นายกฯ เผยเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง เล็งออกมาตรการช่วยผู้สูงอายุ
นายกฯ เป็นประธานประชุมบอร์ดกระตุ้นเศรษฐกิจนัดแรก เผยจีดีพีรวม 3 ไตรมาส 2.3% ฟื้นตัวต่อเนื่อง เล็งออกมาตรการช่วยกลุ่มผู้สูงอายุต่อไป
นายกฯ เป็นประธานประชุมบอร์ดกระตุ้นเศรษฐกิจนัดแรก เผยจีดีพีรวม 3 ไตรมาส 2.3% ฟื้นตัวต่อเนื่อง เล็งออกมาตรการช่วยกลุ่มผู้สูงอายุต่อไป
นายกฯ หวังสิ้นปี 67 จีดีพีโต 2.6% เชื่อเป็นสัญญาณที่ดี สั่ง ก.คลัง-พาณิชย์ หามาตรการกระตุ้นเอกชนลงทุน
ส่งออกอิเล็กทรอนิกส์-มาตรการรัฐ ดันเศรษฐกิจไทยขยายตัว กกร.ปรับเพิ่มกรอบ จีดีพี 67 ขยายตัว 2.6-2.8% แนะรัฐการเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยวปลายปี มาตรการคูณ 2, E-Receipt พร้อมหนุนรัฐแก้หนี้ครัวเรือน
ประธานหอการค้าไทย เผยเข้าพบ นายกฯ หารือแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ หวังดันจีดีพีโตไม่ต่ำกว่า 3-5% ขอรัฐบาลฟังเสียงเอกชน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
นายกฯ ย้ำ ขอไม่พูด ปม กนง.คงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.5 ต่อปี บอก พูดหลายรอบแล้ว ไม่อยากให้เกิดความขัดแย้ง ชี้ ต่างคนต่างมีหน้าที่ ทำเพื่อประชาชน
วอชิงตัน 12 มิ.ย.- ธนาคารโลกปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจเมียนมาในปีงบประมาณ 2567/2568 ลงครึ่งหนึ่งจากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 1 เนื่องจากความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น การขาดแคลนแรงงาน และสกุลเงินอ่อนค่า ทำให้การทำธุรกิจประสบปัญหา ธนาคารโลกคาดการณ์ในเดือนธันวาคม 2566 ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ของเมียนมาจะขยายตัวราวร้อยละ 2 ในปีงบประมาณ 2567/2568 แต่ได้ปรับลดลงเหลือร้อยละ 1 ในการคาดการณ์ล่าสุด เหตุผลหลักคือ อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงอยู่ และข้อจำกัดในการเข้าถึงแรงงาน การแลกเปลี่ยนเงินตรา และกระแสไฟฟ้า สิ่งเหล่านี้มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าที่เคยคาดไว้ รายงานของธนาคารโลกระบุว่า การประกาศบังคับเกณฑ์ทหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ยิ่งทำให้คนอพยพหนีไปยังชนบทและต่างประเทศ มีรายงานเพิ่มขึ้นว่า บางอุตสาหกรรมประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ขณะเดียวกันการที่รัฐบาลเมียนมาเสียการควบคุมพื้นที่ชายแดนทางบกกับจีนและไทย ได้ทำให้การนำเข้าและส่งออกทางชายแดนลดลงร้อยละ 50 และ 44 ตามลำดับ ขณะที่การนำเข้าและส่งออกทั้งหมดของเมียนมาในช่วง 6 เดือนจนถึงเดือนมีนาคม 2567 ลดลงร้อยละ 20 และ 13 ตามลำดับ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน.-814.-สำนักข่าวไทย
กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี โดย 2 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี ขณะที่ปรับลดจีดีพีปี 2567 เหลือ 2.6% และปี 2568 ที่ 3.0%
“เศรษฐา” ยืนยันคนไทย 50 ล้านคน จะได้ 1 หมื่นบาทเข้ากระเป๋าเงินดิจิทัล ในไตรมาส4 โดยแหล่งที่มาของเงินมาจากงบประมาณปี 67-68 มั่นใจช่วยดันจีดีพีไทยโต 1.2-1.6%
ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบไม่ได้คาดคิดมาก่อนในข่วงปลายปีที่แล้ว ทำให้สูญเสียตำแหน่งประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกให้แก่เยอรมนี
-นายกฯ ห่วงจีดีพีไตรมาส 3/66 เผยทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนเลวร้ายกว่าที่คิดไว้มาก ย้ำไตรมาส 4 ที่เหลืออยู่ต้องพยายามทำให้ดีขึ้น
กรุงเทพฯ 20 พ.ย.- สภาพัฒน์ ปรับคาดการณ์จีดีพีปี 66 ขยายตัวร้อยละ 2.5 แรงส่งหนุนปี 67 ขยายตัวร้อยละ 3.5 แนะปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ขยายตลาดส่งออก สำคัญกว่าการบริโภคในประเทศ ลุ้นกฤษฎีกา พิจารณากู้เงินดิจิทัลวอลเล็ต นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สภาพัฒน์ ปรับคาดการณ์จีดีพีในปี 66 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากเดิมร้อยละ 2.5-3 นับว่าขยายตัวต่อเนื่องจากร้อยละ 2.6 ในปี 65 คาดอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ร้อยละ 1.4 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.0 อัตราการว่างงานต่ำสุดในรอบ 15 ไตรมาส ทุนสำรองระหว่างประเทศ 2.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หนี้สาธารณะ ณ ก.ย. 66 ร้อยละ 62.1 ของจีดีพี สภาพัฒน์ ยอมรับว่า การประเมินจีดีพีในปี 67 ยังไม่คำนวณข้อมูลจากโครงการโอนเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท เพราะต้องรอดูความชัดเจนผลการพิจารณาของกฤษฎีกา จากแผนกู้เงินผ่าน พ.ร.บ. […]
เอกชนหนุนเติมเงิน 1 แสนล้าน ในกองทุนเพิ่มขีดความสามารถ ไม่ห่วงหนี้ประเทศ หากทำให้จีดีพีโตตามเป้า วอนห่วงค่าไฟปีหน้า