสเดือนกรกฎาคม-กันยายนลดลงร้อยละ 0.8 จากไตรมาสเดือนเมษายน-มิถุนายน ซึ่งจีดีพีขยายตัวร้อยละ 0.4 ส่วนไตรมาสเดือนมกราคม-มีนาคมจีดีพีหดตัวร้อยละ 1.1 จีดีพีญี่ปุ่นไตรมาส 3 หดตัวร้อยละ 3 ต่อปี มากกว่าที่ตลาดคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.8 และหดตัวร้อยละ 0.8 ต่อไตรมาส มากกว่าที่ตลาดคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.2 ญี่ปุ่นไม่เคยใช้มาตรการล็อกดาวน์ แต่ขอให้ภาคธุรกิจปิดหรือจำกัดเวลาให้บริการเป็นครั้งคราวตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และขอให้ใช้มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม มาตรการจำกัดเหล่านี้กระทบต่อการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน โดยทำให้การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 3 ลดลงร้อยละ 1.1 จากไตรมาส 2 ขณะเดียวกันการที่หลายประเทศในเอเชียที่ผลิตชิปคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนยานยนต์ล็อกดาวน์นานหลายเดือน ทำให้ญี่ปุ่นเกิดภาวะขาดแคลน กระทบต่อการผลิตและจำหน่ายยานยนต์ โตโยตามอเตอร์คอร์ป ผู้ผลิตยานยนต์ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นคาดว่า การผลิตจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในเดือนหน้า เพราะสถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดีขึ้นแล้ว.-สำนักข่าวไทย
นักวิเคราะห์ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ลงเหลือ 0.6% แต่ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 มีแนวโน้มฟื้นตัวจากทุกเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจที่จะขยายตัวเล็กน้อย และคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับสู่ภาวะปกติเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งก่อน
รมว.คลัง ระบุรัฐบาลพร้อมออกมาตรการผลักดันเศรษฐกิจเติบโต 4-5% ในปี 2565
สศก. คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.2 โดยโควิด-19 กระทบการบริโภคสินค้าเกษตรในประเทศ ช่วง 5 เดือน เสียหายกว่า 13,000 ล้านบาท
คลังปรับจีดีพีปี 64 ขยายตัวเพียง ร้อยละ 1.3 จากผลกระทบ ระลอกใหม่ ไวรัสโควิด-19 เตรียมศึกษาข้อเสนอมาตรการเยียวยาจากทุกส่วน เดินหน้าเจรจา Delivery Food จ่ายคนละครึ่ง ย้ำรายได้หด ยังรักษาระดับเงินคงคลัง 4 แสนล้านบาท ส่วนจีดีพีปี 65 ขยายตัว ร้อยละ 4 -5 ต่อปี จากการท่องเที่ยว และการส่งออกฟื้นตัว