ปอท. เตือน! “วันโกหก” โพสต์-แชร์ข่าวปลอม มีโทษหนัก
ปอท. เตือน! April Fool’s Day 1 เมษายน วันโกหก โพสต์-แชร์ข่าวปลอม ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิด มีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โทษหนัก
ปอท. เตือน! April Fool’s Day 1 เมษายน วันโกหก โพสต์-แชร์ข่าวปลอม ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิด มีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โทษหนัก
ปักกิ่ง 5 ก.พ. – บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือ บีบีซี ตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์ของเจ้าหน้าที่จีนและสื่อสังคมออนไลน์จีน ที่ทำให้ข้อพิพาททางการทูตระหว่างทั้งสองฝ่ายทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หลังจาก 1 วันก่อนหน้านี้ อังกฤษเพิกถอนใบอนุญาตโทรทัศน์ของ ซีจีทีเอ็น โทรทัศน์ทางการของจีน อังกฤษกับจีนมีปมขัดแย้งกันมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่จีนใช้กำลังปราบปรามและลงโทษผู้เห็นต่างในฮ่องกง ความกังวลด้านความปลอดภัยในเทคโนโลยีของหัวเว่ย บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของจีน รวมถึงการดูแลชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน ขณะที่ออฟคอม (Ofcom) หน่วยงานกำกับดูแลสื่อของอังกฤษสั่งเพิกถอนใบอนุญาตสถานีโทรทัศน์ซีจีทีเอ็น ซึ่งเป็นช่องรายการข่าวโทรทัศน์ภาคภาษาอังกฤษของสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนหรือซีซีทีวี หลังจากที่ได้ข้อสรุปว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีอำนาจสูงสุดในงานด้านบรรณาธิการข่าวของสถานีดังกล่าว นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์เทเลกราฟของอังกฤษยังรายงานว่า ในช่วงปีที่ผ่านมาอังกฤษได้ส่งตัวสายลับจีน 3 คนที่ใช้วีซ่าสื่อมวลชนบังหน้ากลับประเทศ ในขณะเดียวกัน กระทรวงต่างประเทศของจีนได้ออกแถลงการณ์กล่าวหาบีบีซีว่า รายงานข่าวปลอมเกี่ยวกับสถานการณ์โรควิด-19 ในจีน และเรียกร้องให้บีบีซีออกมาขอโทษ ทั้งยังระบุว่า บีบีซี นำเรื่องโรคโควิด-19 มาโยงกับการเมือง คำวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวของกระทรวงต่างประเทศจีนกลายเป็นที่กล่าวถึงจนติดอันดับต้น ๆ ของเวย์ปั๋วที่เป็นแพลตฟอร์มคล้ายทวิตเตอร์ของจีน ขณะที่บีบีซีระบุว่า รายงานข่าวที่เกิดขึ้นมีความเป็นกลางและปราศจากอคติ ก่อนหน้านี้ บีบีซีได้ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหลังรายงานว่า ผู้หญิงในค่ายกักกันของชนกลุ่มน้อยอุยกูร์และชาวมุสลิมอื่น ๆ ที่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ถูกข่มขืนและทารุณกรรม.-สำนักข่าวไทย
รอง โฆษก ตร. เตือนอย่าซ้ำเติมช่วงโควิด-19 ด้วยการสร้างข่าวปลอม ฝากประชาชนก่อนแชร์ข้อความควรตรวจสอบให้ดี เพราะอาจตกเป็นเหยื่อหรืออาจสร้างความสับสนแก่ผู้อื่น
กทม. 26 ธ.ค. – กรมการขนส่งทางบก ขอความร่วมมือหยุดแชร์ข่าวปลอมยึดคืนใบขับขี่ตลอดชีพ ยืนยันยังใช้ได้ตามปกติ ไม่มีการยึดคืน ไม่มีการเรียกมาอบรมหรือทดสอบใหม่แต่อย่างใด นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า กรณีที่มีการแชร์ข้อความว่าผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถตลอดชีพ ต้องโดนยึดใบอนุญาตขับรถ และให้เข้ามาทดสอบสมรรถภาพของร่างกายใหม่ หรือทดสอบขับรถใหม่ กรมการขนส่งทางบกขอชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวเป็นการนำข่าวปลอมเก่าที่มีการแชร์เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 มาแชร์ซ้ำ ซึ่งกรมการขนส่งทางบกได้ตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบมาอย่างต่อเนื่อง จึงขอให้ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์หยุดเผยแพร่ส่งต่อข้อความดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนเป็นวงกว้างต่อไป อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ยืนยันไม่มีการยึดคืนใบอนุญาตขับรถตลอดชีพ และไม่มีการเรียกผู้มีใบอนุญาตขับรถตลอดชีพทั้งหมดมาทดสอบสมรรถภาพของร่างกายใหม่ หรือทดสอบขับรถใหม่ตามข้อมูลที่มีการแชร์กัน รวมถึงไม่มีนโยบายยกเลิกหรือบังคับให้เปลี่ยนใบอนุญาตขับรถตลอดชีพแบบกระดาษให้เป็นแบบสมาร์ทการ์ด (Smart card) แต่อย่างใด ปัจจุบันยังคงใช้ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามปกติ อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่มีใบอนุญาตขับรถตลอดชีพแบบกระดาษ ต้องการเปลี่ยนให้เป็นแบบสมาร์ทการ์ด กรมการขนส่งทางบกพร้อมดำเนินการให้โดยสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศ และเมื่อเปลี่ยนเป็นแบบสมาร์ทการ์ดจะยังคงได้รับใบอนุญาตขับรถตลอดชีพเช่นเดิม กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการด้านใบอนุญาตขับรถ สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือสืบค้นข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://www.dlt.go.th/th/ ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างการดำเนินการตามแนวทางยกระดับมาตรฐานการออกใบอนุญาตขับรถใน 7 มิติ ประกอบด้วย การกำหนดสภาวะโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการขับรถ การทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย การอบรมและทดสอบความรู้ของผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถ (ภาคทฤษฎี) การอบรมการขับรถและทดสอบความสามารถในการขับรถภาคปฏิบัติ การบริหารจัดการ การปรับปรุงรูปแบบใบอนุญาตขับรถให้สอดคล้องกับอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยการจราจรทางถนน และการควบคุมพฤติกรรมการขับรถด้วยมาตรการตัดแต้ม เพื่อพัฒนามาตรฐานใบอนุญาตขับรถของประเทศไทยให้ครอบคลุมทุกมิติ […]
เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม (Fake News) เรื่อง “มาแล้วลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกันรอบใหม่ของขวัญปีใหม่ 64”
กรุงเทพฯ 2 พ.ย. พุทธิพงษ์ ขอทุกภาคส่วนร่วมมือสร้างการรับรู้เท่าทันข่าวปลอม ยืนยัน บังคับใช้กฎหมายกับผู้ใช้โซเชียล ที่สร้างข่าวบิดเบือนส่งผลกระทบกับสังคม ย้ำใช้สื่อออนไลน์ด้วยความระมัดระวัง นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า การสัมมนา “สร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ครั้งที่ 3”ที่จ.พังงาครั้งนี้ จัดภายใต้โครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม มีกลุ่มเป้าหมายที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ภาคใต้ บุคลากรด้านสาธารณสุข ภาคสังคม สื่อมวลชน และภาคประชาชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการตรวจสอบข่าวปลอมได้ด้วยตนเอง วิธีเช็คแหล่งที่มา วิธีสังเกตหัวข้อพาดหัวข่าว และได้ทราบถึงการแจ้งเบาะแสให้กับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สำหรับผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตั้งแต่วันจัดตั้งศูนย์ฯ ถึงช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา (1 พ.ย.62-28 ต.ค.63) จากการรวบรวมข้อมูลทั้งจากที่มีผู้แจ้งเบาะแสเข้ามา และระบบติดตามการสนทนาทางโซเชียล (Social listening) พบว่า มีจำนวนข้อความข่าวที่ต้องคัดกรองทั้งหมด 25,835,350 ข้อความ ข้อความข่าวที่เข้าเกณฑ์ดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 19,466 ข้อความ โดยมีจำนวนเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 6,826 เรื่อง ในจำนวนนี้ร้อยละ 56 เป็นข่าวในหมวดสุขภาพ ตามมาด้วยหมวดนโยบายรัฐ 2,620 เรื่อง ร้อยละ38 , หมวดเศรษฐกิจ 251 เรื่องร้อยละ 4 และหมวดภัยพิบัติ 143 เรื่อง ร้อยละ 2 ทั้งนี้ กระทรวงฯ มุ่งมั่นที่จะเดินหน้าการทำงานเชิงรุก เพื่อเร่งทำการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม ผ่านกลไกการทำงานทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทำให้เกิดแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม และให้ข้อมูลที่ถูกต้องเข้าถึงประชาชนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม จริงๆ แล้ว ผมเป็นคนแรกที่ได้คิดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เนื่องจากพบว่าในต่างประเทศมีการจัดตั้งแล้ว แต่ไทยยังไม่มี จึงเริ่มให้เกิดขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้ ไม่สร้างความตื่นตระหนกหรือสร้างความเสียหายให้แก่สังคมในวงกว้าง แต่ข่าวที่เกิดขึ้น กระทรวงดิจิทัลฯ ไม่สามารถจะตอบข้อสงสัยได้ทั้งหมดว่าข่าวไหนจริง ข่าวไหนปลอม จำเป็นต้องประสานข้อมูลจากหน่วยงาน และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ช่วยยืนยันข้อเท็จจริง ให้ทันเวลาในการชี้แจงให้ประชาชนรู้เท่าทัน เพื่อลดความตื่นตระหนกของประชาชนให้ได้ทันท่วงที ภายใน 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังมีช่องทางเพจ “อาสา จับตา ออนไลน์” ในการให้ประชาชนแจ้งข้อมูลข้อความที่ไม่เหมาะสมเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง และเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบ รวบรวมหลักฐานส่งศาลให้พิจารณาปิดกั้น หรือ ลบข้อมูลนั้น ภายใน 48 ชั่วโมง จากนั้นหากแพลตฟอร์มไม่ดำเนินการปิดกั้น หรือลบข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ภายใน 15 วัน กระทรวง และเจ้าหน้าที่จึงดำเนินการนำคำสั่งศาลยื่นฟ้องแพลตฟอร์มต่างประเทศ ที่ถือเป็นครั้งแรกของไทย ที่จริงจังในการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิด ทั้งนี้ แม้ว่าแพลตฟอร์มต่างประเทศใช้ระบบทำงานในประเทศไทย ก็ต้องยอมรับ เคารพ และปฏิบัติตามกฎหมายของไทยด้วย” นายพุทธิพงษ์กล่าว ขณะที่ นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กล่าวว่าการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ฯ ในภาคใต้ครั้งนี้ จะเป็นอีกกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการตรวจสอบเฝ้าระวังการเผยแพร่ข้อมูลเนื้อหา และข่าวสารที่เผยแพร่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ที่พบว่ามีทั้งข่าวจริง ข่าวปลอม และข่าวบิดเบือน จึงต้องให้ความรู้ความเข้าใจประชาชนให้รู้เท่าทัน ซึ่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ช่วยสร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มวัยรุ่นนักศึกษา วัยทำงาน ผู้สูงอายุ หน่วยงานต่างจังหวัดและประชาชนทั่วไป ตลอดจนหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทำให้การบูรณาการการทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ทำงานตามข้อเท็จจริง ไม่เลือกฝ่าย เลือกข้าง ทั้งนี้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเป็นหน่วยเฉพาะกิจ ในการดำเนินงานเชิงรุกป้องกันข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและปัญหาข่าวปลอมอันจะทำให้ภาครัฐสามารถชี้แจงทำความเข้าใจ และเผยแพร่ความรู้ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดความมั่นคงและความไว้วางใจในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ-สำนักข่าวไทย.
สำนักข่าวไทย 29 ต.ค.- “พล.อ.ประวิตร” ย้ำ ก.ดิจิทัล เร่งกำจัดเฟคนิวส์ นำเทคโนโลยีช่วยประชาชนมีงานทำ เสริมรายได้ สร้างการรับรู้อย่างเท่าเทียม วันนี้ 29 ต.ค. 63 เวลา 10.00 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมามอบนโยบายกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) โดยมีนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ พร้อมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัด ให้การต้อนรับ ที่ประชุมได้รายงานความคืบหน้าตามการมอบนโยบาย ของรองนายกรัฐมนตรี จากนั้น พลเอกประวิตร ได้กล่าว ขอบคุณ สำหรับการต้อนรับ และขอชื่นชมผลการดำเนินงาน ซึ่งได้สนองตอบต่อนโยบายของรัฐบาลเป็นอย่างดี กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นกำลังสำคัญของรัฐบาลในการดำเนินการ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงขอให้ไปดำเนินการในด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านสังคม รวมทั้ง ความมั่นคง ช่วยกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสเป็นพิเศษ โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เข้าถึงและสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม. เร่งทำการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม หรือ […]
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ แจ้งเตือนข่าวปลอม
“เปลือกต้น และแก่นของตะโกนาสามารถรักษาโรคมะเร็ง”
ชัวร์ก่อนแชร์ วันนี้พบกับ ตอนแรกของเนื้อหาใหม่ชุดพิเศษ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันข่าวปลอมข้อมูลเท็จ ผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ที่จะชวนคุณผู้ชมทุกท่านมีส่วนร่วม โดยใช้มือถือสแกน QR Code ใน FACT CHECK EXPERT
ซีพีวอนอย่าแชร์ข่าวปลอม อ้างชื่อ “เจ้าสัวธนินท์” ลงทุนบิทคอยน์
กรมการแพทย์ 30ก.ค.-ตามที่มีข่าวปรากฏผ่านสื่อ “จิบน้ำขมิ้นชันป้องกันมะเร็ง” สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ตรวจสอบข้อมูลวิชาการพบข้อเท็จจริง คือยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าน้ำขมิ้นชันช่วยป้องกันมะเร็ง นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) เป็นพืชสมุนไพรนิยมใช้เป็นเครื่องเทศสำหรับแต่งรสและสีผสมอาหาร ขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและอาจมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งผิวหนัง ซึ่งผลการศึกษานี้เป็นเพียงผลวิจัยในระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานวิจัยที่ทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสารนี้ช่วยป้องกันหรือรักษามะเร็ง นอกจากนี้การดื่มน้ำขมิ้นชันอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการป้องกันมะเร็ง หากประชาชนยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือรับประทานอาหารที่อาจปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ขมิ้นชันมีหลายรูปแบบ เช่น เหง้าสด เหง้าแห้ง ผง แคปซูล ยาเม็ด ยาทาผิวหนัง และเครื่องดื่มชาขมิ้นชัน แม้ว่าจะเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนรับประทาน .-สำนักข่าวไทย
กพร. ย้ำข่าวไทยแพ้คดีเหมืองทองไม่เป็นความจริง กระบวนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการยังไม่เสร็จสิ้น แ