กรมสุขภาพจิต ชี้ กรณีแม่ฆ่าลูกจากอาการอยากสุรา จัดเป็นความรุนแรงในครอบครัว

กรมสุขภาพจิต ชี้ กรณีแม่ฆ่าลูกจากอาการอยากสุรา จัดเป็นความรุนแรงในครอบครัวที่แก้ได้ในสังคม โดยคนรอบข้างไม่ควรเฉย ภาวะลงแดง ทำให้ยิ่งขาดสติมากกว่าปกติ

กรมสุขภาพจิตจับมือม.มหิดลพัฒนาชุดประเมินการทำงานของสมองรักษาผู้ป่วยจิตเภท

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ร่วมกับ ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาชุดเครื่องมือการประเมินการทำงานของสมองส่วนหน้าสุด ใช้รักษาผู้ป่วยโรคจิตเภท

ห่วงคนเกษียณซึมเศร้า แนะหมั่นประเมินความสุข

กรมสุขภาพจิต แนะนำผู้ที่เกษียณอายุราชการ ซึ่งมีจำนวนเกือบ 5 หมื่นคน หมั่นประเมินความสุขสม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นช่วงปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต หากรู้สึกมีความสุขลดลง ควรใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้า เพื่อประเมินอาการและนำไปสู่การดูแลรักษาได้ทันท่วงที

พบผู้มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา 1.3 ล้านคนทั่วประเทศ

กรมสุขภาพจิตพบผู้มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญากว่า1ล้านคน ส่งผลพัฒนาการล่าช้า ต้องช่วยเหลือถูกวิธี เร่งพัฒนาสถาบันราชานุกูลเป็นศูนย์พัฒนาวิชาการของไทย-ภูมิภาคอาเซียน

กรมสุขภาพจิต ห่วง คนเป็นโรควิตกกังวล

กรมสุขภาพจิต แนะผู้ที่มีอาการ“ กังวล คิดฟุ้งซ่าน กลัวเกินเหตุ” ร่วม กับ ท้องเสีย ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม เกิน 6 เดือน ให้รีบแพทย์ อย่าซื้อยากินเอง

ห่วงโพสต์ภาพเซลฟี สวยด้วยแอพ เสี่ยงเป็นคนขาดความมั่นใจ

สธ.16ก.ย.-กรมสุขภาพจิตห่วงผู้ชอบโพสต์ภาพเซลฟี่ใช้แอพเติมแต่งความสวย สดใสก่อนโพสต์ หวังเรียกความเชื่อมั่นจากยอดไลค์ เสี่ยงเป็นคนขาดความเชื่อมั่นในโลกความจริง โดยเฉพาะวัยรุ่นส่งผลต่อการพัฒนาตัวเอง ขาดภาวะการเป็นผู้นำ จิตแพทย์แนะ 5 ข้อผู้ปกครองใช้สอนลูกหลาน ‘ยอมรับความแตกต่าง-ฝึกรู้จักใช้เวลาในโลกออนไลน์ สำคัญคือเป็นตัวอย่างที่ดี’  น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์  อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์ว่า มีความเป็นห่วงพฤติกรรมการเซลฟีของประชาชนในสังคมออนไลน์ กำลังกลายเป็นพฤติกรรมเคยชิน ซึ่งเป็นการสื่อสารแสดงออกถึงตัวตนบุคคลโดยถ่ายรูปตนเองในอิริยาบถต่าง ๆ แล้วแชร์ภาพ เผยแพร่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งการเซลฟีนั้น มีความสำคัญกับความคิดในเรื่องตัวตนมาก มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โดยหากเซลฟีในลักษณะเหมาะสมคือไม่หวังผลจะไม่มีผลเสียอะไร เก็บไว้เป็นความประทับใจได้ แต่หากเซลฟีมีความถี่มากเพื่อให้เพื่อนๆมากดไลค์หรือเขียนข้อความแสดงความเห็นต่างๆ จนเกิดการหมกมุ่น อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น หรือความมั่นใจในตัวเอง หากโพสต์รูปตัวเองไปแล้วและได้รับการตอบรับน้อย คนกดไลค์น้อย ไม่เป็นไปตามคาดหวังและโพสต์ใหม่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับ จะส่งผลให้บุคคลนั้นขาดความมั่นใจและอาจไม่ชอบ ไม่พอใจรูปลักษณ์ตัวเอง เกิดความกังวล ชีวิตไม่มีความสุข เมื่อสะสมไปเรื่อยๆ ก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจและอารมณ์ได้ง่าย เช่น  หวาดระแวง  เครียด  ซึมเศร้า เป็นภัยเงียบที่น่าเป็นห่วง   ‘หากเป็นเยาวชน วัยรุ่น จะมีผลกระทบต่ออนาคตได้ เด็กที่ขาดความมั่นใจในตัวเองจะมีผลให้พัฒนาตัวเองยากขาดภาวะการเป็นผู้นำซึ่งมีความ สำคัญมากในการใช้ชีวิตทั้งการทำงาน ครอบครัว โอกาสที่จะคิดพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ จึงเป็นไปได้ยากขึ้น มีผลต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตอย่างคาดไม่ถึง’อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว  พญ.กุสุมาวดี […]

กรมสุขภาพจิต พร้อมรับมือพายุ ‘บารีจัต-มังคุด’

อธิบดีกรมสุขภาพจิต สั่ง รพ.จิตเวชและศูนย์สุขภาพจิตทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมรับมือพายุบารีจัตและมังคุด ป้องกันน้ำท่วมสถานพยาบาลและจัดเตรียมทีมเยียวยาจิตใจ

กรมสุขภาพจิตห่วงคนติดโซเชียลทำให้ซึมเศร้า

กรมสุขภาพจิตห่วงคนติดโซเชียลทำให้ซึมเศร้า เหตุเพราะติดสัมพันธ์ กลัวคนไม่สนใจ แนะใช้ให้เป็น รู้จักแบ่งเวลา และไม่หยิบยื่นสมาร์ทโฟน ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

จิตแพทย์ชี้ไบโพล่าร์รักษาได้ แต่ใช้อ้างเลี่ยงความผิดไม่ได้

จิตแพทย์ ชี้ ไบโพล่าร์รักษาได้ ญาติต้องทำความเข้าใจและนำตัวรักษาทันทีที่มีอาการ ส่วนอ้างป่วยเลี่ยงความรับผิดหรือรับชอบทางกฎหมายทำไม่ได้ และเป็นดุลยพินิจของศาล

จิตแพทย์ชี้กรณีเสก โลโซ ไม่สามารถวินิจฉัยอาการจากโซเชียลได้

จิตแพทย์ ชี้กรณีเสก โลโซ ไม่สามารถบ่งชี้ หรือวินิจฉัยอาการทางสื่อโซเชียลได้ จะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจวินิจฉัยโรคตามมาตรฐาน

แนะสังเกต 10 สัญญาณเตือน ‘ฆ่าตัวตาย’

กรมสุขภาพจิตเผยฆ่าตัวตายป้องกันได้ แนะ10สัญญาณเตือน ประสบปัญหาชีวิต-สูญเสียคนรัก-เก็บตัว หากพบต้องรีบพูดคุยช่วยเหลือ อย่าปล่อยอยู่คนเดียว และไม่ควรแชร์ภาพ-คลิป

จิตแพทย์เฝ้าระวังจิตใจหมูป่าเข้มข้นเป็นปี หวั่นพายุข้อมูลบั่นทอนจิตใจ

จิตแพทย์ชี้กรณีหมูป่าติดถ้ำหลวง ได้บทเรียนสำคัญของพลังกลุ่มที่ทำให้ก้าวผ่านอุปสรรคแต่ต้องเฝ้าระวังภาวะจิตใจเข้มข้นต่อเนื่องเป็นปี เพราะพายุข้อมูลอาจบั่นทอนจิตใจ

1 7 8 9 10 11 18
...